เมนู

สัมปยุตตปัจจัย มี 3 วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี 5 วาระ ในโนนัตถิปัจจัย
มี 11 วาระ ในโนอวิคตปัจจัย มี 11 วาระ.
พึงนับอย่างนี้.
อนุโลมปัจจนียะ จบ

ปัจจนียานุโลม


การนับจำนวนวาระในปัจจนียานุโลม


[1015] เพราะนเหตุปัจจัย ในอารัมมณปัจจัย มี 21 วาระ...
ในอธิปติปัจจัยมี 10 วาระ ในอนันตรปัจจัย มี 17 วาระ ในสมนันตรปัจจัย
มี 17 วาระ ในสหชาตปัจจัย มี 17 วาระ ในอัญญมัญญปัจจัย มี 11 วาระ
ในนิสสปัจจัย มี 17 วาระ ในอุปนิสสยปัจจัย มี 21วาระ ในปุเรชาต
ปัจจัย มี 5 วาระ ในปัจฉาชาตปัจจัย มี 5 วาระ ในอาเสวนปัจจัย มี 17
วาระ ในกัมมปัจจัย มี 7 วาระ ในวิปากปัจจัยมี 1 วาระ ในอาหารปัจจัย
มี 7 วาระ ในอินทริยปัจจัย มี 7 วาระ ในฌานปัจจัย มี 7 วาระ ใน-
มัคคปัจจัย มี 7 วาระ ในสัมปยุตตปัจจัย มี 11 วาระ ในวิปปยุตตปัจจัย
มี 9 วาระ ในอัตถิปัจจัย มี 17 วาระ ในนัตถิปัจจัย มี 17 วาระ ใน-
วิคตปัจจัย มี 17 วาระ ในอวิคตปัจจัย มี 17 วาระ.
พึงนับอย่างนี้.
ปัจจนียานุโลม จบ
ทัสสเนนปหาตัพพเหตุกติกะ ที่ 9 จบ

อรรถกถาทัสสเนนปหาตัพพเหตุกติกะ


ใน ทัสสเนนปหาตัพพเหตุกติกะ ผู้ศึกษาพึงทราบการจำแนก
ธรรมที่มีเหตุอันพึงละด้วยทัสสนะ โดยนัยที่ท่านกล่าวไว้ในอรรถกถากัณฑ์ (ใน
ธัมมสังคณีบาลี) โมหะที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉาและอุทธัจจะ จัดเข้าในหมวดที่ 3
เพราะไม่มีเหตุ. ในอธิการนี้ธรรมเหล่าใดมีเหตุที่พึงละด้วยทัสสนะและภาวนา
ดังกล่าวมาแล้วนั้น ธรรมเหล่านั้นชื่อว่ามีเหตุที่พึงละ. ธรรมเหล่าใดไม่มีเหตุ
ธรรมเหล่านั้นชื่อว่าไม่มีเหตุที่พึงละด้วยทัสสนะและภาวนา ผู้ศึกษาพึงทราบ
วิภาคแห่ง ปหาตัพพเหตุกธรรม และ นปหาตัพพเหตุกธรรม ดังนี้แล้ว
พึงทราบคำที่เหลือ ตามแนวแห่งลักษณะที่แสดงไว้ในทัสสเนนปหาตัพพติกะ
และกุสลติกะ.
อรรถกถาทัสสเนนปหาตัพพเหตุติกะ จบ