เมนู

5. สมนันตรปัจจัย


[2213]1. อนิทัสสนอัปปฏิฆธรรม เป็นปัจจัยแก่อนิทัสสน-
อัปปฏิฆธรรม ด้วยอำนาจของสมนันตรปัจจัย เหมือนกับ อนันตรปัจจัย.

6. สหชาตปัจจัย ฯลฯ 8. นิสสยปัจจัย


[2214]1. อนิทัสสนสัปปฏิฆธรรม เป็นปัจจัยและอนิทัสสน-
สัปปฏิฆธรรม ด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย พึงกระทำให้ดี เหมือน
กับ ปฏิจจวาระ.

ในอัญญมัญญปัจจัย เหมือนกับอัญญมัญญปัจจัย ในปฏิจจวาระ.
ในนิสสยปัจจัย เหมือนกับปฏิจจวาระ.

อุปนิสสยปัจจัย


[2215] 1. สนิทัสสนสัปปฏิฆธรรม เป็นปัจจัยแก่อนิทัสสน-
อัปปฏิฆธรรม ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย

มี 3 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และ
ปกตูปนิสสยะ
ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่
บุคคลปรารถนาวรรณสมบัติ ให้ทาน สมาทานศีล ฯลฯ อุโบสถกรรม
ฯลฯ.
วรรณสมบัติ เป็นปัจจัยแก่ศรัทธา แก่ปัญญา แก่ราคะ แก่ความ
ปรารถนา แก่สุขทางกาย แก่ทุกข์ทางกาย แก่มรรค แก่ผลสมาบัติ ด้วย
อำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.