เมนู

ปัญหาวาระ


อนุโลมนัย


1. เหตุปัจจัย


[1687] 1. มิจฉัตตนิยตธรรม เป็นปัจจัยแก่มิจฉัตตนิยต-
ธรรม ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย

คือ เหตุทั้งหลายที่เป็นมิจฉัตตนิยตธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์
ทั้งหลาย ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย.
[1688] 2. มิจฉัตตนิยตธรรม เป็นปัจจัยแก่อนิยตธรรม
ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย

คือ เหตุทั้งหลายที่เป็นมิจฉัตตนิยตธรรม เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐาน-
รูปทั้งหลาย.
[1689] 3. มิจฉัตตนิยตธรรม เป็นปัจจัยแก่มิจฉัตตนิยต-
ธรรม และอนิยตธรรม ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย

คือ เหตุทั้งหลายที่เป็นมิจฉัตตนิยตธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมมปยุตตขันธ์
และจิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย.
[1690] 4. สัมมัตตนิตตธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมมัตตนิยต-
ธรรม ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย


[1691] 5. อนิยตธรรม เป็นปัจจัยแก่อนิยตธรรม ด้วย
อำนาจของเหตุปัจจัย

คือ เหตุทั้งหลายที่เป็นอนิยตธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และ
จิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย.
ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ

2. อารัมมณปัจจัย


[1692] 1. มิจฉัตตนิยตธรรม เป็นปัจจัยแก่อนิยตธรรม
ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย

คือ พระอริยะทั้งหลายพิจารณากิเลสที่ละแล้ว ที่เป็นมิจฉตตานิยต-
ธรรม รู้กิเลสทั้งหลายที่เคยเกิดขึ้นแล้วในกาลก่อน.
พิจารณาเห็นขันธ์ทั้งหลายที่เป็นมิจฉัตตนิยตธรรม โดยความเป็นของ
ไม่เที่ยง ฯลฯ
รู้จิตของบุคคลผู้พร้อมเพรียงด้วยจิตที่เป็นมิจฉัตตนิยตธรรม ด้วย
เจโตปริยญาณ.
ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นมิจฉัตตนิยตธรรม เป็นปัจจัยแก่เจโตปริยญาณ
แก่ปุพเพนิวาสานุสสติฌาณ แก่ยถากัมมูปคญาณ แก่อนาคตังสญาณ แก่
อาวัชชนะ ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย.
[1693] 2. สัมมัตตนิยตธรรม เป็นปัจจัยแก่อนิยตธรรม
ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย