เมนู

ปัญหาวาระ


อนุโลมนัย


1. เหตุปัจจัย


[481] 1. ปีติสหคตธรรม เป็นปัจจัยแก่ปีติสหคตธรรม
ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย

คือ เหตุทั้งหลายที่เป็นปีติสหคตธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์
ทั้งหลาย ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย
ในปฏิสนธิขณะ เหตุทั้งหลายที่เป็นปีติสหคตธรรม เป็นปัจจัยแก่
สัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย.
[482] 2. ปีติสหคตธรรม เป็นปัจจัยแก่สุขสหคตธรรม
ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย

คือ เหตุทั้งหลายที่เป็นปีติสหคตธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์
ทั้งหลายที่เป็นสุขสหคตธรรม ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย.
ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ
[483] 3. ปีติสหคตธรรม เป็นปัจจัยแก่ปีติสหคตธรรม
และสุขสหคตธรรม ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย

คือ เหตุทั้งหลายที่เป็นปีติสหคตธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์
ทั้งหลายที่เป็นปีติสหคตธรรม และสุขสหคตธรรม ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย.
ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ

[484] 4. สุขสหคตธรรม เป็นปัจจัยแก่สุขสหคตธรรม ฯลฯ
5. ฯลฯ เป็นปัจจัยแก่ปีติสหคตธรรม ฯลฯ
6. ฯลฯ เป็นปัจจัยแก่ปีติสหคตธรรม และสุขสหคต-
ธรรม ฯลฯ

ในสุขมูละ มี 3 นัย.
[485] 7. อุเบกขาสหคตธรรม เป็นปัจจัยแก่อุเบกขาสหคต-
ธรรม ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย

คือ เหตุทั้งหลายที่เป็นอุเบกขาสหคตธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตต-
ขันธ์ทั้งหลาย ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย.
ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ
[486] 8. ปีติสหคตธรรม และสุขสหคตธรรม เป็นปัจจัยแก่
ปีติสหคตธรรม ฯลฯ

9. ฯลฯ เป็นปัจจัยแก่สุขสหคตธรรม ฯลฯ
10. ฯลฯ เป็นปัจจัยแก่ปีติสหคตธรรม และสุขสหคต-
ธรรม ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย

คือ เหตุทั้งหลายที่เป็นปีติสหคตธรรม และสุขสหคตธรรม เป็น
ปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ทั้งหลายที่เป็นปีติสหคตธรรม และสุขสหคตธรรม ด้วย
อำนาจของเหตุปัจจัย.
ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ

2. อารัมมณปัจจัย


[487] 1. ปีติสหคตธรรม เป็นปัจจัยแก่ปีติสหคตธรรม ด้วย
อำนาจของอารัมมณปัจจัย

คือ บุคคลให้ทาน สมาทานศีล กระทำอุโบสถกรรมด้วยจิตที่เป็น
ปีติสหคตธรรมแล้ว พิจารณากุศลกรรมนั้นด้วยจิตที่เป็นปีติสหคตธรรม.
บุคคลออกจากฌานที่เป็นปีติสหคตธรรม ออกจากมรรค ออกจากผล
แล้ว พิจารณากุศลกรรนนั้นด้วยจิตที่เป็นปีติสหคตธรรม.
พระอริยะทั้งหลาย พิจารณากิเลสที่ละแล้ว ที่เป็นปีติสหคตธรรม
พิจารณากิเลสที่ข่มแล้ว, รู้ซึ่งกิเลสทั้งหลายที่เคยเกิดขึ้นแล้วในกาลก่อนด้วยจิต
ที่เป็นปีติสหคตธรรม.
บุคคลพิจารณาเห็นขันธ์ทั้งหลายที่เป็นปีติสหคตธรรม โดยความเป็น
ของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ด้วยจิตที่เป็นปีติสหคตธรรม ย่อมยินดี
ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะปรารภขันธ์นั้น ราคะที่เป็นปีติสหคตธรรม ย่อม
เกิดขึ้น ทิฏฐิ ย่อมเกิดขึ้น.
เพราะปรารภขันธ์ทั้งหลายที่เป็นปีติสหคตธรรม ขันธ์ทั้งหลายที่เป็น
ปีติสหคตธรรมย่อมเกิดขึ้น.
[488] 2. ปีติสหคตธรรม เป็นปัจจัยแก่สุขสหคตธรรม ด้วย
อำนาจของอารัมมณปัจจัย

คือบุคคลให้ทาน สมาทานศีล กระทำอุโบสถกรรมด้วยจิตที่เป็น
ปีติสหคตธรรมแล้ว พิจารณาด้วยจิตที่เป็นสุขสหคตธรรม.