เมนู

พึงนับให้พิสดารเหมือนการนับจำนวนวาระในอนุโลมปัจจนียะ ใน
กุสลติกะ.
ปัจจนียานุโลม จบ
วิปากติกะที่ 3 จบ

อรรถกถาพรรณนาเนื้อความแห่งวิปากติกปัฏฐาน


พึงทราบวินิจฉัยใน วิปากติกะ ต่อไป วาระ 13 เหล่าใดที่พระผู้-
มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในเหตุปัจจัยว่า วิปากํ ธมฺมํ ปฏิจฺจ วิปาโก ธมฺโม
อุปฺปชฺชติ เหตุปจฺจยา
เพื่อจะย่อแสดงวาระเหล่านั้น ด้วยการนับ พระผู้มี-
พระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เหตุยา เตรส แม้ในคำว่า อารมฺมเณ ปญฺจ เป็น
ต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน. ในอธิการนี้มีการกำหนดวิธีนับ 6 อย่างคือ 13-5-
9-7-3-2 ด้วยประการฉะนี้ ในการรวมปัจจัยด้วยอำนาจแห่งวิธีนั้นเหล่านั้น
ผู้ศึกษาพึงทราบวิธีคำนวณโดยนัยที่ข้าพเจ้ากล่าวไว้แล้วในหนหลัง.
จริงอยู่ ในปัจจนียนัย พระผู้มีพระภาคเจ้าเพื่อจะย่อแสดงวาระ 10
ที่ตรัสไว้ใน นเหตุปัจจัย ว่า วิปากํ ธมฺมํ ปฏิจฺจ วิปาโก ธมฺโม
อุปฺปชฺชติ นเหตุปจฺจยา
โดยการคำนวน จึงตรัสว่า น เหตุยา ทส แม้
ในคำว่า น อารมฺมเณ ปญฺจ เป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน ในอธิการนี้มีการ
กำหนดวิธีนับ 8 อย่างคือ 10-5-13-12-2-1-9-3 ด้วยประการฉะนี้
ในการรวมปัจจัยด้วยอำนาจการกำหนดวิธีนับเหล่านั้น ผู้ศึกษาพึงทราบการ
กำหนดโดยพิสดาร ตามนัยที่ข้าพเจ้ากล่าวแล้วในหนหลัง ส่วนบาลีพระผู้มี-

พระภาคเจ้าทรงย่อไว้ ก็ผู้ศึกษาพึงเทียบเคียงด้วยอำนาจการกำหนดที่มีได้เหล่า
นี้เอง แล้วทราบอนุโสมปัจจนียนัย และปัจจนียานุโลนัยเถิด.
สหชาตวาระ มีคติอย่างเดียวกับ ปัจจยวาระ นิสสยวาระ สัง-
สัฏฐวาระ และสัมปยุตตวาระ
ย่อมกำหนดตามบาลีนั่นเอง.
พึงทราบวินิจฉัยใน ปัญหาวาระ ต่อไป. สองบทว่า กุสลากุสเล
นิรุทฺเธ
ความว่า เมื่อกุศลอันเป็นไปด้วยอำนาจวิปัสสนา และเมื่ออกุศล
อันเป็นไปด้วยอำนาจความกำหนัดเป็นต้นนี้ดับไปแล้ว. คำว่า วิปาโก ตทา-
รมฺมณตา อุปฺปชฺชติ
ความว่า กามาวจรวิบากย่อมเกิดขึ้นโดยเป็นตทารัมมณะ
ส่วนอาจารย์เหล่าใดกล่าวว่า ในที่สุดแห่งวิปัสสนาชวนะ และ
วิจิกิจฉาสัมปยุตตจิต อุทธัจจสัมปยุตตจิตไม่มีตทารัมมณะ อาจารย์
เหล่านั้นพึงถูกคัดค้านด้วยพระบาลีนี้. คำว่า อากาสานญฺจายนกุสลํ
วิญฺญาณญฺจายตนกิริยสฺส อารมฺมณปจฺจเยน ปจฺจโย
นี้ ท่านกล่าว
ไว้ด้วยอำนาจแห่งบุคคลผู้บรรลุพระอรหัต แล้วเข้าสมาบัติที่ไม่เคยเข้าโดย
ปฏิโลม. ในวิสัชนาทั้งปวง ผู้ศึกษาพิจารณาบาลีให้ดีแล้ว พึงทราบเนื้อความ
โดยอุบายนี้.
แม้ในคำว่า เหตุยา สตฺต อารมฺมเณ นว อธิปติยา ทส เป็น
ต้น ผู้ศึกษาพึงทราบด้วยอำนาจแห่งสหชาตาธิปติปัจจัย อารัมมณาธิปติปัจจัย
สหชาตนิสสยปัจจัย ปุเรชาตนิสสยปัจจัย อนันตรูปนิสสยปัจจัย อารัมมณู-
ปนิสสยปัจจัย ปกตูปนิสสยปัจจัย สหชาตวิปปยุตตปัจจัย และปุเรชาตวิปป-
ยุตตปัจจัย เพราะฉะนั้นในปัจจัยใด ๆ ได้วิสัชนาจำนวนเท่าใด โดยประการ
ใด ๆ ผู้ศึกษาพึงกำหนดวิสัชนาเหล่านั้นทั้งหมดในปัจจัยนั้น ๆ โดยประการ
นั้น ๆ. อนึ่ง วิธีทั้งหมดคือการยกวาระด้วยอำนาจอนุโลมในปัจจนียนัยเป็น

ต้น การนับคือการรวมปัจจัยที่มีวาระอันได้โดยอนุโลมโดยเป็นปัจจนียะ การ
มีได้การมีไม่ได้แห่งปัจจัยซึ่งมีวาระและการนับที่มีไม่ได้ ในเหตุมูลกนัยเป็น
ต้น ล้วน ๆ ในอนุโลมปัจจยนียะ และปัจจนียานุโลม และที่เป็นไปด้วย
อำนาจการรวม (ปัจจัย) ผู้ศึกษาพึงทราบด้วยอำนาจแห่งนัยที่ข้าพเจ้ากล่าวใน
หนหลัง ก็แม้ในติกะและทุกะนอกจากนี้ก็พึงทราบเหมือนในอธิการนี้.
จริงอยู่ ปัฏฐานปกรณ์ว่าโดยบาลีแล้ว มีปริมาณไม่สิ้นสุด
แม้บุคคลมีอายุยืนยิ่ง ปฏิบัติด้วยคิดว่า จักพรรณนาเนื้อความแห่ง
ปัฏฐานนั้นตามลำดับบท อายุย่อมไม่เพียงพอ
ก็เมื่อท่านพรรณนา
ส่วนหนึ่งแห่งปัฏฐานแล้ว แสดงส่วนที่เหลือไปตามนัย (นั้น) ผู้ศึกษาไม่
สามารถทราบเนื้อความได้ก็หาไม่ เพราะฉะนั้นต่อจากนี้ไป ข้าพเจ้าจะไม่กล่าว
คำมีประมาณเท่านี้ก่อน จักกล่าวเฉพาะคำที่จำเป็นต้องกล่าวเท่านั้น เพราะมี
ประการที่พระผู้มีพระภาคเจ้ายังไม่ได้ตรัสในหนหลัง ในติกะและทุกะที่เหลือ
ก็คำที่ข้าพเจ้าไม่ได้กล่าวถึง ผ่านไปเสีย ผู้ศึกษาพึงทราบตามนัยแห่งพระบาลี
แล.
อรรถกถาพรรณนาเนื้อความแห่งวิปากติกปัฏฐาน จบ

4. อุปาทินนติกะ


ปฏิจจวาระ


อนุโลมนัย


1. เหตุปัจจัย


[1418] 1. อุปาทินนุปาทานิยธรรม อาศัยอุปาทินนุปาทานิย-
ธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย

คือ ขันธ์ 3 อาศัยขันธ์ 1 ที่เป็นอุปาทินนุปาทานิยธรรม เกิดขึ้น
ฯลฯ ขันธ์ 2 อาศัยขันธ์ 2 เกิดขึ้น.
ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ 3 และกฏัตตารูป อาศัยขันธ์ 1 ที่เป็นอุปาทิน-
นุปาทานิยธรรม เกิดขึ้น ฯลฯ ขันธ์ 2 และกฏัตตารูป อาศัยขันธ์ 2 เกิดขึ้น.
ขันธ์ทั้งหลาย อาศัยหทยวัตถุเกิดขึ้น.
มหาภูตรูป 3 อาศัยมหาภูตรูป 1 ที่เป็นอุปาทินนุปาทานิยธรรมเกิด
ขึ้น ฯลฯ มหาภูตรูป 2 อาศัยมหาภูตรูป 2 เกิดขึ้น. กฏัตตารูปที่เป็นอุปาทา-
รูป อาศัยมหาภูตรูปเกิดขึ้น.
2. อนุปาทินนุปาทานิยธรรม อาศัยอุปาทิน-
นุปาทานิยธรรมเกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย
คือ จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ที่เป็นอุปาทินนุปาทานิยธรรมเกิดขึ้น.
3. อุปาทินนุปาทานิยธรรม และอนุปาทินนุปาทา-
นิยธรรม อาศัยอุปาทินนุปาทานิยธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย