เมนู

คือ จักขุวิญญาณ อาศัยจักขายตนะ ฯลฯ กายวิญญาณ อาศัย
กายายตนะ.
2. อัปปฏิฆธรรม อาศัยอัปปฏิฆธรรม เกิดขึ้น
เพราะอารัมมณปัจจัย

คือ ขันธ์ 3 อาศัยขันธ์ 1 ที่เป็นอัปปฏิฆธรรม ฯลฯ ขันธ์ 2 ฯลฯ
ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอัปปฏิฆธรรม อาศัยหทยวัตถุ.
3. อัปปฏิฆธรรม อาศัยสัปปฏิฆธรรม และอัปปฏิฆ-
ธรรม เกิดขึ้น เพราะอารัมมณปัจจัย

คือ ขันธ์ 3 อาศัยขันธ์ 1 ที่สหรคตด้วยจักขุวิญญาณ และจักขายตนะ
ฯลฯ ขันธ์ 3 อาศัยขันธ์ 1 ที่สหรคตด้วยกายวิญญาณ และกายายตนะ.

3. อธิปติปัจจัย ฯลฯ 23. อวิคตปัจจัย


ฯลฯ เพราะอธิปติปัจจัย
ฯลฯ เพราะอวิคตปัจจัย

การนับจํานวนวาระในอนุโลม


[232] ในเหตุปัจจัย มี 9 วาระ ในอารัมมณปัจจัย มี 3 วาระ
ในอธิปติปัจจัย มี 9 วาระ ในอนันตรปัจจัย มี 3 วาระ ในสมนันตรปัจจัย
มี 3 วาระ ในสหชาตปัจจัย มี 9 วาระ ในอัญญมัญญปัจจัย มี 6 วาระ ใน
นิสสยปัจจัย มี 9 วาระ ในอุปนิสสยปัจจัย มี 3 วาระ ในปุเรชาตปัจจัย มี 3

วาระ ในอาเสวนปัจจัย มี 1 วาระ ในกัมมปัจจัย มี 9 วาระ ฯลฯ ในอวิคต-
ปัจจัย มี 9 วาระ
แม้การนับปัจจนียะ ก็พึงกระทำอย่างนี้.
แม้นิสสยวาระก็เหมือนกับปัจจยวาระ.
แม้ในสังสัฏฐวาระทั้งหมด แต่ละปัจจัย มี 1 วาระ.
ฯลฯ เพราะอวิคตปัจจัย ก็มี 1 วาระ เท่านั้น.
แม้วาระทั้งสอง (สหชาตวาระ และ สัมปยุตตวาระ) ก็พึงกระทำ.

ปัญหาวาระ


อนุโลมนัย


1. เหตุปัจจัย


[233] 1. อัปปฏิฆธรรม เป็นปัจจัยแก่อัปปฏิฆธรรม ด้วย
อำนาจของเหตุปัจจัย

คือ เหตุทั้งหลายที่เป็นอัปปฏิฆธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์
และจิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย ที่เป็นอัปปฏิฆธรรม ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย.
ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ
2. อัปปฏิฆธรรม เป็นปัจจัยแก่สัปปฏิฆธรรม ด้วย
อำนาจของเหตุปัจจัย

คือ เหตุทั้งหลายที่เป็นอัปปฏิฆธรรม เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูป
ทั้งหลาย ที่เป็นสัปปฏิฆธรรม ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย.
ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ
3. อัปปฏิฆธรรม เป็นปัจจัยแก่สัปปฏิฆธรรม และ
อัปปฏิฆธรรม ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย

คือ เหตุทั้งหลายที่เป็นอัปปฏิฆธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์
และจิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย ที่เป็นสัปปฏิฆธรรม และอัปปฏิฆธรรม ด้วย
อำนาจของเหตุปัจจัย.
ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ