เมนู

ปัฏฐาน คือติกะทั้งหลายที่ได้ความพิสดาร เพราะจำแนกออกไปโดย
ประเภทแห่งเหตุปัจจัยเป็นต้น ชื่อว่า ติกปัฏฐาน อธิบายว่า ภูมิเป็นที่
ดำเนินไปโดยความเกี่ยวข้องกันแห่งพระสัพพัญญูญาณ. แม้ในทุกปัฏฐาน
เป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน. ผู้ศึกษาครั้นทราบปัฏฐาน 6 ในอนุโลมอย่างนี้
แล้ว พึงทราบแม้ในปัจจนียะเป็นต้น โดยอุบายนี้. ก็เพราะปัฏฐานเหล่านี้
โดยครบถ้วน คือในอนุโลม ในปัจจนียะ. ในอนุโลมปัจจนียะ ใน
ปัจจนียานุโลม มีนัยละ 6 จึงรวมเป็น 24 ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า
จึงตรัสเรียกว่า สมันตปัฏฐาน 24.
ปกรณ์เป็นที่รวมแห่งสมันตปัฏฐาน 24 นั่น ชื่อว่า ปัฏฐาน-
มหาปกรณ์
ด้วยอำนาจเป็นที่ประชุมแห่งสมันตปัฏฐาน กล่าวคือ
ติกติกปัฏฐาน 24 เหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้.

ก็ปัฏฐานนี้นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกว่า ติกปัฏฐาน ฯลฯ
ติกติกปัฏฐาน ทุกทุกปัฏฐาน เพราะพระองค์ทรงแสดงโดยอาศัยติกะ
เป็นต้นเหล่าใด เพื่อจะแสดงปัจจัยที่เป็นเหตุให้พระองค์ทรงจำแนกติกะ
เป็นต้นเหล่านั้น โดยไม่เกี่ยวข้องกับติกะเป็นต้นเหล่านั้น จึงตรัสวาระ
ชื่อว่ามาติกานิกเขปวาระแห่งปัฏฐานนั้นก่อนตั้งแต่ต้น.

อรรถกถาปัจจัยวิภังควาระ


คำว่า ปัจจัยวิภังควาระ เป็นชื่อแห่งมาติกานิกเขปวาระนั่นเอง.
ปัจจัยวิภังควาระนั้นมี 2 คือ โดยอุทเทสและนิทเทส. วาระนี้คือ
เหตุปจฺจโย ฯเปฯ อวิคตปจฺจโย เป็นอุทเทสแห่งปัจจัยวิภังควาระนั้น.

1. เหตุปัจจัย


พึงทราบวินิจฉัยในปัจจัยเหล่านั้นต่อไป
เหตุนั้นด้วย เป็นปัจจัยด้วย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เหตุปัจจัย.
อธิบายว่า เป็นปัจจัยเพราะเป็นเหตุ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เป็น
ปัจจัยเพราะความเป็นเหตุดังนี้. ในอารัมมณปัจจัยเป็นต้น ก็นัยนี้เหมือน
กัน. บรรดาปัจจัยเหล่านั้น คำว่า เหตุ นี้ เป็นชื่อแห่งการณะและมูลราก
อันเป็นส่วนประกอบแห่งถ้อยคำ. จริงอยู่ ส่วนประกอบแห่งคำชาวโลก
เรียกกันว่า เหตุ ในคำทั้งหลายมีอาทิว่า ปฏิญญา เป็นเหตุ. ส่วนใน
ศาสนาคำสอน การณะ เรียกว่า เหตุ ในคำทั้งหลายว่า ธรรมทั้งหลาย
มีเหตุเป็นแดนเกิดเป็นต้น. มูลราก เรียกว่า เหตุ ในคำเป็นต้นว่า
กุศลเหตุ มีสาม อกุศลเหตุ มีสาม ในเหตุปัจจัยนี้ประสงค์เอาเหตุที่เป็น
มูลรากนั้น.
ก็ในคำว่า ปจฺจโย นี้ มีอรรถแห่งคำดังนี้ ผลย่อมอาศัยเป็นไป
แต่ธรรมนี้ เพราะฉะนั้น ธรรมนี้ชื่อว่า ปัจจัย อธิบายว่า เป็นไปโดยไม่
ปฏิเสธธรรมนั้น. จริงอยู่ ธรรมใดดำรงอยู่หรือเกิดขึ้น เพราะไม่ปฏิเสธ
ซึ่งธรรมใด ธรรมนั้นท่านกล่าวว่าเป็นปัจจัยแก่ธรรมนั้น. แต่โดย
ลักษณะ ธรรมที่ช่วยอุปการะชื่อว่าปัจจัย.
จริงอยู่ ธรรมใดช่วย
อุปการะแก่การตั้งอยู่ หรือการเกิดขึ้นแห่งธรรมใด ธรรมนั้นท่านเรียกว่า
เป็นปัจจัยแก่ธรรมนั้น. คำมีอาทิว่า ปัจจัย เหตุ การณะ นิทาน สัมภวะ
ปภวะ
ว่าโดยใจความแล้ว เป็นอันเดียวกัน ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น.
ว่าโดยสังเขป ที่ชื่อว่าเหตุเพราะอรรถว่า เป็นมูลราก ชื่อว่าปัจจัย