เมนู

วรรณนานิทเทสแห่งอาเสวนปัจจัย


ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัยใน อาเสวนปัจจัยนิทเทส ต่อไป.
ในนัยทั้งหมดว่า ปุริมา ปุริมา ผู้ศึกษาพึงทราบว่า ได้แก่ ธรรม
ที่ดับไปโดยลำดับด้วยดี.
ถามว่า ก็เพราะเหตุไรในอธิการนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงไม่ทรง
ทำนิทเทสพร้อมกัน ธรรมที่มีชาติแตกต่างกัน โดยนัยเป็นต้น ว่ากุศลธรรม
ที่เกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรมที่เกิดหลัง ๆ เหมือนในอนันตร-
ปัจจัยเล่า.
ตอบว่า เพราะธรรมทั้งหลายไม่สามารถให้ธรรมเหล่าอื่น ถือเอา
คติของตนได้. จริงอยู่ ธรรมที่มีชาติแตกต่างกัน โดยนัยเป็นต้นว่า กุศลธรรม
แตกต่างกัน สำเร็จความเป็นธรรมคล่องแคล่ว และมีกำลังด้วยคุณ คือ
อาเสวนะ ย่อมไม่อาจให้ธรรมเหล่านั้นถือเอาคติของตน กล่าวคือ ความ
เป็นกุศลเป็นต้นได้. เพราะฉะนั้น ผู้ศึกษาพึงทราบว่า พระผู้มีพระภาค-
เจ้าไม่ทรงทำนิทเทสพร้อมกับธรรมที่มีชาติต่างกันเหล่านั้น ทรงทำนิทเทส
ร่วมกับธรรมที่มีชาติเหมือนกัน กับธรรมที่สามารถให้ธรรมอื่นถือเอาคติ
ของตน กล่าวคือ ความเป็นกุศลเป็นต้น ที่พิเศษออกไปโดยภาวะที่มี
กำลังมากกว่า คล่องแคล่วกว่า เพราะอาเสวนะ กล่าวคือการสั่งสม
เอาไว้.
ถามว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น เพราะเหตุไรจึงไม่ทรงถือเอาวิปากา-
พยากตะด้วยเล่า.
ตอบว่า เพราะไม่มีอาเสวนะ.

จริงอยู่ วิบากคือภาวะที่สุกงอม ด้วยอำนาจแห่งกรรม เป็น
สภาพที่ถูกกรรมทำให้แปรปรวนไป ย่อมเป็นไปอย่างไร้ความพยายาม
(ในการให้ผล) และขาดกำลัง วิบากนั้น จึงไม่สามารถให้วิบากอื่น
ถือเอา คือรับเอาสภาพของตน แล้วเกิดขึ้นด้วยคุณ คืออาเสวนะได้
ทั้งวิบากถูกกำลังกรรมซัดไป ย่อมเกิดขึ้นประหนึ่งว่าตกไป เพราะเหตุ
นั้นในวิบากทั้งหมดจึงไม่มีอาเสวนะ เพราะข้อที่วิบากไม่มีอาเสวนะ
ดังกล่าวมาแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงไม่ทรงถือเอา
(ในอธิการแห่ง
อาเสวนปัจจัยนี้).
ก็วิบากนี้ แม้จะเกิดในลำดับแห่งกุศล อกุศล และกิริยา ก็ย่อม
ไม่ได้รับคุณ คืออาเสวนะ เพราะมีความเป็นไปเนื่องด้วยกรรม เพราะ-
ฉะนั้น ธรรมมีกุศลเป็นต้น จึงไม่เป็นอาเสวนปัจจัย แก่วิบากนั้น. อีกอย่าง
หนึ่ง ที่กุศลเป็นต้นเหล่านี้ ไม่เป็นอาเสวนปัจจัยแก่วิบาก เพราะมีชาติ
ต่างกันก็ได้. ก็เมื่อว่าโดยภูมิ หรืออารมณ์แล้ว ธรรมทั้งหลายชื่อว่ามี
ชาติต่างกันย่อมไม่มี. เพราะฉะนั้น กามาวจรกุศลและกิริยา จึงเป็น
อาเสวนปัจจัยแก่มหัคคตกุศล และมหัคคตกิริยา และอนุโลมกุศล ซึ่งมี
สังขารเป็นอารมณ์ และแก่โคตรภูกุศลที่มีนิพพานเป็นอารมณ์ได้ พรรณนา
บาลีในนิทเทสแห่งอาเสวนปัจจัยเท่านี้ก่อน.
ก็อาเสวนปัจจัยนี้ โดยชาติมี 3 เท่านั้น คือ กุศล อกุศล กิริยา-
พยากตะ. ใน 3 อย่างนั้น กุศลว่าโดยภูมิมี 3 ภูมิ คือกามาวจร
รูปาวจร อรูปาวจร. อกุศลเป็นกามาวจรเท่านั้น. กิริยาพยากตะมี 3 ภูมิ
คือกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร. ชื่อว่า อาเสวนปัจจัยที่เป็นโลกุตตระ

ย่อมไม่มี. ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัยโดยการจำแนกโดยประการต่าง ๆ ใน
อาเสวนปัจจัยนี้ดังกล่าวมาแล้ว.
ก็ในอาเสวนปัจจัย ที่จำแนกได้ดังกล่าวมานี้ กามาวจรกุศลเป็น
อาเสวนปัจจัยแก่กามาวจรกุศลที่เกิดในลำดับแห่งตน. ในอาเสวนปัจจัย
กามาวจรกุศลที่เป็นญาณสัมปยุต เป็นอาเสวนปัจจัยแก่หมวดธรรม
เหล่านี้ คือรูปาวจรกุศีล อรูปาวจรกุศล โลกุตตรกุศล ซึ่งมีเวทนาเหมือน
กันกับตน. ส่วนรูปาวจรกุศลเป็นอาเสวนปัจจัยเฉพาะแก่รูปาวจรกุศล
เท่านั้น. อรูปาวจรกุศลเป็นอาเสวนปัจจัยแก่อรูปาวจรกุศลเท่านั้น.
อกุศลเป็นอาเสวนปัจจัยแก่อกุศลเท่านั้นเหมือนกัน.
ฝ่ายกิริยาธรรม กล่าวคือกามาวจรกิริยา เป็นอาเสวนปัจจัยแก่
กามาวจรกิริยาก่อน. ธรรมกล่าวคือกามาวจรกิริยาใด เป็นญาณสัมปยุต
ธรรมนั้นเป็นอาเสวนปัจจัยแก่หมวดธรรมเหล่านี้คือ รูปาวจรกิริยา อรูปา-
วจรกิริยาที่มีเวทนาเหมือนกับตน. รูปาวจรกิริยาเป็นอาเสวนปัจจัยแก่
รูปาวจรกิริยาเท่านั้น. อรูปาวจรกิริยาเป็นอาเสวนปัจจัยแก่อรูปาวจร-
กิริยาเท่านั้น. ส่วนวิบากจะเป็นอาเสวนปัจจัยแก่ธรรมอย่างหนึ่ง หรือ
ธรรมอะไรจะเป็นอาเสวนปัจจัยแก่วิบากย่อมไม่มี ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัย
แม้โดยธรรมที่เป็นปัจจยุบบันในอาเสวนปัจจัยนี้ ดังกล่าวมาฉะนี้.
วรรณนานิทเทสแห่งอาสเสวนปัจจัย จบ

[14]

กัมมปัจจัย

ธรรมที่ช่วยอุปการโดยความปรุงแต่งเพื่อ
ให้กิจต่าง ๆ สำเร็จลง กล่าวคือ
1. กุศลธรรมและอกุศลกรรม ก็เป็นปัจจัยแก่วิบากขันธ์ทั้งหลาย
และกฏัตตารูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย
2. สภาวธรรมคือเจตนาทั้งหลาย เป็นปัจจัยแก่ธรรมทั้งหลาย
ที่ประกอบกับเจตนา และแก่รูปทั้งหลายที่มีเจตนา และธรรมทั้งหลาย
ที่ประกอบกับเจตนานั้นเป็นสมุฏฐาน ด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย.


วรรณนานิทเทสแห่งกัมมปัจจัย


พึงทราบวินิจฉัยใน กัมมปัจจัยนิทเทส ต่อไป.
บทว่า กมฺมํ ได้แก่ เจตนาธรรม. สองบทว่า กฏตฺตา จ รูปานํ
แปลว่า รูปที่เกิดขึ้นเพราะถูกกรรมทำ (กรรมสร้าง). บทว่า กมฺมปจฺจเยน
ความว่า ด้วยอำนาจของนานากขณิกกัมมปัจจัย ที่สามารถให้ผลของตน
เกิดขึ้นได้ในที่สุดแห่งโกฏิกัป มิใช่น้อย.
จริงอยู่ กุศลกรรมและอกุศลกรรม ย่อมไม่ให้ผลในขณะที่ตน
เป็นไป ถ้าจะพึงให้ผล (ในขณะนั้น) ไซร้ คนทำกุศลกรรมที่เป็น
เหตุให้เข้าถึงเทวโลกอันใดไว้ ก็จะพึงกลายเป็นเทวดาในขณะนั้น
ทีเดียว ด้วยอานุภาพแห่งกรรมนั้น.

ก็กรรมนั้นที่บุคคลทำไว้ในขณะใด แม้จะไม่มีอยู่ในขณะอื่น
จากนั้น ย่อมยังผลให้เกิดขึ้นในกาลที่บุคคลพึงเข้าถึงปัจจุบัน หรือต่อ
จากนั้น ในเมื่อมีการประกอบพร้อมแห่งปัจจัยที่เหลือ เพราะเป็น
สภาพที่กรรมทำไว้เสร็จแล้ว เปรียบเหมือนการหัดทำศิลปะครั้งแรก