เมนู

นัตถิ, วิคต, อวิคตมูลกนัย


[1007] เพราะนัตถิปัจจัย

ในนเหตุปัจจัย มี 7 วาระ ฯลฯ
เพราะวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี 9 วาระ.
ทั้งนัตถิปัจจัย ทั้งวิคตปัจจัย แสดงเหมือนกับอนันตรปัจจัย.
เพราะอวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย แสดงเหมือนกับอนันตรปัจจัย.
อัตถิปัจจัย ท่านให้พิสดารแล้ว ฉันใด อวิคตปัจจัย พึงแสดง
ให้พิสดาร ฉันนั้น.
ปัญหาวาระในปัจจยานุโลมปัจจนียนัย จบ

อรรถกถาอนุโลมปัจจนียนัย


พึงทราบวินิจฉัยใน อนุโลมปัจจนียนัย ต่อไป ปัจจัยใด ๆ ใน
บรรดาปัจจัยที่มีการนับแล้ว ในอนุโลมอย่างนี้คือ เหตุยา สตฺต, อารมฺมเณ
นว
ในเหตุปัจจัยมี 7 วาระ ในอารัมมณปัจจัย มี 7 วาระ และใน
ปัจจนียะ อย่างนี้คือ นเหตุยา ปณฺณรส, นอารมฺมเณ ปณฺณรส ใน
ในเหตุปัจจัยมี 15 วาระ, ในนอารัมมณปัจจัยมี 15 วาระ ทั้งอยู่แล้วโดย
อนุโลม ผู้ศึกษาพึงทราบการนับด้วยอำนาจแห่งวาระที่เหมือนกัน ใน
บรรดาวาระที่ได้แล้วในปัจจนียนัย แห่งปัจจัยนั้น ๆ อันตั้งอยู่แล้วโดย
ความเป็นปัจจนียะ กับวาระอันได้แล้วในอนุโลมนัยแห่งปัจจัยนั้น ๆ
จริงอยู่ ใน อนุโลมนัย วาระ 7 ได้แล้วในคำว่า เหตุยา สตฺต
ในเหตุปัจจัยมี 7 วาระ ใน ปัจจนียะ วาระ 15 ในอารัมมณปัจจัยได้

แล้วในคำว่า นอารมฺมเณ ปณฺณรส ในนอารัมมณปัจจัย มี 15 วาระ
บรรดาวาระ 15 ที่ท่านกล่าวไว้ในนอารัมมณปัจจัย วาระ 7 เหล่านี้คือ
กุสโล กุสลสฺส อพฺยากตสฺส กุสลาพยากตสฺส, อกุสโล อกุสลสฺส
อพฺยากตสฺส อกุสลาพยากตสฺส อพฺยากโต อพฺยากตสฺส
(7 วาระคือ
กุ-ก, กุ-อัพ, กุ-กุ.อัพ, อกุ- อกุ, อกุ-อัพ, อกุ- อกุ.อัพ และ
อัพ-อัพ) เหมือนกันกับวาระ 7 ที่ท่านกล่าวไว้ในเหตุปัจจัย. คำว่า
เหตุปจฺจยา นอารมฺมเณ สตฺต เพราะเหตุปัจจัย ในนอารัมมณปัจจัย มี
7 วาระ ท่านกล่าวหมายเอาวาระ 7 เหล่านั้น. แม้ในคำว่า นอธิปติยา
สตฺต
ในนอธิปติปัจจัย มี 7 วาระ เป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน. ส่วน
ในนสหชาตปัจจัย ย่อมไม่ได้วาระ แม้สักอย่างหนึ่ง เพราะเหตุปัจจัยที่
ไม่เกิดพร้อมกันไม่มี เพราะฉะนั้น ท่านจึงไม่แต่งโยชนาด้วยนสหชาต-
ปัจจัยนั้น.
วาระ 3 มีกุศลเป็นต้น ย่อมได้รูปาพยากตะในนอัญญมัญญปัจจัย.
คำว่า ตีณิ ท่านกล่าวหมายเอาวาระ 3 เหล่านั้น ในนสัมปยุตตปัจจัยก็
เหมือนกัน ส่วนในนวิปปยุตตปัจจัย ผู้ศึกษาพึงทราบวาระ 3 ด้วยอำนาจ
แห่งอรูปธรรม คือกุศลเป็นปัจจัยแก่กุศล อกุศลเป็นปัจจัยแก่อกุศล
อัพยากตะเป็นปัจจัยแก่อัพยากตะ.
นนิสสยะ โนอัตถิ โนอวิคตปัจจัย ย่อมมีไม่ได้ เหมือนสหชาต-
ปัจจัย เพราะเหตุนั้นท่านจึงไม่แต่งโยชนาเชื่อมกับปัจจัยเหล่านั้น. ใน
ข้อนี้มีการกำหนด 2 อย่าง คือ สตฺต = 7 ตีณิ = 3 ด้วยประการ-
ฉะนี้. ผู้ศึกษาพึงลดจำนวนแห่งปัจจัยที่นับได้มากกว่ากับปัจจัยที่นับได้

น้อยกว่า ด้วยอำนาจแห่งข้อกำหนดเหล่านั้น แล้วพึงทราบการนับใน
ปัจจัยฆฏนา ทั้งหลายต่อไป.
พึงทราบวินิจฉัยในฆฏนานั้นต่อไป คำว่า เหตุ สหชาต นิสฺสย
อตฺถิ อวิคตนฺติ นอารมฺมเณ สตฺต
ความว่า ผู้ศึกษาพึงทราบว่า ใน
นอารัมมณปัจจัย มี 7 วาระ โดยนัยนี้ว่า กุศลธรรมเป็นปัจจัยแก่กุศล-
ธรรม เพราะปัจจัย 5 คือ เหตุ สหชาตะ นิสสยะ อัตถิ อวิคตปัจจัย.
กุศลเหตุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่สัมปยุตด้วย เหตุ สหชาตะ นิสสยะ อัตถิ
อวิคตะ
และ นอารัมมณปัจจัย. แม้ในคำว่า นาธิปติยา สตฺต เป็นต้น
ก็นัยนี้เหมือนกัน.
ใน ฆฏนาที่ 2 ท่านกล่าวว่า ตีณิ = 3 ในปัจจัยที่เหลือ เว้น
นสัมปยุตตปัจจัย เพราะผนวกอัญญมัญญปัจจัยเข้าไปด้วย. ส่วนใน
นสัมปยุตตปัจจัย ท่านกล่าวว่า เอกํ = 1 หมายถึงนามและรูปใน
ปฏิสนธิกาล ซึ่งวิปปยุตกันและกัน ฯ ก็ในอธิการนี้ย่อมไม่ได้อัญญมัญญ-
ปัจจัย โดยเป็นปัจจนียะ เพราะผนวกเข้าในอนุโลมฆฏนา เพราะฉะนั้น
ท่านจึงไม่กล่าวว่า นอญฺญมญฺเญ. ปัจจัยที่เข้าได้แม้ในฆฏนาที่เหลือ
ก็ย่อมไม่ได้โดยเป็นปัจจนียะเหมือนในอธิการนี้.
ใน ฆฏนาที่ 3 มีวิสัชนา 3 วาระเท่านั้น เพราะสัมปยุตตปัจจัยถูก
ผนวกเข้าไปด้วย.
ใน ฆฏนาที่ 4 มีวิสัชนา 3 วาระ คือกุศลเป็นต้น เป็นปัจจัย
แก่รูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน เพราะผนวกวิปปยุตตปัจจัยเข้าไปด้วย.
ใน ฆฏนาที่ 5 เพราะมีวิบากเข้าไปด้วยในที่ทุกแห่ง จึงมีวิสัชนา
1 วาระ คืออัพยากตะ กับอัพยากตะ. ในวิปากะและสัมปยุตตปัจจัย
นอกจากนี้ก็นัยนี้เหมือนกัน.

คำว่า เหตุสหชาตนิสฺสยอินฺทรยมคฺคอตฺถิอวิคตนฺติ นอารมฺมเณ
จตฺตาริ
เพราะปัจจัย 7 คือ เหตุ สหชาตะ นิสสยะ อินทริยะ มัคคะ
อัตถิ อวิตะ ในนอารัมมณปัจจัย มี 4 วาระ ความว่า ผู้ศึกษาพึง
ทราบวิสัชนา 4 วาระ ในนอารัมมณปัจจัย ด้วยอำนาจแห่งปัจจัย 7
เหล่านั้น คือกุศลเป็นปัจจัยแก่กุศล กุศลเป็นปัจจัยแก่อัพยากตะ กุศล
เป็นปัจจัยแก่กุสลาพยากตะ อัพยากตะเป็นปัจจัยแก่อัพยากตะ แม้ใน
ฆฏนาที่เหลือก็นัยนี้เหมือนกัน ฯ สองบทว่า นอญฺญมญฺเญ เทฺว ใน
นอัญมัญปัจจัย มี 2 วาระ คือกุศลเป็นปัจจัยแก่อัพยากตะ อัพยากตะ
เป็นปัจจัยแก่อัพยากตะ. แม้ในวิสัชนา 2 ข้างหน้าก็นัยนี้เหมือนกัน.
ผู้ศึกษาพึงทราบวิธีนับด้วยอำนาจแห่งปัจจัยที่ได้ในฆฏนาทั้งหมด โดย
อุบายนี้.
ก็ฆฏนาเหล่านั้นทั้งหมดท่านกล่าวว่ามี 415 ฆฏนา ด้วยอำนาจ
สหชาตฆฏนา และด้วยอำนาจ ปกิณณกฆฏนา ในอนุโลมปัจจนียนัยนี้
ในบรรดาฆฏนาทั้งหลายเหล่านั้น ปัจจัยแม้อย่างหนึ่งในบรรดาปัจจัย
ทั้งหลายที่ตั้งอยู่โดยเป็นอนุโลมในฆฏนานั้น ๆ ย่อมไม่ได้โดยเป็นปัจจ-
นียะ, ก็ในเหตุมูลกนัยนี้ ปัจจัย 19 มาแล้วโดยเป็นปัจจนียะ เพราะ
ปัจจัย 5 ตั้งอยู่แล้วโดยเป็นอนุโลมในฆฏนาที่ 1 ปัจจัยที่เหลือเฉพาะที่
เป็นอนุโลมมาแล้วโดยเป็นปัจจนียะ. แม้ในปัจจัยที่เหลือก็เมื่อว่าโดย
อนุโลมในอธิการนี้ บรรดาปัจจัยเป็นอันมากปัจจัยอย่างหนึ่ง ๆ เท่านั้น
ที่มาแล้วโดยเป็นปัจจนียะ ผู้ศึกษาพึงทราบวิธีนี้ทั้งหมดตามสมควร แม้
ในนัยที่มีอารัมมณปัจจัยเป็นมูลเป็นต้น เหมือนนัยที่มีเหตุปัจจัยเป็นมูล
ฉะนั้น.
อนุโลมปัจจนียะนัย จบ

การนับจำนวนวาระในอนุโลมปัจจนียะแห่งปัญหาวาระ


นเหตุมูลกนัย


นเหตุสภาคะ


[1008] เพราะนเหตุปัจจัย

ในอารัมมณปัจจัย มี 9 วาระ... ใน
อธิปติปัจจัย มี 1 วาระ ในอนันตรปัจจัย มี 7 วาระ ในสมนันตร-
ปัจจัย มี 7 วาระ ในสหชาตปัจจัย มี 9 วาระ ในอัญญมัญญปัจจัย
มี 3 วาระ ในนิสสยปัจจัย มี 13 วาระ ในอุปนิสสยปัจจัย มี 9 วาระ
ในปุเรชาตปัจจัย มี 3 วาระ ในปัจฉาชาตปัจจัย มี 3 วาระ ใน
อาเสวนปัจจัย มี 3 วาระ ในกัมมปัจจัย มี 7 วาระ ในวิปากปัจจัย
มี 1 วาระ ในอาหารปัจจัย มี 7 วาระ ในอินทริยปัจจัย มี 7 วาระ
ในฌานปัจจัย มี 7 วาระ ในมัคคปัจจัย มี 7 วาระ ในสัมปยุตตปัจจัย
มี 3 วาระ ในวิปปยุตตปัจจัย มี 5 วาระ โนอัตถิปัจจัย มี 13 วาระ
ในนัตถิปัจจัย มี 7 วาระ ในวิคตปัจจัย มี 7 วาระ ในอวิคตปัจจัย
มี 13 วาระ.
[1009] เพราะนเหตุปัจจัย นอารัมมณปัจจัย ในอธิปติปัจจัย
มี 7 วาระ... ในอนันตรปัจจัย มี 7 วาระ ในสมนันตรปัจจัย มี 7
วาระ ในสหชาตปัจจัย มี 9 วาระ ในอัญญมัญญปัจจัย มี 3 วาระ
ในนิสสยปัจจัย มี 13 วาระ ในอุปนิสสยปัจจัย มี 9 วาระ ในปุเรชาต-
ปัจจัย มี 3 วาระ ในปัจฉาชาตปัจจัย มี 3 วาระ ในอาเสวนปัจจัย
มี 3 วาระ ในกัมมปัจจัย มี 7 วาระ ในวิปากปัจจัย มี 1 วาระ ใน
อาหารปัจจัย มี 7 วาระ ในอินทริยปัจจัย มี 7 วาระ ในฌาน-