เมนู

ปัญหาวาระ


อนุโลมนัย


1. เหตุปัจจัย


[233] 1. อัปปฏิฆธรรม เป็นปัจจัยแก่อัปปฏิฆธรรม ด้วย
อำนาจของเหตุปัจจัย

คือ เหตุทั้งหลายที่เป็นอัปปฏิฆธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์
และจิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย ที่เป็นอัปปฏิฆธรรม ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย.
ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ
2. อัปปฏิฆธรรม เป็นปัจจัยแก่สัปปฏิฆธรรม ด้วย
อำนาจของเหตุปัจจัย

คือ เหตุทั้งหลายที่เป็นอัปปฏิฆธรรม เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูป
ทั้งหลาย ที่เป็นสัปปฏิฆธรรม ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย.
ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ
3. อัปปฏิฆธรรม เป็นปัจจัยแก่สัปปฏิฆธรรม และ
อัปปฏิฆธรรม ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย

คือ เหตุทั้งหลายที่เป็นอัปปฏิฆธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์
และจิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย ที่เป็นสัปปฏิฆธรรม และอัปปฏิฆธรรม ด้วย
อำนาจของเหตุปัจจัย.
ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ

2. อารัมมณปัจจัย


[234] 1. สัปปฏิฆธรรม เป็นปัจจัยแก่อัปปฏิฆธรรม ด้วย
อำนาจของอารัมมณปัจจัย

คือ บุคคลพิจารณาเห็นจักษุ ฯลฯ โผฏฐัพพะทั้งหลาย โดยความเป็น
ของไม่เที่ยง ฯลฯ โทมนัส ย่อมเกิดขึ้น.
บุคคลเห็นรูปด้วยทิพยจักษุ ฟังเสียงด้วยทิพโสตธาตุ.
รูปายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ เป็นปัจจัย
แก่กายวิญญาณ.
ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสัปปฏิฆธรรม เป็นปัจจัยแก่อิทธิวิธญาณ แก่
ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ แก่อนาคตังสญาณ แก่อาวัชชนะ ด้วยอำนาจของ
อารัมมณปัจจัย.
2. อัปปฏิฆธรรม เป็นปัจจัยแก่อัปปฏิฆธรรม ด้วย
อำนาจของอารัมมณปัจจัย

คือ บุคคลให้ทาน ฯลฯ ศีล ฯลฯ กระทำอุโบสถกรรม ฯลฯ แล้ว
พิจารณาซึ่งกุศลกรรมนั้น.
บุคคลพิจารณาซึ่งกุศลกรรมทั้งหลายที่เคยสั่งสมไว้แล้วในกาลก่อน.
บุคคลออกจากฌาน แล้วพิจารณาฌาน.
พระอริยะทั้งหลายออกจากมรรคแล้ว พิจารณามรรค, พิจารณาผล,
พิจารณานิพพาน.
นิพพาน เป็นปัจจัยแก่โคตรภู, แก่โวทาน, แก่มรรค, แก่ผล, แก่
อาวัชชนะ ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย.