เมนู

4. ชิวหินทรีย์ เป็นปัจจัยแก่ชิวหาวิญญาณธาตุ และแก่ธรรม
ทั้งหลายที่ประกอบกับชิวหาวิญญาณธาตุนั้น ด้วยอำนาจของอินทริย-
ปัจจัย
5. กายินทรีย์ เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณธาตุ และแก่ธรรม
ทั้งหลายที่ประกอบกับกายวิญญาณธาตุนั้น ด้วยอำนาจของอินทริย-
ปัจจัย
6. รูปชีวิตินทรีย์ เป็นปัจจัยแก่กฏัตตารูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจ
ของอินทริยปัจจัย
7. นามอินทรีย์ เป็นปัจจัยแก่ธรรมทั้งหลายที่ประกอบกับนาม
อินทรีย์ และแก่รูปทั้งหลายที่มีนามอินทรีย์ และธรรมที่ประกอบกับ
นามอินทรีย์นั้นเป็นสมุฏฐาน ด้วยอำนาจของอินทริยปัจจัย.


วรรณนานิทเทสแห่งอินทริยปัจจัย


ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัยใน อินทริยปัจจัยนิทเทส ต่อไป.
บทว่า จกฺขุนฺทฺริยํ แปลว่า อินทรีย์คือจักษุ. บทว่า อินฺทฺริย-
ปจฺจเยน
ความว่า จักขุนทรีย์เป็นต้นนั้น ตัวเองเกิดก่อนแล้วเป็นปัจจัย
แก่อรูปธรรม ตั้งแต่เกิดไปจนถึงดับ ด้วยอำนาจของอินทริยปัจจัย. แม้
ในอินทรีย์เป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน. แม้ อรูปชีวิตินทรีย์ พระผู้มี-
พระภาคเจ้าก็ทรงสงเคราะห์เข้าในคำนี้ว่า อินทรีย์ที่ไม่มีรูป. ในคำว่า
ตํสมุฏฺฐานานํ นี้ ทรงสงเคราะห์แม้กัมมชรูปโดยที่กล่าวแล้วในหน
หลัง. สมจริงดังที่พระองค์ตรัสไว้ในปัญหาวาระดังนี้ว่า อินทรีย์ที่เป็น
วิปากกาพยากตะ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่สัมปยุต และกัมมชรูป ในขณะ