เมนู

[16]

อาหารปัจจัย

ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นผู้นำมา
กล่าวคือ
1. อาหารคือคำข้าว เป็นปัจจัยแก่ธรรมนี้ ด้วยอำนาจของ
อาหารปัจจัย
2. นามอาหาร เป็นปัจจัยแก่ธรรมทั้งหลายที่ประกอบกับนาม-
อาหาร และแก่รูปทั้งหลายที่มีนามอาหารนั้นเห็นสมุฏฐาน ด้วยอำนาจ
ของอาหารปัจจัย.


วรรณนานิทเทสแห่งอาหารปัจจัย


ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัยใน อาหารปัจจัยนิทเทส ต่อไป.
โอชาในรูปที่เกิดในสันตติ 41 ชื่อว่า อาหาร ในคำว่า กพฬีกาโร
อาหาโร.
ก็เพราะอาหารนั้น บุคคลทำให้เป็นคำแล้ว กลืนกินเข้าไปเท่านั้น
จึงทำกิจแห่งอาหารได้ ที่อยู่ภายนอกหาทำกิจแห่งอาหารไม่ ฉะนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงไม่ตรัสว่า อาหาโร ตรัสว่า กพฬีกาโร อาหาโร.
อีกอย่างหนึ่ง คำว่า กพฬีกาโร นี้ สักว่าเป็นชื่อแห่งอาหารนั้น เพราะ
เป็นวัตถุที่บุคคลพึงทำให้เป็นคำ ๆ แล้วกลืนกิน. อาหารคือ ผัสสะ เจตนา
และวิญญาณ ชื่อว่า นามอาหาร. รูปที่มีกรรมเป็นสมุฏฐาน พระผู้มี-
พระภาคเจ้าทรงถือเอาแล้วในคำนี้ว่า ตํสมุฏฺฐานานํ. สมจริงดังที่พระองค์
ตรัสไว้ในปัญหาวาระว่า ในขณะปฏิสนธิ อาหารที่เป็นวิปากาพยากตะ
เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่สัมปยุตและรูปที่เกิดจากกรรม ด้วยอำนาจของอาหาร
ปัจจัย. พรรณนาบาลีในอาหารปัจจัย เพียงเท่านี้.
1. รูปที่เกิดจากสมุฏฐาน 4 คือ กรรม จิต อุตุ อาหาร.

ก็อาหารปัจจัยนี้โดยย่อ ได้แก่ ธรรม 4 อย่างเท่านั้น คือ กพฬี-
การาหาร ผัสสาหาร เจตนาหาร และวิญญาณหาร. ในอาหารอย่าง
นั้น นามอาหาร 3 ที่เหลือ เว้นกพฬีการาหาร ว่าโดยอำนาจแห่งชาติ
จำแนกได้ 4 ชาติ โดยเป็นกุศล อกุศล วิบาก และกิริยา.
ว่าด้วยประเภทแห่งภูมิอีก นามอาหารเหล่านี้จำแนกได้มากมาย
หลายอย่าง อย่างนี้คือ กุศลจำแนกได้ 4 ภูมิ อกุศล 1 ภูมิ วิบาก 4 ภูมิ
กิริยา 3 ภูมิ. ส่วนกพฬีการาหารโดยชาติเป็นอัพยากตะ โดยภูมิเป็น
กามาวจรอย่างเดียว. ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัยโดยการจำแนกด้วยประการ
ต่าง ๆ ในอาหารปัจจัยนี้ ดังกล่าวมาแล้ว.
ก็ในอาหารปัจจัยซึ่งจำแนกได้ดังกล่าวมาแล้วนี้ อาหารที่เป็นกุศล
3 อย่าง ทั้ง 4 ภูมิเป็นปัจจัยแก่ธรรมที่สัมปยุตกับตน และรูปที่มีจิตเป็น
สมุฏฐานในปัญจโวการภพ ด้วยอำนาจของอาหารปัจจัย อาหารที่เหลือ
เว้นรูปาวจรวิญญาณ เป็นปัจจัยเฉพาะแก่ธรรมที่สัมปยุตเท่านั้น ใน
อรูปภพด้วยอำนาจของอาหารปัจจัย. แม้ในอาหารที่เป็นอกุศลก็นัยนี้
เหมือนกัน. อาหารที่เป็นวิบากทั้ง 4 ภูมิ เป็นอาหารปัจจัยแก่ธรรม
ที่สัมปยุตในที่ทั้งปวง. ก็ในอธิการนี้ กามาวจรวิบาก และรูปาวจรวิบาก
ที่เกิดในปัญจโวการภพ เป็นอาหารปัจจัยแก่จิตตชรูปในปวัตติกาล แก่
กัมมชรูปในปฏิสนธิกาล. อาหารที่เป็นโลกุตตรวิบากเป็นอาหารปัจจัยแก่
จิตตชรูปอย่างเดียว. อาหารที่เกิดในอรูปภพย่อมไม่เป็นปัจจัยแก่รูป. อาหาร
ที่เป็นกิริยาทั้ง 3 ภูมิ เป็นอาหารปัจจัยแก่ธรรมที่สัมปยุต และจิตตชรูปใน
ปัญจโวการภพ. อาหารที่เป็นกามาวจรและอรูปาวจร เป็นอาหารปัจจัย
แก่ธรรมที่สัมปยุตเท่านั้น ในอรูปภพ. กวฬีการาหารที่เกิดขึ้นในสันตติ 4

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้โดยไม่แปลกกันว่า เป็นปัจจัยแก่กายนี้ แม้ก็
จริง แต่เมื่อว่าโดยแปลกกัน ในอธิการนี้ กวฬีการาหารนี้ เป็นผู้ให้เกิด
รูปที่มีอาหารเป็นสมุฏฐานด้วยชนกสัตติ และตามรักษารูปที่มีอาหารเป็น
สมุฏฐานด้วยอนุปาลกสัตติ ด้วยอำนาจของอาหารปัจจัย. อธิบายว่า
เป็นปัจจัยแก่สันตติรูปอันมีสมุฏฐาน 3 ที่เหลือ ด้วยอำนาจของอาหาร-
ปัจจัย เพราะเลี้ยงรูปไว้. ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัยแม้ด้วยธรรมที่เป็น
ปัจจยุบบันในอาหารปัจจัยนี้ ดังพรรณนามาแล้ว.
วรรณนานิทเทสแห่งอาหารปัจจัย จบ

[17]

อินทริยปัจจัย

ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นใหญ่
กล่าวคือ
1. จักขุนทรีย์ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณธาตุ และแก่ธรรม
ทั้งหลายที่ประกอบกับจักขุวิญญาณธาตุนั้น ด้วยอำนาจของอินทริย-
ปัจจัย
2. โสตินทรีย์ เป็นปัจจัยแก่โสตวิญญาณธาตุ และแก่ธรรม
ทั้งหลายที่ประกอบกับวิญญาณธาตุนั้น ด้วยอำนาจของอินทริย-
ปัจจัย
3. ฆานินทรีย์ เป็นปัจจัยแก่ฆานวิญญาณธาตุ และแก่ธรรม
ทั้งหลายที่ประกอบกับฆานวิญญาณธาตุนั้น ด้วยอำนาจของอินทริย-
ปัจจัย