เมนู

อำนาจของอินทริยปัจจัย. ความเป็นสหชาตปัจจัย ย่อมไม่มีแก่รูป-
ชีวิตินทรีย์นั้น.

ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัยโดยธรรมที่เป็นปัจจยุบบันในอินทริยปัจจัย
อย่างนี้แล.
วรรณนานิทเทสแห่งอินทริยปัจจัย จบ
[18]

ฌานปัจจัย

ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นผู้เพ่ง
อารมณ์ กล่าวคือ องค์ฌานทั้งหลายเป็นปัจจัยแก่ธรรมทั้งหลาย
ประกอบกับฌาน และแก่รูปทั้งหลายที่มีฌานและธรรมที่ประกอบกับ
ฌานนั้นเป็นสมุฏฐาน ด้วยอำนาจของฌานปัจจัย.


วรรณนานิทเทสแห่งฌานปัจจัย


ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัยใน ฌานปัจจัยนิทเทส ต่อไป.
บทว่า ฌานงฺคานิ ได้แก่ องค์ฌาน 7 กล่าวคือ วิตก วิจาร
ปีติ โสมนัส โทมนัส อุเบกขา และจิตเตกัคคตา ที่เกิดขึ้นในจิต
ที่เหลือ เว้นทวิปัญจวิญญาณจิต 10.
ก็เพราะหมวดแห่งวิญญาณ 5
เป็นเพียงการตกไป (แห่งจิตในอารมณ์) อุเบกขา สุข และทุกข์แม้จะ
มีอยู่ในจิตเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ไม่ทรงยกขึ้นว่าเป็นองค์ฌาน
เพราะไม่มีการเข้าไปเพ่งอารมณ์. ก็บรรดาองค์ฌานเหล่านั้น องค์ฌาน
แม้ในอเหตุกจิตที่เหลือ พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ไม่ทรงยกขึ้น (ว่าเป็นฌาน-

ปัจจัย) เหมือนกัน เพราะถูกตัดขาดไปแล้ว แต่ในการประมวลธรรมใน
อธิการนี้ ทรงยกขึ้นไว้ด้วย.
แม้ในบทว่า ตํ สมุฏฺฐานานํ นี้ ผู้ศึกษาพึงทราบว่า พระผู้มี-
พระภาคเจ้าทรงสงเคราะห์เอากัมมชรูป. สมจริงดังที่พระองค์ตรัสไว้ใน
ปัญหาวาระว่า " ในปฏิสนธิขณะ องค์ฌานที่เป็นวิปากาพยากตะ เป็น
ปัจจัยแก่ขันธ์ที่สัมปยุต และกัมมชรูป ด้วยอำนาจของฌานปัจจัย."
พรรณนาบาลีในอธิการนี้เพียงเท่านี้.
ก็ฌานปัจจัยนี้คือองค์ฌาน 7 จำแนกโดยประเภทแห่งชาติมี 4 ชาติ
คือ กุศล อกุศล วิบาก และกิริยา. ว่าด้วยอำนาจแห่งภูมิอีกครั้ง จำแนก
ได้ 12 ภูมิ คือกุศล 4 อกุศล 1 วิบาก 4 กิริยา 3. ผู้ศึกษาพึงทราบ
วินิจฉัยโดยการจำแนกด้วยประการต่าง ๆ ในฌานปัจจัยนี้ ดังกล่าวมา
แล้ว.
ในฌานปัจจัยที่จำแนกออกอย่างนี้ องค์ฌานที่เป็นกุศลทั้ง 4 ภูมิ
เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่สัมปยุต และจิตตชรูปในปัญจโวการภพ ด้วยอำนาจ
ของฌานปัจจัย. องค์ฌานที่เหลือเว้นที่เป็นรูปาวจร เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่
สัมปยุตเท่านั้นในอรูปภพ ด้วยอำนาจของฌานปัจจัย. แม้ในอกุศลเป็นต้น
ก็นัยนี้เหมือนกัน. องค์ฌานที่เป็นกามาวจรวิบาก และ รูปาวจรวิบาก
เป็นฌานปัจจัยแก่ธรรมที่สัมปยุต และจิตตชรูปในปวัตติกาล. เป็นฌาน-
ปัจจัยแก่ธรรมที่สัมปยุต และกัมมชรูปในปฏิสนธิกาล. องค์ฌานที่เป็น
อรูปวิบาก
เป็นฌานปัจจัยเฉพาะแก่ธรรมที่สัมปยุตเท่านั้น (ในอรูปภพ)
และโลกุตตรวิบากที่เกิดในอรูปภพก็เหมือนกัน. แต่ในปัญจโวการภพ
องค์ฌานที่เป็นโลกุตตรวิบากนั้น เป็นปัจจัยแก่จิตตชรูปด้วยอำนาจของ

ฌานปัจจัย. องค์ฌานที่เป็นกิริยาทั้ง 3 ภูมิ เป็นฌานปัจจัยแก่ธรรม
ที่สัมปยุต และจิตตชรูปในปัญจโวการภพ. องค์ฌานที่เกิดในอรูปภพเป็น
ปัจจัยเฉพาะแก่ธรรมที่สัมปยุตเท่านั้น ด้วยอำนาจของฌานปัจจัย. ผู้ศึกษา
พึงทราบวินิจฉัย แม้โดยธรรมที่เป็นปัจจยุบบันในฌานปัจจัยนี้ ดังกล่าว
มาแล้วแล.
วรรณนานิทเทสแห่งฌานปัจจัย จบ

[19]

มัคคปัจจัย

ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นทาง กล่าว
คือ องค์มรรคทั้งหลายเป็นปัจจัยแก่ธรรมทั้งหลายที่ประกอบกับมรรค
และแก่รูปทั้งหลายที่มีมรรค และธรรมที่ประกอบกับมรรคเป็นสมุฏฐาน
ด้วยอำนาจของมัคคปัจจัย.


วรรณนานิทเทสแห่งมัคคปัจจัย


ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสแห่ง มัคคปัจจัย ต่อไป.
บทว่า มคฺคงฺคานิ ได้แก่ องค์มรรค 12 เหล่านี้ คือ ปัญญา
วิตก สัมมาวาจา สันมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ วิริยะ สติ สมาธิ
มิจฉาทิฏฐิ มิจฉาสังกัปปะ มิจฉาวายามะ มิจฉาสมาธิ ที่เกิดขึ้นใน
จิตที่เหลือ เว้นอเหตุกจิตตปบาท.
พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงยกองค์
มรรคในอเหตุกจิต (เป็นมัคคปัจจัย) เพราะความเป็นมรรคเป็นธรรมเกิด
ภายหลังแห่งเหตุ. ทรงสงเคราะห์กัมมชรูป ในบทว่า ตํ สมุฏฺฐานานํ นี้.
สมจริงดังที่พระองค์ตรัสไว้ในปัญหาวาระว่า " องค์มรรคที่เป็นวิปากา-