เมนู

ปัญหาวาระ


อนุโลมนัย


1. เหตุปัจจัย


[2203] 1. อนิทัสสนอัปปธรรมเป็นปัจจัยแก่อนิทัสสน-
อัปปฏิฆธรรม ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย

คือ เหตุทั้งหลายที่เป็นอนิทัสสนอัปปฏิฆธรรม เป็นปัจจัยแก่สัปปยุตต-
ขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลายที่เป็นอนิทัสสนอัปปฏิฆธรรม ด้วยอำนาจ
ของเหตุปัจจัย.
ในปฏิสนธิขณะเหตุทั้งหลายที่เป็นอนิทัสสนอัปปฏิฆธรรม เป็นปัจจัย
แก่สัมปยุตตขันธ์ และกฏัตตารูปทั้งหลายที่เป็นอนิทัสสนอัปปฏิฆธรรม ด้วย
อำนาจของเหตุปัจจัย.
[2204] 2. อนิทัสสนอัปปฏิฆธรรม เป็นปัจจัยแก่สนิทัสสน-
สัปปฏิฆธรรม ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย

คือ เหตุทั้งหลายที่เป็นอนิทัสสนอัปปฏิฆธรรม เป็นปัจจัยแก่จิตต-
สมุฏฐานรูปทั้งหลายที่เป็นสนิทัสสนสัปปฏิฆธรรม ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย.
ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ.
ในอนิทัสสนอัปปฏิฆมูลกะ พึงแจกเป็น 7 วาระ ด้วยเหตุนี้.

2. อารัมมณปัจจัย


[2205] 1. สนิทัสสนสัปปฏิฆธรรม เป็นปัจจัยแก่อนิทัสสน-
อัปปฏิฆธรรม ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย

คือ บุคคลพิจารณาเห็นรูป โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็น
อนัตตา ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะปรารภรูปนั้น ราคะ ย่อมเกิด
ขึ้น ทิฏฐิ ฯลฯ วิจิกิจฉา ฯลฯ อุทธัจจะ ฯลฯ โทมนัส ย่อมเกิดขึ้น.
บุคคลเห็นรูปด้วยทิพยจักษุ.
รูปายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย.
ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสนิทัสสนสัปปฏิฆธรรม เป็นปัจจัยแก่อิทธิวิญญาณ
แก่ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ แก่อนาคตังสญาณ แก่อาวัชชนะ ด้วยอำนาจของ
อารัมมมณปัจจัย.
[2206] 2. อนิทัสสนสัปปฏิฆธรรม เป็นปัจจัยแก่อนิทัสสน-
อัปปฏิฆธรรม ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย

คือ บุคคลพิจารณาจักษุ ฯลฯ กายะ ฯลฯ เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ
โดยความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ โทมนัส ย่อมเกิดขึ้น.
บุคคลฟังเสียงด้วยทิพโสตธาตุ.
สัททายตนะ เป็นปัจจัยแก่โสตวิญญาณ โผฏฐัพพายตนะ เป็นปัจจัย
แก่กายวิญญาณ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอนิทัสสนสัปปฏิฆธรรม เป็นปัจจัยแก่
อิทธิวิธญาณ แก่ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ แก่อนาคตังสญาณ แก่อาวัชชนะ
ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย.