เมนู

ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอุปปาทิธรรม เป็นปัจจัยแก่อิทธิวิธญาณ แก่เจโต-
ปริยญาณ ฯลฯ แก่อาวัชชนะ ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย.

3.อธิปติปัจจัย


[1892] 1. อุปปันนธรรม เป็นปัจจัยแก่อุปปันนธรรม ด้วย
อำนาจของอธิปติปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณาธิปติ และ สหชาตาธิปติ
ที่เป็น อารัมมณาธิปติ ได้เเก่
บุคคลย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะกระทำจักษุที่เป็นอุปปันน-
ธรรมให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ครั้นกระทำจักษุนั้นให้เป็นอารมณ์อย่าง
หนักแน่นแล้ว ฯลฯ ทิฏฐิ ย่อมเกิดขึ้น.
บุคคลย่อมยินดีย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะกระทำโสตะที่เป็นอุปปันน-
ธรรม ฯลฯ ฆานะ ชิวหา กายะ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ หทยวัตถุ
ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอุปปันนธรรมให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ครั้นกระทำ
โสตะเป็นต้นนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว ราคะ ย่อมเกิดขึ้น ฯลฯ.
ที่เป็น สหชาตาธิปติ ได้แก่
อธิปติธรรมที่เป็นอุปปันนธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และจิตต-
สมุฏฐานรูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย.
[1893] 2. อนุปปันนธรรม เป็นปัจจัยแก่อุปปันนธรรม
ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย


มีอย่างเดียว คือที่เป็น อารัมมณาธิปติ ได้แก่
บุคคลย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะกระทำรูปที่เป็นอนุปปันน-
ธรรม เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ฯลฯ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอนุปันน-
ธรรมให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ครั้นกระทำรูปเป็นต้นให้เป็นอารมณ์
อย่างหนักแน่นแล้ว ราคะ ย่อมเกิดขึ้น ทิฏฐิ ย่อมเกิดขึ้น.
[1894] 3. อุปปาทิธรรม เป็นปัจจัยแก่อุปปันนธรรม ด้วย
อำนาจของอธิปติปัจจัย

มีอย่างเดียว คือที่เป็น อารัมมณาธิปติ ได้แก่
บุคคลย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะกระทำจักษุที่เป็นอุปปาทิ-
ธรรม ฯลฯ กายะ รูป ฯลฯ โผฏฐัพพะ หทยวัตถุ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอุปปาทิ-
ธรรมให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ครั้น กระทำจักษุเป็นต้นนั้นให้เป็นอารมณ์
อย่างหนักแน่นแล้ว ราคะ ย่อมเกิดขึ้น ทิฏฐิ ย่อมเกิดขึ้น.

4. สหชาตปัจจัย


[1895] 1. อุปปันนธรรม เป็นปัจจัยแก่อุปปันนธรรม ด้วย
อำนาจของสหชาตปัจจัย

คือ ขันธ์ 1 ที่เป็นอุปปันนธรรม เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ 3 และจิตต-
สมุฏฐานรูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย ฯลฯ ขันธ์ 2 เป็นปัจจัยแก่
ขันธ์ 2 แต่จิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย.