เมนู

ปัญหาวาระ


อนุโลมนัย


1. เหตุปัจจัย


[1567] 1. ปริตตารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่ปริตตารัมมณ-
ธรรม ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย

คือ เหตุทั้งหลายที่เป็นปริตตารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตต-
ขันธ์ทั้งหลาย ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย.
ในปฏิสนธิขณะ เหตุทั้งหลายที่เป็นปริตตารัมมณธรรม เป็นปัจจัย
แก่สัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย.
[1568] 2. มหัคคตารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่มหัคคตา-
รัมมณธรรม ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย

คือ เหตุทั้งหลายที่เป็นมหัคคตารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตต-
ขันธ์ทั้งหลาย ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย.
ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ.
[1569] 3. อัปปมาณารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่อัปปมาณา-
รัมมณธรรม ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย

คือ เหตุทั้งหลายที่เป็นอัปปมาณารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตต-
ขันธ์ทั้งหลาย ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย.

2. อารัมมณปัจจัย


[1570] 1. ปริตตารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่ปริตตา-
รัมมณธรรม ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย

คือ บุคคลให้ทาน สมาทานศีล กระทำอุโบสถกรรมแล้วพิจารณา
กุศลกรรมนั้น.
พิจารณากุศลกรรมทั้งหลายที่เคยสั่งสมไว้แล้วในกาลก่อน.
พระอริยะทั้งหลายพิจารณากิเลสที่ละแล้ว ที่เป็นปริตตารัมมณธรรม,
พิจารณากิเลสที่ข่มแล้ว, รู้ซึ่งกิเลสทั้งหลายที่เคยเกิดขึ้นแล้วในกาลก่อน.
พิจารณาเห็นขันธ์ทั้งหลายที่เป็นปริตตารัมมณธรรม โดยความเป็น
ของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะ
ปรารภขันธ์นั้น ราคะที่เป็นปริตตารัมมณธรรม ย่อมเกิดขึ้น ฯลฯ โทมนัส
ย่อมเกิดขึ้น.
บุคคลรู้จิตของบุคคลผู้พร้อมเพรียงด้วยปริตตารัมมณปริตตจิต ด้วย
เจโตปริยญาณ.
ปริตตขันธ์ทั้งหลายที่เป็นปริตตารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่เจโตปริย-
ญาณ แก่ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ แก่ยถากัมมูปคญาณ แก่อนาคตังสญาณ
แก่อาวัชชนะ ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย.
[1571] 2. ปริตตารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่มหัคคตา-
รัมมณธรรม ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย