เมนู

3. กุศลธรรมทั้งหลายที่เกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่อัพยากต-
ธรรมทั้งหลายที่เกิดหลัง ๆ ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย
4. อกุศลธรรมทั้งหลายที่เกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรม
ทั้งหลายที่เกิดหลัง ๆ ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย
5. อกุศลธรรมทั้งหลายที่เกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรม
ทั้งหลายที่เกิดหลัง ๆ ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัยบางอย่าง
6. อกุศลธรรมทั้งหลายที่เกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่อัพยากต-
ธรรมทั้งหลายที่เกิดหลัง ๆ ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย
7. อัพยากตธรรมทั้งหลายที่เกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่อัพยา-
กตธรรมทั้งหลายที่เกิดหลัง ๆ ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย
8. อัพยากตธรรมทั้งหลายที่เกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่กุศล-
ธรรมทั้งหลายที่เกิดหลัง ๆ ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย
9. อัพยากตธรรมทั้งหลายที่เกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่อกุศล
ธรรมทั้งหลายที่เกิดหลัง ๆ ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย
10. แม้อุตุและโภชนะ ก็เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของอุปนิสสย-
ปัจจัย
11. แม้ บุคคล ก็เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย
12. แม้ เสนาสนะ ก็เป็นปัจจัยด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.

วรรณนานิทเทสแห่งอุปนิสสยปัจจัย


ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัยใน อุปนิสสยปัจจัยนิทเทส ต่อไป.
คำว่า ปุริมา ปุรมา เกิดก่อน ๆ ความว่า ย่อมได้ธรรมที่ดับไป

โดยลำดับด้วยดี ในอนันตรูปนิสสยปัจจัย. ธรรมที่เกิดก่อนกว่า ย่อมได้
ด้วยอำนาจแห่งวิถีต่างกัน ในอารัมมณูปนิสสยปัจจัย และปกตูปนิสสย-
ปัจจัย. หมวดสามเหล่านั้น (คืออุปนิสสยะทั้งหลาย) ย่อมได้ในกุศลบท
กับกุศลบท. ส่วน ธรรมที่ดับไปในลำดับด้วยดี ย่อมไม่ได้ในอกุศลบท
กับกุศลบท. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า กุศลเป็นปัจจัย
แก่อกุศลธรรม ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัยบางอย่าง. จริงอยู่ คำนี้
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายถึงนัยนี้ว่า กุศลธรรมเป็นปัจจัยแก่อกุศล
ธรรม ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย. คืออารัมมณูปนิสสยปัจจัย และ
ปกตูปนิสสยปัจจัย.
ที่เป็น อารัมมณูปนิสสยปัจจัย ได้แก่ บุคคลให้ทาน สมาทานศีล
รักษาอุโบสถ ย่อมยินดี เพลิดเพลินอย่างแรงกล้า ครั้นยินดีเพลิดเพลิน
อย่างแรงกล้าแล้ว ความกำหนัดย่อมเกิดขึ้น ทิฏฐิย่อมเกิดขึ้น, ย่อมยินดี
เพลิดเพลินซึ่งกรรมที่เคยประพฤติมาก่อน ครั้นยินดีเพลิดเพลินอย่าง
แรงกล้าแล้ว ความกำหนัดย่อมเกิดขึ้น ทิฏฐิย่อมเกิดขึ้น, บุคคลออก
จากฌาน ย่อมยินดีเพลิดเพลินฌานนั้นอย่างหนัก ครั้นยินดีเพลิดเพลิน
อย่างหนัก ราคะย่อมเกิดขึ้น ทิฏฐิย่อมเกิดขึ้น.
ที่เป็น ปกตูปนิสสยปัจจัย ได้แก่ บุคคลเข้าไปอาศัยศรัทธา ยัง
มานะให้เกิดขึ้น ยึดมั่นซึ่งทิฏฐิ, อาศัยศีล สุตะ จาคะ ปัญญา ยังมานะ
ให้เกิดขึ้น ยึดมั่นซึ่งทิฏฐิ, ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา เป็นปัจจัย
แก่ราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ และความปรารถนา ด้วยอำนาจ
ของอุปนิสสยปัจจัย. ธรรมหมวดสามย่อมได้ในอัพยากตบทกับกุศลบท ใน
อกุศลบทกับอกุศลบทก็เหมือนกัน. แต่ธรรมที่ดับไปโดยไม่มีระหว่างคั่น

ด้วยดี ย่อมไม่ได้ในกุศลบทกับอกุศลบท. เพราะเหตุนั้นเอง พระผู้มี-
พระภาคเจ้าจึงตรัสว่า อกุศลเป็นปัจจัยแก่กุศลธรรมด้วยอำนาจของอุป-
นิสสยปัจจัยบางอย่าง. จริงอยู่ คำนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายถึงเฉพาะ
ปกตูปนิสสยปัจจัยเท่านั้น อันมาแล้วในปัญหาวาระโดยนัยเป็นต้นว่า
อกุศลธรรมเป็นปัจจัยแก่กุศลธรรม ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย ที่เป็น
ปกตูปนิสสยปัจจัย
ได้แก่ บุคคลอาศัยราคะย่อมให้ทาน สมาทานศีล
รักษาอุโบสถ ยังฌาน วิปัสสนา มรรค อภิญญา สมาบัติให้เกิดขึ้น.
เข้าไปอาศัยโทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ ความปรารถนาย่อมให้ทาน
ฯ ล ฯ ย่อมให้สมาบัติเกิดขึ้น. ราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ ความ
ปรารถนาเป็นปัจจัยแก่ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา ด้วยอำนาจของ
อุปนิสสยปัจจัย, บุคคลครั้นฆ่าสัตว์แล้วย่อมให้ทานเพื่อลบล้างกรรมนั้น.
แต่อกุศล ย่อมไม่เป็นอารัมมณูปนิสสยปัจจัยแก่กุศล. ถามว่า เพราะ
เหตุไร ? ตอบว่า เพราะความที่แห่งกุศลนั้น จะทำอกุศลนั้นให้มีกำลังแรง
กล้า แล้วให้เป็นไปย่อมไม่ได้ (กุศลจะทำอกุศลให้เป็นอธิบดีอารมณ์ไม่ได้).
ในอธิการนี้ผู้ศึกษาพึงทราบว่า อนันตรูปนิสสยปัจจัยย่อมไม่ได้เหมือน
แม้อารัมมณูปนิสสยปัจจัย. ในอัพยากตบทกับอกุศลบท ย่อมไม่ได้เฉพาะ
อารัมมณูปนิสสยปัจจัยเท่านั้น. เพราะว่าอัพยากตธรรมย่อมไม่ทำอกุศลให้
เป็นอารมณ์อย่างหนัก. ก็เพราะความเป็นอนันตรปัจจัยย่อมมีได้ ฉะนั้นใน
อธิการนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงไม่ตรัสว่า เกสญฺจิ. แต่อุปนิสสย-
ปัจจัยทั้งสาม ย่อมได้ในนัยสามคือในอัพยากตบทกับอัพยากตบท กุศลบท
กับอัพยากตบท อกุศลบทกับอัพยากตบท. สองบทนี้คือ ปุคฺคโลปิ
เสนาสนมฺปิ
กล่าวคือ บุคคลก็ดี เสนาสนะก็ดี พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส

ด้วยอำนาจปกตูปนิสสยปัจจัย. จริงอยู่ บุคคลและเสนาสนะทั้งสองนี้เป็น
ปัจจัยที่มีกำลังแก่ความเป็นไปแห่งกุศลและอกุศล. ก็แล ความที่บุคคล
และเสนาสนะเป็นเป็นปัจจัยในอธิการนี้ ผู้ศึกษาพึงทราบด้วยอำนาจการ
เป็นปัจจัยโดยอ้อม ๆ. พรรณนาบาลีในอุปนิสสยปัจจัยนี้เท่านี้ก่อน.
ก็ชื่อว่า อุปนิสสยปัจจัย ได้แก่ ธรรมอันเป็นไปในภูมิทั้ง 4 ทั้ง
หมด พร้อมกับบัญญัติบางอย่าง. แต่เมื่อว่าโดยวิภาคมี 3 อย่างด้วย
อำนาจแห่งอารัมมณูปนิสสยปัจจัยเป็นต้น. บรรดาอุปนิสสยปัจจัย 3
อย่างนั้น อารัมมณูปนิสสยปัจจัย ไม่แตกต่างจากอารัมมณาธิปติปัจจัย
เพราะฉะนั้น ผู้ศึกษาพึงถือเอาโดยการจำแนกโดยประการต่าง ๆ ตามนัย
ที่ข้าพเจ้ากล่าวแล้วในหนหลัง. อนันตรรูปนิสสยปัจจัย ไม่แตกต่างจาก
อนันตรปัจจัย
แม้อนันตรูปนิสสยปัจจัยนั้น ผู้ศึกษาก็พึงถือเอาโดยการ
จำแนกโดยประการต่าง ๆ ตามนัยที่ข้าพเจ้ากล่าวแล้วในหนหลังเหมือน
กัน ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัยแม้โดยธรรมที่เป็นปัจจยุบบันแห่งปัจจัย
ทั้งสองนั้น ตามนัยที่ข้าพเจ้ากล่าวไว้แล้ว ในอธิปติปัจจัยและอนันตรปัจจัย
เหล่านั้น.
ก็เมื่อว่า ด้วยอำนาจแห่งชาติ ปกตูปนิสสยปัจจัยมี 5 อย่าง โดย
จำแนกเป็นกุศล อกุศล วิบาก กิริยา และรูป. ก็แลปกตูปนิสสยปัจจัย
ที่จำแนกโดยอำนาจแห่งชาติ มีกุศลเป็นต้น ว่าโดยประเภทแห่งธรรม
ที่เกิดในภูมิต่าง ๆ แล้วมีมากมาย. ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัยโดยการจำแนก
โดยประการต่าง ๆ ในอุปนิสสยปัจจัยนี้อย่างนี้ก่อน.
ก็ใน ปกตูปนิสสยปัจจัย ที่จำแนกได้ ดังข้าพเจ้ากล่าวมาแล้วนี้
กุศลอันเป็นไปในภูมิสาม เป็นปกตูปนิสสยปัจจัยแก่ธรรม 4 หมวดเหล่านี้

คือแก่กุศลในภูมิ 4 อกุศล วิบาก และกิริยา. โลกุตตรธรรมไม่เป็น
ปกตูปนิสสยปัจจัยแก่อกุศลธรรมย่างเดียว. แต่เป็นปัจจัยแก่อกุศลของ
คนอื่นได้โดยนัยเป็นต้นว่า โลกุตตรธรรม อันอาจารย์ของข้าพเจ้าให้เกิด
ขึ้นแล้ว หรือโดยนัยนี้ว่า โลกุตตรธรรมจักเกิดขึ้นแก่บุคคลใด เพราะยัง
ความริษยาให้เกิดขึ้นในวิโมกข์อันยอดเยี่ยมของบุคคลนั้น อกุศลธรรม
เป็นปกตูปนิสสยปัจจัยแก่ขันธ์อันเป็นไปในภูมิ 4 ทั้งหมด อนึ่ง วิบาก
อันเป็นไปในภูมิสามก็เป็นปกตูปนิสสยปัจจัย แก่ขันธ์อันเป็นไปในภูมิ
เหมือนกัน. ในโลกุตตรวิบาก ผลเบื้องต่ำสามไม่เป็นปกตูปนิสสยปัจจัย
แก่อกุศลเท่านั้น. ผลเบื้องสูงคืออรหัตต ผลไม่เป็นปกตูปนิสสยปัจจัย แม้
แก่กุศล. ก็ตามนัยก่อนนั่นเอง โลกุตตธรรมอันเกิดแก่บุคคลใดบุคคล
หนึ่ง โลกุตตรวิบากทั้งหมดในสันดานของบุคคลนั้น เป็นปกตูปนิสสย-
ปัจจัยแก่อรูปขันธ์มีกุศลเป็นต้นทั้งหมด. ปกตูปนิสสยะ กล่าวคือกิริยาเป็น
ปัจจัยแก่ขันธ์มีอกุศลเป็นต้น อันเป็นไปในภูมิ 4. ปกตูปนิสสยะคือรูป
ก็เหมือนกัน. แต่ รูป เองย่อมไม่ได้ความเป็นอุปนิสปัจจัย ตามนัยอัน
มาแล้วในมหาปกรณ์ ชื่อว่า ปัฏฐานนี้. จะกล่าวว่าได้โดยปริยายที่มาแล้ว
ในพระสูตรก็ควร. ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัยโดยธรรมที่เป็นปัจจยุบบัน
ในอุปนิสสยปัจจัยนี้ ดังพรรณนามาแล้ว.
วรรณนานิทเทสแห่งอุปนิสสยปัจจัย จบ

[11]

ปุเรชาตปัจจัย

ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเกิดก่อน
กล่าวคือ
1. จักขายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณธาตุ และแก่ธรรม
ทั้งหลายที่ประกอบกับจักขุวิญญาณธาตุนั้น ด้วยอำนาจของปุเรชาต-
ปัจจัย
2. โสตายตนะ เป็นปัจจัยแก่โสตวิญญาณธาตุ และแก่ธรรม
ทั้งหลายที่ประกอบกับโสตวิญญาณธาตุนั้น ด้วยอำนาจของปุเรชาต-
ปัจจัย
3. ฆานายตนะ ก็เป็นปัจจัยแก่ฆานวิญญาณธาตุ และแก่ธรรม
ทั้งหลายที่ประกอบกับฆานวิญญาณธาตุนั้น ด้วยอำนาจของปุเรชาต-
ปัจจัย
4. ชิวหายตนะ เป็นปัจจัยแก่ชิวหาวิญญาณธาตุ และแก่ธรรม
ทั้งหลายที่ประกอบกับชิวหาวิญญาณธาตุนั้น ด้วยอำนาจของปุเรชาต-
ปัจจัย
5. ฆายายตนะ เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณธาตุ และแก่ธรรม
ทั้งหลายที่ประกอบกับกายวิญญาณธาตุนั้น ด้วยอำนาจของปุเรชาต-
ปัจจัย
6. รูปายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณธาตุ และแก่ธรรม
ทั้งหลายที่ประกอบจักขุวิญญาณธาตุนั้น ด้วยอำนาจของปุเรชาต-
ปัจจัย