เมนู

4. อินทริยปัจจัย


[121] 1. ธรรมที่เป็นทั้งเหตุธรรมและสเหตุกธรรม เป็น
ปัจจัยแก่ธรรมที่เป็นทั้งเหตุธรรมและสเหตุกธรรม ด้วยอำนาจของ
อินทริยปัจจัย

พึงกำหนดว่า อินทรีย์. พึงกระทำ 9 วาระให้บริบูรณ์.

15. ฌานปัจจัย


[122] 1. ธรรมที่เป็นสเหตุกธรรมแต่ไม่ใช่เหตุธรรม เป็น
ปัจจัยแก่ธรรมที่เป็นสเหตุกธรรมแต่ไม่ใช่เหตุธรรม ด้วยอำนาจของ
ฌานปัจจัย
มี 3 วาระ.

16. มัคคปัจจัย ฯลฯ 21. อวิคตปัจจัย


[123] 1. ธรรมที่เป็นทั้งเหตุธรรมและสเหตุกธรรม เป็น
ปัจจัยแก่ธรรมที่เป็นทั้งเหตุธรรมและสเหตุกธรรม ด้วยอำนาจของ
มัคคปัจจัย,
เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของสัมปยุตตปัจจัย, เป็นปัจจัย ด้วย
อำนาจของอัตถิปัจจัย,
เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของนัตถิปัจจัย, เป็นปัจจัย
ด้วยอำนาจของวิคตปัจจัย,
เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของอวิคตปัจจัย.

การนับจำนวนวาระในอนุโลม


[124] ในเหตุปัจจัย มี 3 วาระ ในอารัมมณปัจจัย มี 9 วาระ
ในอธิปติปัจจัย มี 9 วาระ ในอนันตรปัจจัย มี 9 วาระ ในสมนันตรปัจจัย

มี 9 วาระ ในสหชาตปัจจัย มี 9 วาระ ในอัญญมัญญปัจจัย มี 9 วาระ
ในนิสสยปัจจัย มี 9 วาระ ในอุปนิสสยปัจจัย มี 9 วาระ ในอาเสวนปัจจัย
มี 9 วาระ ในกัมมปัจจัย มี 3 วาระ ในวิปากปัจจัย มี 9 วาระ ในอาหาร-
ปัจจัย มี 3 วาระ ในอินทริยปัจจัย มี 9 วาระ ในฌานปัจจัย มี 3 วาระ
ในมัคคปัจจัย มี 9 วาระ ในสัมปยุตตปัจจัย มี 9 วาระ ในอัตถิปัจจัย มี
9 วาระ ในนัตถิปัจจัย มี 9 วาระ ในวิคตปัจจัย มี 9 วาระ ในอวิคตปัจจัย
มี 9 วาระ.
พึงนับอย่างนี้.
อนุโลมนัย จบ

ปัจจนียนีย


การยกปัจจัยในปัจจนียะ


[125] 1. ธรรมที่เป็นทั้งเหตุธรรมและสเหตุกธรรม เป็น
ปัจจัยแก่ธรรมที่เป็นทั้งเหตุธรรมและสเหตุกธรรม ด้วยอำนาจของ
อารัมมณปัจจัย, เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย, เป็นปัจจัย
ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.

2. ธรรมที่เป็นทั้งเหตุธรรมและสเหตุกธรรม เป็น
ปัจจัยแก่ธรรมที่เป็นสเหตุกธรรมแต่ไม่ใช่เหตุธรรม ด้วยอำนาจของ
อารัมมณปัจจัย, เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย, เป็นปัจจัย
ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.