เมนู

ปัจจนียานุโลมนัย


การนับจำนวนวาระในปัจจนียานุโลม


[1566] เพราะนเหตุปัจจัย ในอารัมมณปัจจัย มี 3 วาระ...ใน
อนันตรปัจจัย มี 3 วาระ ในสมนันตรปัจจัย มี 3 วาระ ในสหชาตปัจจัย
มี 3 วาระ ในอัญญมัญญปัจจัย มี 3 วาระ ในนิสสยปัจจัย มี 3 วาระ
ในอุปนิสสยปัจจัย มี 3 วาระ ในปุเรชาตปัจจัย มี 3 วาระ ในอาเสวนปัจจัย
มี 3 วาระ ในกัมมปัจจัย มี 3 วาระ ในวิปากปัจจัย มี 1 วาระ ในอาหาร-
ปัจจัย มี 3 วาระ ในอินทริยปัจจัย มี 3 วาระ ในฌานปัจจัย มี 3 วาระ
ในมัคคปัจจัย มี 2 วาระ ในสัมปยุตตปัจจัย มี 3 วาระ ในวิปปยุตตปัจจัย
มี 3 วาระ ในอัตถิปัจจัย มี 3 วาระ ในนัตถิปัจจัย มี 3 วาระ ในวิคต-
ปัจจัย มี 3 วาระ ในอวิคตปัจจัย มี 3 วาระ.
พึงนับอย่างนี้.
ปัจจนียานุโลมนัย จบ
ปฏิจจวาระ จบ
สหชาตวาระก็ดี ปัจจัยวาระก็ดี นิสสยวาระก็ดี สังสัฏฐวาระก็ดี
สัมปยุตตวาระก็ดี เหมือนกับ ปฏิจจวาระ.

ปัญหาวาระ


อนุโลมนัย


1. เหตุปัจจัย


[1567] 1. ปริตตารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่ปริตตารัมมณ-
ธรรม ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย

คือ เหตุทั้งหลายที่เป็นปริตตารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตต-
ขันธ์ทั้งหลาย ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย.
ในปฏิสนธิขณะ เหตุทั้งหลายที่เป็นปริตตารัมมณธรรม เป็นปัจจัย
แก่สัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย.
[1568] 2. มหัคคตารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่มหัคคตา-
รัมมณธรรม ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย

คือ เหตุทั้งหลายที่เป็นมหัคคตารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตต-
ขันธ์ทั้งหลาย ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย.
ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ.
[1569] 3. อัปปมาณารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่อัปปมาณา-
รัมมณธรรม ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย

คือ เหตุทั้งหลายที่เป็นอัปปมาณารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตต-
ขันธ์ทั้งหลาย ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย.