เมนู

ที่เป็น สหชาตะ ได้แก่
ขันธ์ที่เป็นเสกขธรรม และมหาภูตรูปทั้งหลายเป็นปัจจัยแก่จิตต-
สมุฏฐานรูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.
ที่เป็น ปัจฉาชาตะ รวมกับ อาหาระ ได้แก่
ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นเสกขธรรมที่เกิดภายหลัง และกวฬีการาหาร เป็น
ปัจจัยแก่กายนี้ ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.
ที่เป็น ปัจฉาชาตะ รวมกัน อินทริยะ ได้แก่
ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นเสกขธรรมที่เกิดภายหลัง และรูปชีวิตินทรีย์ เป็น
ปัจจัยแก่กฏัตตารูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.
[1303] 12. อเสกขธรรม และเนวเสกขานาเสกธรรม
เป็นปัจจัยแก่อเสกขธรรม ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย
พึงกระทำ 2 วาระ
เหมือนเสกขธรรม (คือเหมือนข้อ 1301-1302 จึงรวมเป็น 13 วาระ)

การนับจำนวนวาระในอนุโลม


สุทธมูลกนัย


[1304] ในเหตุปัจจัย มี 7 วาระ ในอารัมมณปัจจัย มี 5 วาระ
ในอธิปติปัจจัย มี 9 วาระ ในอนันตรปัจจัย มี 8 วาระ ในสมนันตรปัจจัย
มี 8 วาระ ในสหชาตปัจจัย มี 9 วาระ ในอัญญมัญญปัจจัย มี 3 วาระ
ในนิสสยปัจจัย มี 13 วาระ ในอุปนิสสยปัจจัย มี 8 วาระ ในปุเรชาตปัจจัย

มี 3 วาระ ในปัจฉาชาตปัจจัย มี 3 วาระ ในอาเสวนปัจจัย 2 วาระ ใน
กัมมปัจจัย มี 8 วาระ ในวิปากปัจจัย มี 7 วาระ ในอาหารปัจจัย มี 7 วาระ
ในอินทริยปัจจัย มี 7 วาระ ในฌานปัจจัย มี 7 วาระ ในมัคคปัจจัย มี 7
วาระ ในสัมปยุตตปัจจัย มี 3 วาระ ในวิปปยุตตปัจจัย มี 5 วาระ ในอัตถิ-
ปัจจัย มี 13 วาระ ในนัตถิปัจจัย มี 8 วาระ ในวิคตปัจจัย มี 8 วาระ ใน
อวิคตปัจจัย มี 13 วาระ.
พึงนับอย่างนี้.
อนุโลมนัย จบ

ปัจจนียนัย


การยกปัจจัยในปัจจนียะ


[1305] 1. เสกขธรรม เป็นปัจจัยแก่เสกขธรรม ด้วยอำนาจ
ของสหชาตปัจจัย, เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.

2. เสกขธรรม เป็นปัจจัยแก่อเสกขธรรม ด้วยอำ-
นาจของอุปนิสสยปัจจัย.

[1306] 3. เสกขธรรม เป็นปัจจัยแก่เนวเสกขานาเสกขธรรม
ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย, เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของสหชาต-
ปัจจัย, เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย, เป็นปัจจัย ด้วย
อำนาจของปัจฉาชาตปัจจัย.

[1307] 4. เสกขธรรม เป็นปัจจัยแก่เสกขธรรม และเนว-
เสกขานาเสกขธรรม ด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย.