เมนู

วรรณนานิทเทสแห่งวิปปยุตตปัจจัย


ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัยใน วิปปยุตตปัจจัยนิทเทส ต่อไป.
คำนี้ว่า รูปธรรมเป็นวิปปยุตตปัจจัยแก่อรูปธรรม พึงทราบด้วย
อำนาจหทัยวัตถุและจักขุนทรีย์เป็นต้นก่อน ๆ จริงอยู่ รูปธรรม 6 อย่าง
เหล่านี้เองเป็นวิปปยุตตปัจจัยแก่อรูปขันธ์. ถึงแม้ธรรมที่เป็นอารมณ์มี
รูปายตนะเป็นต้น เป็นวิปปยุตตกัน (กับจักขายตนะเป็นต้น) ก็จริง
แต่ก็ไม่จัดเป็นวิปปยุตตปัจจัย.

ถามว่า เพราะเหตุไร ?
ตอบว่า เพราะไม่มีความเกี่ยวข้องในเรื่องสัมปโยคะ. อรูปขันธ์
ทั้งหลายเกิดขึ้น เหมือนออกมาจากภายในแห่งรูปอันเป็นที่อาศัย มี
จักขุปสาทเป็นต้น.
ความเกี่ยวข้องในจักขุปสาทเป็นต้นเหล่านี้ จึงมีอยู่
ไม่ว่าอรูปขันธ์เหล่านั้นจะสัมปยุตหรือวิปปยุตกับจักขุปสาทเป็นต้นเหล่านั้น
ก็ตาม. ส่วนธรรมที่เป็นอารมณ์ ย่อมเป็นเพียงอารมณ์แห่งจิตที่เกิดขึ้น
เพราะอาศัยวัตถุรูปเท่านั้น เพราะเหตุนั้นความเกี่ยวข้องเรื่องสัมปโยคะใน
จักขุปสาทเป็นต้นเหล่านั้น จึงไม่มี. รูปายตนะเป็นต้นเหล่านั้นไม่จัดเป็น
วิปปยุตตปัจจัย เพราะไม่มีการเกี่ยวข้องในเรื่องสัมปโยคะ ด้วยประการ
ฉะนี้. ผู้ศึกษาพึงทราบความเป็นวิปปยุตตปัจจัยนี้ในหทัยวัตถุเป็นต้นด้วย.
สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ใน ปัญหาวาระ ว่า " วัตถุรูปเป็น
ปัจจัยแก่กุศลขันธ์และอกุศลขันธ์ ด้วยอำนาจของวิปปยุตตปัจจัย จักขาย-
ตนะ ฯ ล ฯ กายายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯ ล ฯ กายวิญญาณ
ด้วยอำนาจของวิปปยุตตปัจจัย. วัตถุรูปเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นวิปากาพยา-
กตะ และกิริยาพยากตะ ด้วยอำนาจของวิปปยุตตปัจจัย."

คำนี้ว่า อรูปธรรมเป็นปัจจัยแก่รูปธรรมด้วยอำนาจของวิปปยุตต-
ปัจจัย
ผู้ศึกษาพึงทราบด้วยอำนาจขันธ์ 4. จริงอยู่ ในบรรดาอรูปธรรม
ขันธ์ 4 เป็นวิปปยุตตปัจจัยแก่รูปธรรมที่เป็นสหชาตะและปุเรชาตะ. ส่วน
นิพพานถึงจะเป็นอรูปธรรม ก็ไม่เป็นปัจจัยแก่รูปด้วยอำนาจของวิปป-
ยุตตปัจจัย. จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส1ไว้ว่า ประกอบด้วยขันธ์ 4
ไม่ประกอบด้วยขันธ์ 4 (คือสัมปยุตหรือวิปปยุตใช้กับนามขันธ์ ). ผู้
ศึกษาพึงทราบว่า เฉพาะขันธ์ 4 เท่านั้น เป็นวิปปยุตตปัจจัยด้วยประการ
ฉะนี้. สมจริง ดังที่พระองค์ตรัสไว้ใน ปัญหาวาระ ว่า ที่เป็นสหชาตะ
กุศลขันธ์เป็นปัจจัยแก่จิตตตชรูป ด้วยอำนาจของวิปปยุตตปัจจัย. ที่เป็น
ปัจฉาชาตะ
กุศลขันธ์เป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อน ด้วยอำนาจของวิปป-
ยุตตปัจจัย ในขณะปฏิสนธิขันธ์ที่เป็นวิปากาพยากตะเป็นปัจจัยแก่กัมมชรูป
ด้วยอำนาจของวิปปยุตตปัจจัย ขันธ์ทั้งหลายเป็นปัจจัยแก่หทัยวัตถุ ด้วย
อำนาจของวิปปยุตตปัจจัย. ผู้ศึกษาพึงทราบการพรรณนาบาลีในอธิการนี้
อย่างนี้.
ก็ชื่อว่า วิปปยุตตปัจจัยนี้ โดยสังเขป ได้แก่ รูปธรรมและอรูปธรรม
ที่กำลังเป็นไปในปัญจโวการภพ. บรรดารูปธรรมและอรูปธรรมเหล่านั้น
รูปธรรมจำแนกได้ 6 อย่าง ด้วยอำนาจแห่งหทัยวัตถุและจักขุปสาท
เป็นต้น. อรูปธรรมที่เกิดในปัญจโวการภพ จำแนกได้ ชาติ คือกุศล
อกุศล วิบาก กิริยา. อรูปธรรมนั้นโดยภูมิจำแนกได้ 11 ภูมิ คือ
กุศล 4 อกุศล 1 วิบาก 3 กิริยา 3 ด้วยอำนาจแห่งกามาวจรภูมิเป็น
1. อภิ. ธาตุกถา

ต้น. แต่อรูปวิบากไม่เป็นวิปปยุตตปัจจัย. ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัยโดย
การจำแนกด้วยประการต่าง ๆ ในวิปปยุตตปัจจัยนี้ ดังพรรณนามานี้
ก็ในวิปปยุตตปัจจัยที่จำแนกแล้วอย่างนี้ กุศล และอกุศลทั้ง 4 ภูมิ
ที่เกิดในปัญจโวการภพ เป็นปัจจัยแก่จิตชรูปที่เกิดขึ้นพร้อมกับตน ด้วย
อำนาจของสหชาตวิปปยุตตปัจจัย. เป็นปัจจัยแก่รูปกายที่มีสมุฏฐาน 4
และ 3 ที่เกิดก่อน ที่ล่วงเลยอุปาทขณะมาถึงฐิติขณะ ด้วยอำนาจของ
ปัจฉาชาตวิปปยุตตปัจจัย. ก็คำว่า รูปกายที่มีสมุฏฐาน 3 ในที่นี้ ผู้ศึกษา
พึงทราบว่า ได้แก่กานแห่งพรหมปาริสัชชา เป็นต้น เพราะไม่มีอาหาร
สมุฏฐาน.
ก็กามาวจรวิบากและรูปาวจรวิบาก เป็นปัจจัยแก่จิตตชรูป ใน
ปวัตติกาลและกัมมชรูปในปฏิสนธิกาล ด้วยอำนาจของสหชาตวิปปยุตต-
ปัจจัย. โลกุตตรวิบากเป็นปัจจัยเฉพาะแก่จิตตชรูปอย่างเดียว. ก็วิบากทั้ง 3
ภูมิน (กาม+รูป+โลกุตตระ) เป็นปัจจัยแก่กายที่มีสมุฏฐาน 4 และ 3
ที่เกิดก่อน ด้วยอำนาจของปัจฉาชาตวิปปยุตตปัจจัย.
กิริยาทั้ง 3 ภูมิ เป็นปัจจัยแก่จิตตรูป ด้วยอำนาจของสหชาต-
วิปปยุตตปัจจัย, เป็นปัจจัยแก่กายที่มีสมุฏฐาน 4 และสมุฏฐาน 3 ซึ่ง
เกิดก่อน ด้วยอำนาจชองปัจฉาชาตวิปปยุตตปัจจัย.
ส่วนในฐิตรูป 6 อย่างนั้น วัตถุรูปเป็นปัจจัยแก่กามาวจรวิบากและ
รูปาวจรวิบากในขณะปฏิสนธิ ด้วยอำนาจของสหชาตวิปปยุตตปัจจัย.
เป็นปัจจัยแก่กุศลทั้ง 4 ภูมิ อกุศล 1 ภูมิ วิบากทั้ง 3 ภูมิเว้นวิญญาณ-
จิต 10 และกิริยาจิตทั้ง 3 ภูมิที่เกิดขึ้นในปวัตติกาล ด้วยอำนาจของ
ปุเรชาตวิปปยุตตปัจจัย. จักขายตนะเป็นต้น เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ

เป็นต้น. ด้วยอำนาจของปุเรชาตวิปปยุตตปัจจัย ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัย
แม้โดยธรรมที่เป็นปัจจยุบบันในอธิการนี้ ดังพรรณนามาแล้วแล.
วรรณนานิทเทสแห่งวิปปยุตตปัจจัย จบ

[22]

อัตถิปัจจัย

ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นผู้ยังมีอยู่
กล่าวคือ
1. นามขันธ์ 4 เป็นปัจจัยซึ่งกันและกัน ด้วยอำนาจของอัตถิ
ปัจจัย
2. มหาภูตรูป 4 เป็นปัจจัยซึ่งกันและกัน ด้วยอำนาจของ
อัตถิปัจจัย
3. ในปฏิสนธิขณะ นามรูปเป็นปัจจัยซึ่งกันและกัน ด้วย
อำนาจของอัตถิปัจจัย
4. จิตและเจตสิกธรรมทั้งหลาย เป็นปัจจัยแก่รูปทั้งหลายที่
มีจิตเป็นสมุฏฐาน ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.
5. มหาภูตรูป เป็นปัจจัยแก่อุปาทารูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจ
ของอัตถิปัจจัย
6. จักขายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณธาตุ และแก่ธรรม
ทั้งหลายที่ประกอบกับจักขุวิญญาณธาตุนั้น ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย
7. โสตายตนะ เป็นปัจจัยแก่โสตวิญญาณธาตุ และแก่ธรรม
ทั้งหลายที่ประกอบกับโสตวิญญาณธาตุนั้น ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย