เมนู

นิสสยปัจจัย มี 11 วาระ ในอุปนิสสยปัจจัย มี 9 วาระ ในปุเรชาตปัจจัย มี 7
วาระ ในปัจฉาชาตปัจจัย มี 9 วาระ ในอาเสวนปัจจัย มี 2วาระ ในกัมมปัจจัย
มี 8 วาระ ในวิปากปัจจัย มี 6 วาระ ในอาหารปัจจัย มี 12 วาระ ในอินทริย-
ปัจจัย มี 7 วาระ ในฌานปัจจัย มี 7 วาระ ในมัคคปัจจัย มี 7 วาระ ใน
สัมปยุตตปัจจัย มี 3 วาระ ในวิปปยุตตปัจจัย มี 10 วาระ ในอัตถิปัจจัย มี
23 วาระ ในนัตถิปัจจัย มี 7 วาระ ในวิคตปัจจัย มี 7 วาระ ในอวิคตปัจจัย
มี 23 วาระ.
ฯลฯ
การนับวาระในปัจจนียานุโลม จำแนกไว้แล้วในกุสลติกะ ฉันใด
พึงนับฉันนั้น
อุปาทินนติกะ ที่ 4 จบ

อรรถกถาพรรณนาเนื้อความแห่งอุปาทินนติกปัฏฐาน


ในปัญหาวาระแห่ง อุปาทินนุปาทานิยติกะ พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสหมายถึงปวัตติกาลว่า วัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอุปาทินนุปาทา-
นิยะ โดยปุเรชาตปัจจัยเท่านั้น แต่ในปฏิสนธิกาล วัตถุนั้นหาเป็นปุเรชาต-
ปัจจัยไม่. ในคำนี้ว่า กพฬีการาหารที่เป็นอุปาทินนุปาทานิยะ เป็นปัจจัยแก่
กายที่เป็นอุปาทินนุปาทานิยะ โดยอาหารปัจจัย ดังนี้ความว่า ชื่อว่ากพฬี-
การาหารี เป็นอุปาทินนุปาทานิยะ ได้แก่ โอชาที่อยู่ในภายในแห่งรูปที่มีกรรม
เป็นสมุฏฐาน. สองบทว่า อุปาทินฺนุปาทานิยสฺส กายสฺส ความว่าเป็น
ปัจจัยแก่กาย คือรูปที่มีกรรมเป็นสมุฏฐานนั่นเอง โดยอาหารปัจจัย.

อาหารเป็นปัจจัย ด้วยอำนาจการเลี้ยงรักษาและค้ำจุนแก่
กัมมชรูป เหมือนรูปชีวิตินทรีย์ ไม่ได้เป็นปัจจัยด้วยอำนาจการยังรูป
ให้เกิดขึ้น.

ส่วนคำใดที่อาจารย์บางพวกกล่าวว่า โอชาในตัวกบเป็นต้นที่ยังเป็นอยู่
เป็นปัจจัยโดยอาหารปัจจัยแก่ตัวงูที่กลืนกบเป็นต้น เข้าไป คำนั้นไม่พึงถือเอา
เพราะว่า โอชาในตัวสัตว์ที่ยังเป็นอยู่ ย่อมไม่ให้สำเร็จความเป็นอาหารปัจจัย
แก่ร่างกายของผู้อื่น. ก็ในคำนี้ว่า อนุปาทินนุปาทานิยสฺส กายสฺส ย่อม
ได้ความเป็นปัจจัยด้วยอำนาจการให้เกิดขึ้น. ในคำนี้ว่า อุปาทินนุปาทา-
นิยสฺส จ อนุปาทินนุปาทานิยสฺส จ
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอาหาร
ปัจจัยด้วยอำนาจเป็นธรรมค้ำจุนแก่กายอย่างหนึ่ง ด้วยอำนาจทำให้เกิดแก่กาย
อย่างหนึ่ง หรือด้วยอำนาจเป็นธรรมค้ำจุนเท่านั้น แก่กายที่เป็นอุปาทินนุ-
ปาทานิยะ และที่เป็นอนุปาทินนุปาทานิยะ. ก็อาหาร 2 เมื่อเป็นปัจจัยร่วมกัน
ย่อมเป็นอุปัตถัมภกสัตติคือค้ำจุนเท่านั้น ไม่เป็นชนกสัตติคือทำให้เกิด. คำที่
เหลือในอธิการนี้ ผู้ศึกษาพึงตรวจบาลีให้ดีแล้วทราบเถิด.
อรรถกถาพรรณนาเนื้อความแห่งอุปาทินนติกปัฏฐาน จบ

5. สังกิลิฏฐติกะ


ปฏิจจวาระ


อนุโลมนัย


เหตุปัจจัย


[1660] 1. สังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม อาศัยสังกิลิฏฐสังกิเล-
สิกธรรมเกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย

คือ ขันธ์ 3 อาศัยขันธ์ 1 ที่เป็นสังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม เกิดขึ้น
ฯลฯ ขันธ์ 2 อาศัยขันธ์ 2 เกิดขึ้น.
2. อสังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม อาศัยสังกิลิฏฐสังกิ-
เลสิกธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย

คือ จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ที่เป็นสังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรมเกิดขึ้น.
3. สังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม และอสังกิลิฏฐสังกิ-
เลสิกธรรม อาศัยสังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรมเกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย

คือ ขันธ์ 3 และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ 1 ที่เป็นสังกิลิฏฐสัง-
กิเลสิกธรรม เกิดขึ้น ฯลฯ ขันธ์ 2 และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ 2 เกิดขึ้น.
[1661] 4. อสังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม อาศัยอสังกิลิฏฐสัง-
กิเลสิกธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย

คือ ขันธ์ 3 และจิตตสมุฎฐานรูป อาศัยขันธ์ 1 ที่เป็นอสังกิลิฏฐ-
สังกิเลสิกธรรม เกิดขึ้น ฯลฯ ขันธ์ 2 และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ 2 เกิดขึ้น.