เมนู

โนอวิคตมูลกนัย


[1076] เพราะโนอวิคตปัจจัย

ในอารัมมณปัจจัย มี 9 วาระ...
ฯลฯ... ในนัตถิปัจจัย มี 7 วาระ ในวิคตปัจจัย มี 7 วาระ.
พึงให้พิสดารเหมือน โนอัตถิมูลกนัย.
ปัญหาวารปัจจนียานุโลม จบ
กุสลติกะ ที่ 1 จบ

อรรถกถาปัจจนียานุโลมนัย


วาระเหล่าใด เช่นเดียวกับวาระที่ได้โดยอนุโลมแห่งปัจจัยที่ตั้งอยู่
โดยอนุโลม ในบรรดาวาระทั้งหลายที่ได้โดยเป็นปัจจนียะแห่งปัจจัยที่ตั้งอยู่
โดยเป็นปัจจนียะ ในบรรดาปัจจัยทั้งหลายที่มีการนับอันได้แล้วในอนุโลม
อย่างนี้คือ เหตุยา สตฺต อารมฺมเณ นว และในปัจจนียะอย่างนี้ คือ
นเหตุยา ปณฺณรส นารมฺมเณ ปณฺณรส ผู้ศึกษาพึงทราบวิธีนับด้วย
อำนาจแห่งวาระเหล่านั้น แม้ใน ปัจจนียานุโลม (นี้)
จริงอยู่ ใน นเหตุปัจจัย ใน ปัจจนียนัย ได้วาระ 15 ดังพระ-
บาลีว่า "นเหตุยา ปณฺณรส." ในอารัมมณปัจจัย ในอนุโลนนัยได้
วาระ 9 ดังพระบาลีว่า อารมฺมเณ นว. วาระ 9 เหล่าใด ในบรรดา
วาระ 5 ที่ท่านกล่าวไว้ในนเหตุปัจจัยเป็นเช่นเดียวกันกับวาระ 9 ที่
ท่านกล่าวไว้ในอารัมมณปัจจัย. ผู้ศึกษาพึงทราบปัจจัย. ผู้ศึกษาพึง
ทราบการนับด้วยอำนาจแห่งวาระเหล่านั้น. บรรดาวาระเหล่านั้น วาระ 9
เหล่าใด ท่านกล่าวไว้แล้วในอารัมมณปัจจัย วาระเหล่านั้นเหมือนกับ

วาระ 9 เหล่านี้ คือ กุศล เป็นปัจจัยแก่กุศล แก่อกุศล แก่อัพยากตะ,
อกุศล เป็นปัจจัยแก่อกุศล แก่กุศล แก่อัพยากตะ. อัพยากตะ เป็นปัจจัย
แก่อัพยากตะ แก่กุศล แก่อกุศล ในบรรดาวาระ. ที่ท่านกล่าวไว้
ในนเหตุปัจจัย.
คำว่า นเหตุยา อารมฺมเณ นว เพราะเหตุปัจจัยในอารัมมณ-
ปัจจัย มี 9 วาระ
ท่านกล่าวหมายถึงวาระ 9 เหล่านั้น แม้ในคำว่า
อธิปติยา ทส เป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน. จริงอยู่วาระเหล่าใด ๆ ที่ท่าน
กล่าวไว้ในอนุโลมคณนา (การนับวาระในอนุโลม) แห่งอารัมมณปัจจัย
เป็นต้น วาระเหล่านั้นทั้งหมด พึงทราบว่าย่อมใช้ได้แม้ในการเทียบเคียง
กับเหตุปัจจัย.
กุศลธรรมเป็นปัจจัยแก่กุศลธรรม โดยนเหตุปัจจัย โดยอารัมมณ-
ปัจจัย ผู้ศึกษาพึงทราบการขยายบาลีแห่งวาระเหล่านั้นโดยอุบายนี้คือ
บุคคลให้ทาน สมาทานศีล กระทำอุโบสถกรรม ย่อมพิจารณากุศลนั้น,
บุคคลย่อมพิจารณากุศลที่บำเพ็ญไว้ในกาลก่อน.
ในคำนี้ว่า นเหตุปจฺจย อธิปติยา ทส เพราะนเหตุปัจจัย
ในอธิปติปัจจัย มี 10 วาระ
ผู้ศึกษาพึงขยายวาระในอนุโลมวิภังค์ด้วย
อำนาจแห่งอธิบดีที่เหลือ เว้นวิมังสาธิบดี. ในอธิการนี้มีการกำหนด
วิธีนับ ดังนี้คือ 9-10-7-3-13-1 ผู้ศึกษาพึงลดการนับ (จำนวน)
แม้แห่งปัจจัยที่มีการนับได้มากกว่าปัจจัยที่มีการนับได้น้อยกว่า ด้วยอำนาจ
แห่งการกำหนดวิธีนับเหล่านั้น แล้วพึงทราบวิธีนับในการเทียบเคียง
ทั้งหมดในนัยที่มีมูล 3 เป็นต้น บรรดานัยทั้งหลายมีนเหตุมูลกนัยเป็นต้น
นี้เป็นลักษณะที่ทั่วไปก่อน. แต่ลักษณะนี้ยังไม่เป็นไปในการเทียบเคียง

ทั้งหมด ก็ในการเทียบเคียงปัจจัยเหล่าใด กับปัจจัยเหล่าใด วาระเหล่าใด
ขัดแย้งกัน พึงนำวาระเหล่านั้นออกเสีย แล้วพึงทราบวิธีนับในอธิการนี้
ด้วยอำนาจแห่งปัจจัยเหล่านั้นที่ยังเหลืออยู่.
ก็ในคำนี้ว่า นเหตุปจฺจยา นารมฺมณปจฺจยา อธิปติยา สตฺต
เพราะนเหตุปัจจัย นอารัมมณปัจจัย ในอธิปติปัจจัย มี 7 วาระ ย่อม
ห้ามวาระ 3 เหล่านี้ที่ได้อยู่ด้วยอำนาจอารัมมณาธิปติ คือ กุสโล อกุส-
ลสฺส อพฺยากโต กุสลสฺส อพฺยากโต อกุสลสฺส (=กุ-อกุ, อัพ-กุ,
อัพ-อกุ) เพราะเหตุไร ? เพราะท่านกล่าวว่า นารมฺมณปจฺจยา คือห้าม
อารัมมณปัจจัย. เพราะฉะนั้นในอธิการนี้ผู้ศึกษาพึงนำวาระเหล่านั้นออก
เสีย แล้วพึงทราบวาระ 7 โดยนัยแห่งสหชาตาธิปติ คือ กุสโล กุสลสฺส
อพฺยากตสฺส กุสลาพฺยากตสฺส อกุสโล อกุสลสฺส อพฺยากตสฺส
อกุสลาพฺยากตสฺส อพฺยากโต อพฺยากตสฺส
(=ก-กุ, กุ-อัพ, กุ-กุ. อัพ,
อกุ-อกุ, อกุ-อัพ. อกุ-อกุ. อัพ และ อัพ-อัพ-). วาระแม้เหล่านั้น
ย่อมมีด้วยอำนาจอธิบดีที่เหลือ เว้นวิมังสาธิปติ
เพราะพระบาลีว่า
นเหตุปจฺจยา ในที่ทุกแห่ง ผู้ศึกษาพึงทราบวิธีนับด้วยอำนาจปัจจัยที่มี
วิธีนับน้อยกว่า และด้วยอำนาจจำนวนที่ไม่ขัดกัน.
ก็ในบรรดาปัจจัยทั้งหลายที่ตั้งอยู่โดยเป็นปัจจนียะ ปัจจัยเหล่าใด
ไม่ตั้งอยู่โดยอนุโลม ผู้ศึกษาพึงทราบปัจจัยเหล่านั้นด้วยอย่างใด ? คือ
เมื่อ อนันตรปัจจัย ตั้งอยู่โดยเป็นปัจจนียะ สนนันตรปัจจัย อาเสวน-
ปัจจัย นัตถิปัจจัย และวิคตปัจจัย ย่อมไม่ตั้งอยู่โดยอนุโลม. เมื่อ
สหชาตปัจจัย ตั้งอยู่โดยเป็นปัจจนียะ เหตุปัจจัย อัญญมัญญปัจจัย
วิปากปัจจัย ฌานปัจจัย มัคคปัจจัย และสัมปยุตตปัจจัย ย่อมไม่ตั้งอยู่โดย

อนุโลม. เมื่อ นิสสยปัจจัย1 ตั้งอยู่โดยเป็นปัจจนียะ วัตถุปุเรชาตปัจจัย
ย่อมไม่ตั้งอยู่โดยอนุโลม. เมื่อ อาหารปัจจัย หรือ อินทริยปัจจัย ตั้งอยู่
โดยเป็นปัจจนียะ เหตุปัจจัย อัญญมัญญปัจจัย ฌานปัจจัย มัคคปัจจัย
และสัมปยุตตปัจจัย ย่อมไม่ตั้งอยู่โดยอนุโลม. แต่เมื่อ อารัมมณปัจจัย
ตั้งอยู่โดยเป็นปัจจนียะ อธิปติปัจจัย และอุปนิสสยปัจจัยย่อมไม่ตั้งอยู่
โดยอนุโลม อนึ่ง อารัมมณาธิปติปัจจัย และอารัมมณูปนิสสยปัจจัย
ย่อมมีไม่ได้. โดยอุบายนี้ ในที่ทุกสถานพึงทราบวิสัชนาที่มีได้และมีไม่ได้
ไว้แล้ว พึงขยายวาระทั้งหลายด้วยอำนาจแห่งวิสัชนาที่มีได้.
วาระทั้งหลายว่า อนนฺตเร สตฺต ในอนันตรปัจจัย มี 7 วาระ
ใน ติมูลกนัย เป็นต้น แม้ทั้งหมดได้ในทุมูลกนัยนั่นเอง ส่วนใน
สัตตมูลกนัยเป็นต้น คำว่า นสหชาตปจฺจยา นิสฺสเย ตีณิ
เพราะนสหชาตปัจจัย ในนิสสยปัจจัย มี 3 วาระ คือ วาระ 3 ใน
วัตถุนิสสยปัจจัย ด้วยอำนาจปุเรชาตะ. วิสัชนา 2 วาระในกัมม-
ปัจจัย ด้วยอำนาจนานากขณิกกัมมปัจจัย. วิสัชนา 1 วาระในอาหาร-
ปัจจัย ด้วยอำนาจกพฬีการาหาร. วิสัชนา 1 วาระ ในอินทริยปัจจัย
ด้วยอำนาจรูปชีวิตินทรีย์. ในวิปปยุตตปัจจัย ธรรมทั้งหลายมีกุศล
เป็นต้น อันมีอัพยากตะเป็นที่สุดถึงแล้วโดยลำดับด้วยคำว่า ตีณิ คือ 3
วาระ ด้วยอำนาจปัจฉาชาตปัจจัย. คำว่า อตฺถิ อวิคตเสุ ปญฺจ ใน
อัตถิและอวิคตปัจจัย มี 5 วาระ ความว่า วิสัชนา 3 วาระเหล่านั้นด้วย
และวิสัชนา 2 เหล่านี้คือ กุสลาพฺยากตา อพฺยากตสฺส, อกุสลาพฺยา-
1. ใจความในประโยคนี้ทั้งหมด ขัดต่อสภาวะและพระบาลีข้อ 1048 และข้อ 1051 แต่จำต้อง
แปลตามบาลีอรรถกถาซึ่งตรงกันทั้งของไทยและของพม่า.

กตา อพฺยากตสฺส (กุ. อัพ-อัพ และ อกุ. อัพ-อัพ) ย่อมมีด้วยอำนาจ
ปัจฉาชาตินทริยปัจจัย. ก็ตั้งแต่ปัจฉาชาตปัจจัยเป็นปัจจนียะ (ปจฺจนีก)
ไป คำว่า อตฺถิอวิคเตสุ เอกํ คือ อัพยากตะเป็นปัจจัยแก่อัพยากตะ ด้วย
อำนาจอาหารและอินทริยปัจจัย เมื่อถือเอานอาหารปัจจัยแล้ว ก็ไม่ควร
ถือเอา นอินทริยปัจจัย. อนึ่ง เมื่อถือเอานอินทริยปัจจัย ก็ไม่ควร
ถือเอา นอาหารปัจจัย ด้วยเหมือนกัน. เพราะเหตุไร ? เพราะเมื่อปัจจัย
ทั้ง 2 อัน อาจารย์ถือเอาโดยเป็นอันเดียวกันแล้ว วาระที่จะนับก็ไม่มี
แม้เมื่อฌานและมัคคปัจจัยเป็นต้นตั้งอยู่โดยเป็นปัจจนียะ ไม่ต้องทำอนุโลม
ให้เป็นข้อเดียว โดยอาหารปัจจัย หรืออินทริยปัจจัย (แก่ทำให้แยกกัน)
ดังที่ตรัสว่า อินฺทฺริเย เอกํ (ในอินทริยปัจจัย มี 1 วาระ) อตฺถิยา
เอกํ อวิคเต เอกํ อาหาเร เอกํ อตฺถิยา เอกํ อวิคเต เอกํ
ในที่สุด.
คำที่เหลือในอธิการนี้มีเนื้อความกระจ่างแล้วทั้งนั้น แล.
นเหตุมูลกนัย จบ

ใน นอารัมมณมูลกนัย เป็นต้น พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ ใน
อัญญมัญญมูลกนัย คำว่า นอญฺญปจฺจยา เหตุยา ตีณิ เพราะ
นอัญญมัญญปัจจัย ในเหตุปัจจัย
มี 3 วาระ คือกุศลเป็นต้น เป็น
ปัจจัยแก่รูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน. สองบทว่า อธิปติยา อฏฺฐ ในอธิปติ-
ปัจจัย มี 8 วาระ เพราะนสหชาตปัจจัย ในนิสสยปัจจัย มี 3 วาระ
ความว่า บรรดาวาระ 10 ที่ท่านกล่าวไว้ในอธิปติปัจจัย ได้วาระ 8 ที่

เหลือโดยชักออก 2 วาระ คือ 1กุศลเป็นปัจจัยแก่กุศลและอัพยากตะ
อกุศลเป็นปัจจัยแก่อกุศลและอัพยากตะ. สองบทว่า สหชาเต ปญฺเจ
ในสหชาตปัจจัย มี 5 วาระ คือวาระ 2 เหล่านี้ คือ กุศลและอัพยากตะ
เป็นปัจจัย แก่อัพยากตะ อกุศลกับอัพยากตะเป็นปัจจัยแก่อัพยากตะ กับ
วาระ 3 ที่ท่านกล่าวไว้ในเหตุปัจจัย.
สองบทว่า นิสฺสเย สตฺต ในนิสสยปัจจัย มี 7 วาระ วาระ 2
เหล่านี้ คือ อัพยากตะเป็นปัจจัยแก่กุศล อัพยากตะเป็นปัจจัยแก่อกุศล
ก็วาระ 5 เหล่านั้นย่อมมีด้วยอำนาจเป็นวัตถุ. สองบทว่า กมฺเม ตีณิ
ในกัมมปัจจัย มี 3 วาระ คือวาระ 3 ที่ท่านกล่าวไว้ในนเหตุปัจจัยนั่นเอง
แม้ในติกะที่เหลือก็นัยนี้เหมือนกัน ฯ สองบทว่า อธิปติยา ตีณิ ใน
อธิปติปัจจัย
มี 3 วาระ คือวาระที่กล่าวไว้ในหนหลัง.
ใน นอาหารมูลกนัย คำว่า อญฺญมญฺเญ ตีณิ ในอัญญมัญญ-
ปัจจัย
มี 3 วาระ ผู้ศึกษาพึงทราบวาระด้วย อำนาจเจตสิกที่เหลือ
เว้นอาหาร ก็แม้ในอธิการนี้ ในนอาหารปัจจัย และนอินทริยปัจจัย ท่าน
ถือเอาคราวละ 1 ปัจจัย ไม่ถือเอา 2 ปัจจัยรวมกัน เหมือนในหนหลัง
(คือแยกแสดงไม่แสดงรวมกัน). คำว่า นสมฺปยตฺตปจฺจยา เหตุยา
ตีณิ
เพราะนสัมปยุตตปัจจัยในเหตุปัจจัย มี 3 วาระ มีวาระที่ท่าน
กล่าวไว้ใน นอัญญมัญญปัจจัย ในหนหลัง อธิปติยา อฏฺฐ ใน
อธิปติปัจจัย มี 8 วาระ คือวิสัชนาที่กล่าวไว้ในหนแล้วในหนหลังเหมือนกัน.
1. บาลีอรรถกถาของไทยหน้า 150 บรรทัดที่ 11 เป็น กุสโล กุสลสฺส อกุสโล อกุสลสฺส
(คือ กุ-กุ, อกุ-อกุ) ซึ่งผิดสภาวะ ในที่นี้จึงแปลตามบาลีพม่าทีว่า กุสโล กุสลาพฺยากสฺส อกุสโล
อกุสกาพฺยากสฺส.

พึงทราบวินิจฉัยใน นวิปปยุตตปัจจัยเป็นมูล. สองบทว่า กมฺเม
ปญฺจ
ในกัมมปัจจัย มี 5 วาระ คือมีวาระ 5 อย่างนี้คือ เจตนามีกุศล
เป็นต้นเป็นปัจจัยแก่กุศลเป็นต้น ที่เกิดร่วมกัน กุศลและอกุศลเจตนา
ที่เกิดต่างขณะกันเป็นปัจจัยแก่วิบาก และแก่รูปที่มีกรรมเป็นสมุฏฐาน.
ในอาหารปัจจัย และ อินทริยปัจจัย มีวาระ 3 เหมือนกับสหชาตปัจจัย.
ในฌานปัจจัยและมัคคปัจจัยเป็นต้น มีวาระ 3 เหมือนกับเหตุปัจจัย.
ใน โนอัตถิมูลกนัย มีอธิบายว่า เพราะ เหตุ ชื่อว่า โนอตฺถิ
ไม่มี มีแต่ อัตถิ แน่นอน. เพราะฉะนั้น ท่านจึงไม่ถือเอา เหตุปัจจัย
นั้น แล้วกล่าวว่า นอารมฺมเณ นว ในนอารัมมณปัจจัย มี 9 วาระ
(เหตุปัจจัยแสดงไม่ได้). ปัจจัยทั้งหลาย ที่เข้าลักษณะอัตถิปัจจัยแม้อื่น
ย่อมไม่ทั้งอยู่โดยอนุโลมในอธิการนี้.
ก็คำนี้ว่า กมฺเม เทฺว ในกัมมปัจจัย มี 2 วาระ ท่านกล่าวด้วย
อำนาจนานากขณิกกัมมปัจจัย ปัจจัยทั้งหมดย่อมได้โดยปัจจนียะ. ก็วาระ
ทั้งหลาย ต่อจากนั้นอันท่านไม่ถือเอาปัจจัยใด แม้ที่ได้อยู่โดยอนุโลม
ถือเอาโดยเป็นปัจจนียะ ปัจจัยนั้นย่อมได้การประกอบในภายหลัง เพราะ
เหตุนั้นเอง ในอธิการนี้ท่านจึงกล่าวไว้ว่า โน อตฺถิปจฺจยา นเหตุปจฺจยา
ฯ เป ฯ โนอวิคตปจฺจยา กมฺเม เทฺว ฯ เป ฯ
ถามว่า ก็เพราะเหตุไร
ท่านจึงไม่ถือเอาปัจจัยนั้นในฐานะของตนเองเลย แก้ว่า เพราะเมื่อปัจจัย
ทั้งหมดที่เหลือ ตั้งอยู่โดยเป็นปัจจนียะ ปัจจัยหนึ่งเท่านั้นย่อมได้โดย
อนุโลม
จริงอยู่ นี้เป็นลักษณะในปัจจนียานุโลมนี้ คือเมื่อปัจจัยทั้งหมด
ตั้งอยู่โดยเป็นปัจจนียะ ปัจจัยใดปัจจัยเดียวเท่านั้นย่อมได้โดยอนุโลม

ปัจจัยนั้น ท่านจะกล่าวในภายหลัง. แม้ในคำว่า โนอตฺถิปจฺจยา นเหตุ-
ปจฺจยา ฯ เป ฯ โนอวิคตปจฺจยา อุปฺปนิสฺสเย นว
ก็ในนัยนี้เหมือนกัน
ก็คำนี้ท่านกล่าวไว้ด้วยอำนาจแห่ง ปกตูปนิสสยปัจจัย ในที่ทุกแห่งวาระ
ที่มีได้และไม่ได้ ที่ท่านกล่าวไว้ก่อนและภายหลัง พึงทราบโดยนัยนี้แล.
ปัจจนียานุโลมแห่งปัญหาวาระ จบ
วรรณนากุสลติกปัฏฐาน จบ