เมนู

ที่เกิดภายหลัง ก็เป็นปัจจัยแก่กายที่เกิดก่อน ด้วยอำนาจของอัตถิและอวิคต-
ปัจจัย. แม้ รูปชีวิตินทรีย์ กับกุศลที่เกิดภายหลังก็เป็นปัจจัยแก่กัมมชรูป
ด้วยอำนาจของอัตถิและอวิคตปัจจัยนั่นเอง. คำนี้ว่า สหชาตํ ปจฺฉาชตํ
อาหารํ อินฺทฺริยํ
พระองค์ตรัสหมายถึงความเป็นปัจจัยโดยส่วน 4 นี้.
ก็ปัจฉาชาตะ อาหาระ และอินทริยปัจจัยย่อมไม่ได้ในอธิการนี้.
แม้ใน ปัญหา 2 ข้อ ที่รวมกับอกุศล ข้างหน้าก็นัยนี้เหมือนกัน.
บัณฑิตพึงทราบประเภทแห่งปัจจัยทั้งหลาย ที่ท่านย่อกล่าวไว้ในปัญหา
เหล่านั้น ๆ โนอธิการนี้ด้วยประการฉะนี้ ฝ่ายข้าพเจ้าจักทำให้แจ้ง ซึ่ง
ความลดและความไม่ลดแห่งปัญหาเหล่านั้นๆ ในปัจจัยนั้น ๆ ข้างหน้า
แล.
วรรณนาความแห่งปัจจยุทธาระ จบ

วรรณนาความแห่งกุสลติกปัฏฐาน


ปัจจนียนัย


วาระ 15 เหล่านี้ว่า กุสโล ธมฺโม กุสลสฺส ธมฺมสฺส เป็นต้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงไว้แล้ว ด้วยสามารถอนุโลม. เพราะแม้ใน
ปัจจนียะ ก็วาระเหล่านี้แหละ ไม่มีเกินไปกว่านี้ มีแต่ต่ำกว่านี้ ฉะนั้น
บัดนี้ เพื่อจะแสดงวาระที่จะมีได้ในปัจจนียะแห่งวาระใด ๆ ตั้งแต่ต้น ด้วย
อำนาจแห่งจำนวน พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงเริ่มคำว่า นเหตุยา ปณฺณรส
เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นเหตุยา คือ วาระ 15 ที่ได้ด้วย
สามารถแห่งปัจจัยทั้งหลายตามที่แสดงไว้ แม้ทั้งหมด. ใน นอารัมมณะ
เหตุปัจจัยย่อมผนวกเข้าในสหชาตปัจจัย. ในวาระนั้น ๆ อารัมมณปัจจัย
ล้วน ๆ ย่อมขาดไป. วาระเหล่านั้นย่อมได้วิสัชนาด้วยอำนาจแห่งปัจจัย
ที่เหลือ. แม้ในปัจจัยที่เหลือก็เหมือนกับนอารัมมณปัจจัย. เหตุปัจจัยย่อม
ได้ในสหชาตปัจจัย. ก็ปัจจัยทั้งหลายที่ตั้งอยู่ด้วยปัจจนียะอย่างนี้ คือ
นอุปนิสฺสเย นอนนฺตเร (ปัจจัยนั้นๆ) ย่อมขาดไปในวาระนั้น ๆ. วาระ
เหล่านั้น ๆ ย่อมได้รับวิสัชนาด้วยอำนาจปัจจัยที่เหลือ. ส่วนในนสหชาต-
ปัจจัย 4 วาระเหล่านั้นย่อมขาดไป คือ กุศลธรรมเป็นปัจจัยแก่กุศลและ
อัพยากตะ อกุศลธรรมเป็นปัจจัยแก่อกุศลและอัพยากตะ, กุศลและ
อัพยากตธรรมเป็นปัจจัยแก่กุศล. อกุศลและอัพยากตธรรมเป็นปัจจัยแก่
อกุศล (กุ-กุ. อัพ,อกุ-อกุ.อัพ,กุ.อัพ-กุ, อกุ. อัพ-อกุ.) จริงอยู่ ท่าน
กล่าวปัจจัยสังคหะหมวด 1 ด้วยอำนาจแห่งปัจจัย 11 ว่า สหชาตปจฺจ-
เยน ปจิจโย
ในวาระ 2 ข้อต้น แห่งวาระ 4 เหล่านี้ เมื่อปัจจัยสังคหะ
นั้นถูกปฏิเสธไป วาระเหล่านั้นย่อมไม่ได้รับวิสัชนาโดยอาการอื่น. คำว่า
สหชาตํ ปุเรชาตํ ท่านกล่าวหมายเอานิสสยะ อัตถิ และอวิคตปัจจัยใน
วาระ 2 ข้างท้าย เมื่อสหชาตปัจจัยถูกปฏิเสธไป วาระเหล่านั้นย่อมไม่ได้
วิสัชนาด้วยอำนาจแห่งปัจจัยที่เหลือ มีเหตุปัจจัยเป็นต้น และไม่ได้
ปุเรชาตปัจจัย นิสสยะ อัตถิ อวิคตปัจจัยด้วย เพราะฉะนั้น วาระทั้ง 4
เหล่านี้จึงขาดไป. คำว่า เอกาทส (11 วาระ) ท่านกล่าวไว้ด้วยอำนาจ
แห่งวาระที่เหลือ.

ในข้อนั้นพึงมีคำถามว่า เมื่อเหตุปัจจัยถูกปฏิเสธออก วาระเหล่านั้น
จึงมีด้วย อำนาจแห่งอธิปติปัจจัยเป็นต้นที่เหลือ เพราะเหตุไร เมื่อสหชาต-
ปัจจัยถูกปฏิเสธออก วาระจึงไม่มีด้วยอำนาจแห่งเหตุปัจจัยเป็นต้น ที่เหลือ
บ้าง แก้ว่า เพราะไม่มีธรรมจะมาอ้างอิง (นิปปเทส) จริงอยู่ เหตุปัจจัย
เป็นต้น ชื่อว่ายังมีธรรม (เหลือไว้) อ้างอิง (สัปปเทส) เพราะยังมี
สหชาตปัจจัยอยู่อีกส่วนหนึ่ง (หรือเพราะเป็นส่วนหนึ่งแห่งสหชาตปัจจัย).
เพราะฉะนั้น เมื่อเหตุปัจจัยเป็นต้นเหล่านั้นถูกปฏิเสธออกแล้ว วาระ
เหล่านั้นย่อมได้รับวิสัชนาด้วยอำนาจแห่งปัจจัยอื่น แต่สหชาตปัจจัยไม่มี
ธรรม (เหลือไว้) อ้างอิง ย่อมรวมเอาเหตุปัจจัยเป็นต้นทั้งหมดเข้ามาด้วย
เมื่อสหชาตปัจจัยนั้นถูกปฏิเสธไป เหตุปัจจัยเป็นต้น เหล่านั้นแม้ทั้งหมด
จึงเป็นอันถูกปฏิเสธไปด้วย. เพราะว่าขึ้นชื่อว่าเหตุปัจจัย เป็นต้น ที่จะไม่
เกิดพร้อมกันย่อมไม่มี. เพราะสหชาตปัจจัยไม่มีธรรมอ้างอิง เมื่อสหชาต-
ปัจจัยนั้นถูกปฏิเสธออก วาระทั้ง 2 เหล่านั้นจึงมีไม่ได้ด้วยประการฉะนี้.
ก็ในวาระที่ท่านวิสัชนาแล้วว่า สหชาตํ ปุเรชาตํ ถึงสหชาตปัจจัยเท่านั้น
จะไม่มีจริง แต่เพราะในอธิการนี้ อรูปขันธ์เกิดร่วมกันเท่านั้นเป็นปัจจัย
ด้วยอำนาจนิสสยะ อัตถิ และอวิคตะ ก็เมื่อสหชาตปัจจัยถูกปฏิเสธแล้ว
นิสสยะ อัตถิ และอวิคตปัจจัย ที่เกิดร่วมกันโดยส่วนเดียวโดยแน่นอน ก็
เป็นอันถูกปฏิเสธไปด้วย เพราะฉะนั้น วาระแม้เหล่านั้นจึงมีไม่ได้ เพราะ
สหชาตปัจจัยนั้นถูกปฏิเสธไปแล. วาระ 4 เหล่านั้นในอธิการนี้ จึงขาดไป
โดยประการทั้งปวง ด้วยประการฉะนี้. คำว่า เอกาทส ท่านกล่าวด้วย
อำนาจวาระที่เหลือเท่านั้น.

แม้ใน นอัญญมัญญะ นนิสสยะ และนสัมปยุตตปัจจัย วาระ 4
เหล่านั้นเองขาดไป ถามว่า เพราะเหตุไร แก้ว่า เพราะมีคติเหมือน
สหชาตปัจจัย. เหมือนอย่างว่า สหชาตปัจจัยที่เป็นอรูปธรรมย่อมรวม
อรูปขันธ์ 4 ไว้โดยไม่เหลือ ฉันใด แม้อัญญมัญญะ นิสสยะ และสัมป-
ยุตตปัจจัย ก็ฉันนั้น. เพราะฉะนั้น พึงทราบว่า เมื่อปัจจัยเหล่านี้ ถูกปฏิเสธ
ออกแล้ว วาระเหล่านั้นจึงมีไม่ได้ เพราะปัจจัยเหล่านี้มีคติเช่นเดียวกับ
สหชาตปัจจัย เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า นอญฺญมญฺเญ
เอกาทส นนิสฺสเย เอกาทส นสมฺปยุตฺเต เอกาทส.

ในข้อนั้น พึงมี คำถาม ว่า ปัจจัยเหล่านี้ มีคติเหมือนสหชาตปัจจัย
เพราะเป็นที่รวมแห่งขันธ์ 4 อันต่างโดยกุศลเป็นต้น โดยไม่แปลกกัน
ก็จริง แต่กุศลก็หาเป็นปัจจัยโดยประการอื่นเว้น สหชาตปัจจัย แก่กุสลา-
พยากตะไม่ เพราะฉะนั้น เมื่อกุศลนั้นถูกปฏิเสธออก วาระนั้นก็ขาดไป
(เป็นธรรมดา) แต่กุศลย่อมไม่เป็นอัญญมัญญปัจจัยแก่กุสลาพยากตะ เมื่อ
กุศลนั้นถูกปฏิเสธไป ทำไมวาระนั้นจึงต้องขาดไปด้วย แก้ว่า เพราะมี
ความเป็นไปด้วยอำนาจแห่งธรรมที่อิงอาศัยกันและกัน เหมือนอย่างว่า
กุสลาพยากตะไม่เป็นสหชาตปัจจัยแก่กุศล แต่วาระนั้นก็ขาดไปในเมื่อยก
กุศลนั้นออก เพราะมีความเป็นไปโดยนิสสยปัจจัยเป็นต้น ด้วยอำนาจ
แห่งธรรมที่เกิดร่วมกัน ฉันใด แม้ในอธิการนี้เมื่อยกกุศลนั้นออก วาระ
แม้นั้นย่อมขาดไป เพราะมีความเป็นไปโดยเป็นสหชาตะเป็นต้น ด้วย
อำนาจแห่งธรรมที่เป็นอัญญมัญญปัจจัย ฉันนั้น.
ก็บทว่า นอญฺญมญฺญปจฺจเยน ปจฺจโย มีเนื้อความดังนี้ ธรรม
เหล่าใดถึงการนับว่าเป็นอัญญมัญญปัจจัย การเป็นปัจจัยด้วยธรรมเหล่านั้น

ย่อมไม่มี แต่กุศลเมื่อเป็นปัจจัยแก่กุสลาพยากตะ ด้วยอำนาจสหชาตปัจจัย
เป็นต้น ย่อมไม่เป็นด้วยธรรม คืออัญญมัญญปัจจัยเท่านั้น เพราะฉะนั้น
เมื่อกุศลนั้นถูกปฏิเสธออกวาระนั้นจึงขาดไป ก็วาระนั้นย่อมขาดไป ฉันใด
วาระ 3 แม้ที่เหลือก็ย่อมขาดไป ฉันนั้น วาระ 4 แม้เหล่านั้นย่อมขาดไป
ด้วยประการฉะนั้น.
แม้ในคำว่า นนิสฺสเย เอกาทส นี้ มีวินิจฉัยดังนี้ เพราะปัจจัย
ธรรมทั้งหลายที่เกิดร่วมกันโดยส่วนเดียว เป็นที่อาศัยแห่งวาระเหล่านั้น
ฉะนั้น เมื่อธรรมเป็นที่อาศัย ถูกปฏิเสธออก วาระเหล่านั้นจึงขาดไป
ด้วย.
สองบทว่า ปุเรชาเต เตรส (นปุเรชาตปัจจัย มี 13วาระ) ความ
ว่า มีวาระ 13 เพราะนำเอาวาระ 2 ที่มีมูล 2 ที่มีวิสัชนาอัน ท่านกล่าว
ไว้ว่า สหชาตํ ปุเรชาตํ ออกเสีย เหมือนอย่างว่า เมื่อยกสหชาตปัจจัย
ออก วาระเหล่านั้นย่อมไม่ได้วิสัชนา ด้วยอำนาจแห่งนิสสยะ อัตถิ และ
อวิคตปัจจัย เฉพาะที่เป็นปุเรชาตเท่านั้น ฉันใด แม้เมื่อปุเรชาตปัจจัย
ถูกยกออกเสียแล้ว วาระเหล่านั้นย่อมไม่ได้วิสัชนาด้วยอำนาจนิสสยะ
อัตถิ และอวิคตปัจจัย เฉพาะที่เป็นสหชาตะเท่านั้น ฉันนั้น เพราะฉะนั้น
ผู้ศึกษาพึงทราบว่ามีวาระ 13 เพราะนำออกเสียซึ่งวาระเหล่านั้น.
ในคำว่า นปจฺฉาเต ปณฺณรส นี้ ย่อมได้ปัญหาทั้งหลายเหล่านั้น
แม้ด้วยอำนาจแห่งปัจจัยที่เหลือ เว้นปัจฉาชาตปัจจัยในอาคตสถาน
(ที่มา) ว่า ปจฺฉาชาตปจฺจเยน ปจฺจโย หรือว่า สหชาตํ ปุเรชาตํ
อาหารํ อินฺทริยํ
ดังนี้ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสไว้ 15
วาระเท่านั้น.

ในคำว่า นกมฺเม เป็นต้น มีวินิจฉัยว่า เพราะแม้กัมมปัจจัย วิปาก-
ปัจจัย อาหารปัจจัย อินทริยปัจจัย ฌานปัจจัย และมัคคปัจจัย ก็เป็นส่วน
หนึ่งแห่งขันธ์ 4 อันต่างโดยกุศลเป็นต้น ฉะนั้น ยกเว้น ธรรมเหล่านั้นเสีย
ธรรมที่เกิดร่วมจึงจัดเป็นปัจจัยได้ด้วยอำนาจแห่งธรรมที่เหลือ เพราะ-
ฉะนั้น การวิสัชนาปัญหาจึงไม่ลดไปแม้เพียงข้อเดียว.
คำว่า นสมฺปยุตฺเต เอกาทส ความว่า เพราะธรรมที่สัมปยุตกัน
เป็นปัจจัยกัน ด้วยอำนาจสหชาตะเป็นต้น ในวาระ 4 เหล่านั้น ฉะนั้น
พึงทราบว่าวาระเหล่านั้นเท่านั้นขาดไป เพราะปฏิเสธสัมปยุตตปัจจัย.
คำว่า นวิปฺปยุตฺเต นว ความว่า วาระ 6 เหล่านั้น คือ วาระ 4
อันมีอวสานบทบทเดียว ซึ่งเกิดแต่ธรรมที่มีมูล 2 และ 2 วาระอันมี
อวสานบท ซึ่งเกิดแต่ธรรมที่มีมูล 1 และมูล 2 ประกอบแล้วด้วยปัจจัย-
ธรรมที่วิปปยุตกันโดยส่วนเดียว. วาระเหล่านั้นย่อมเป็นปัจจัยด้วยอำนาจ
สหชาตะเป็นต้น เมื่อวิปปยุตตปัจจัยถูกปฏิเสธออกไป วาระเหล่านั้น
ทั้งหมดย่อมขาดไปด้วย เพราะฉะนั้น จึงได้ 9 วาระเท่านั้น ด้วยเหตุนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า นวิปฺปยุตฺเต นว.
แม้ใน โนนัตถิ และ โนอวิคตปัจจัย ผู้ศึกษาพึงทราบวาระ 9
เหล่านั้นเอง จริงอยู่ วาระเหล่านั้น ประกอบด้วยธรรม คือ อัตถิปัจจัย
และอวิคตปัจจัยแน่นอน เพราะฉะนั้น วาระเหล่านั้นจึงขาดไป เพราะ
การปฏิเสธอัตถิ และอวิคตปัจจัยเหล่านั้น วาระแม้เหล่าใดที่ได้อยู่ ผู้ศึกษา
พึงแต่งวิสัชนาในวาระเหล่านั้น ด้วยอำนาจอารัมมณปัจจัย หรืออนันตร-
ปัจจัยเป็นต้น ผู้ศึกษาพึงแต่งวิสัชนาด้วยอำนาจแห่งปัจจัย 5 อันต่างด้วย
อำนาจของสหชาตะ ปุเรชาตะ ปัจฉาชาตะ อาหาระ และอินทริยปัจจัย

หรือด้วยอำนาจแห่งธรรมที่วิปปยุตกัน ซึ่งยังมีอยู่และยังไม่ปราศจากไป
ดังนี้แล.
พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดงวาระที่ได้ใน ปัจจนียนัย ด้วย
การนับอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อจะแสดงการนับปัจจัย ด้วยอำนาจแห่ง
ปัจจัยที่มีมูล 2 เป็นต้น จึงทรงเพิ่มคำว่า นเหตุปจฺจยา นารมฺมเณ
ปณฺณรส
เป็นต้น พึงทราบวินิจฉัยในคำนั้นต่อไป.
ใน นเหตุมูลกทุกะ เป็นปัจจัยที่นับได้มากกว่า ครั้นประกอบกับ
ปัจจัยที่นับได้น้อยกว่าย่อมเป็นปัจจัยที่นับได้น้อยกว่าไปด้วย. ใน ติมูลกนัย
วาระ 2 คือ กุศลเป็นปัจจัยแก่อกุศล อกุศลเป็นปัจจัยแก่กุศล (กุ-อกุ,
อกุ-กุ) ในคำว่า นอุปนิสฺสเย เตรส ย่อมขาดไป. เพราะเหตุไร ?
เพราะ นอุปนิสสยปัจจัย ท่านเชื่อมไว้กับ นอารัมมณปัจจัย. จริงอยู่
วาระเหล่านี้เป็นไปด้วยอำนาจอารัมมณปัจจัย และอุปนิสสยปัจจัย. และ
ปัจจัยทั้ง 2 นั้น อันท่านยกเสียแล้ว (ปฏิเสธ) วาระนั้นเป็นอันท่านถือ
เอาแล้วด้วยจำนวนแห่งอารัมมณาธิปติ และอารัมมณูปนิสสยปัจจัย
เท่านั้น.
สองบทว่า นอุปนิสฺสเย เตรส แม้ใน ฉมูลกนัย ก็คือวาระ 13
เหล่านั้นนั่นแหละ.
พึงทราบวินิจฉัยใน สัตตมูลกนัย ต่อไป. สองบทว่า นอุปนิสฺสเย
สตฺต
ได้แก่ วาระ 8 คือ วาระ 4 อัน เป็นไปอยู่ด้วยอำนาจแห่งอนันต-
รูปนิสสยปัจจัย และปกตูปนิสสยปัจจัยเหล่านั้น คือ 1. กุศลเป็นปัจจัยแก่
กุศล (กุ-กุ)2. กุศลเป็นปัจจัยแก่อกุศล (กุ-อกุ) 3. อกุศลเป็นปัจจัย
แก่อกุศล (อกุ-อกุ) 8. อกุศลเป็นปัจจัยแก่กุศล (อกุ-กุ) และกับ

วาระ 4 ที่ขาดไปในอธิการนั้น เพราะเนื่องกับ นสหชาตปัจจัย ย่อม
ขาดไป เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า สตฺต คือ 7 วาระ
ด้วยอำนาจแห่งปัจจัยที่เหลือ.
สองบทว่า นปุเรชาเต เอกาทส คือ มีวาระ 11 เพราะเนื่องกัน
นสหชาตปัจจัย.
สองบทว่า นปจฺฉาชาเต นว ความว่า จริงอยู่ ในวาระ 11 เหล่านี้
เพราะนำเอาวาระ 3ซึ่งมีมูล 2 และมีอัพยากตะเป็นอวสานบท มีวิสัชนา
อันได้แล้วว่า สหชาตํ ปจฺฉาชาตํ อาหารํ อินฺทฺริยํ ออกเสีย แม้เมื่อมี
การปฏิเสธสหชาตปัจจัย วาระเหล่านั้นก็ยังไม่ขาดไป ด้วยอำนาจปัจฉา-
ชาดปัจจัย แต่เมื่อมีการปฏิเสธปัจฉาชาตปัจจัยกับสหชาตปัจจัย วาระ
เหล่านี้ย่อมขาดไป เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า นว คือ
9 วาระ ด้วยอำนาจแห่งปัจจัยที่เหลือ.
สองบทว่า นนิสฺสเย เอการส ใน อัฏฐมูลนัย คำอธิบายทั้งหมด
เหมือนกับที่ข้าพเจ้ากล่าวแล้วในหนหลัง.
พึงทราบวินิจฉัยใน นวมูลกนัย ต่อไป. สองบทว่า นอุปนิสฺสเย
ปญฺจ
ความว่า มี 5 วาระ คือ วาระ 3 หมวด 3 แห่งกุศล เป็นต้น อัน
มีอัพยากตะเป็นที่สุด และวาระ 2 อันมีมูล 2 มีอัพยากตะเป็นอวสานบท
พึงทราบวิสัชนาในวาระ 5 เหล่านั้น ด้วยอำนาจแห่งธรรม คือ นานาก-
ขณิกกัมมปัจจัย กพฬีการาหาร รูปชีวิตินทรีย์ และปัจฉาชาตปัจจัย.

วาระเหล่านั้นเอง ย่อมมีแม้ในคำเป็นต้นว่า นปุเรชาเต ปญฺจ. ใน
ทสมูลกนัย
สองบทว่า นปจฺฉาชาเต ตีณิ คือ วาระที่เหลือ นอกจาก
วาระ 2 อันมีมูล 2 มีอัพยากตะเป็นอวสานบท อันได้อยู่ด้วยอำนาจ

ปัจฉาชาตปัจจัย. วาระ 3 เหล่านั้นเอง ย่อมมีแม้ในนวิปปยุตปัจจัย สอง
บทว่า โนอตฺถิยา เทฺว คือ กุศล และอกุศล เป็นปัจจัยแก่กัมมชรูป
ุด้วยอำนาจแห่งนานากขณิกกัมมปัจจัย. ก็ในอธิการนี้ย่อมไม่ได้วิบากเพราะ
เนื่องกับ นอุปนิสสยปัจจัย. การนับใน เอกาทสมูลกนัย เช่นเดียวกับ
ที่ข้าพเจ้ากล่าวแล้วในหนหลังนั่นเอง.
สองบทว่า นกมฺเม เอกํ ใน ทวาทสมูลกนัย คือ อัพยากตะกับ
อัพยากตะ ก็ในข้อนั้น ผู้ศึกษาพึงทราบวิสัชนาด้วยอำนาจอาหาร และ
อินทรีย์. ผู้ศึกษาพึงถือเอาวิสัชนานี้แหละ ในอาคตสถานว่า เอกํ (=1
วาระ) แม้ใน เตรสมูลกนัย เป็นต้น. แต่ในนอาหารปัจจัย พึงทราบ
วิสัชนาด้วยอำนาจแห่งอินทรีย์ ใน นอินทริยปัจจัย พึงทราบวิสัชนาด้วย
อำนาจแห่งอาหาระ.
ใน จุททสมูลกนัย เป็นต้น ย่อมไม่ได้ โนอัตถิ และ โนอวิคต-
ปัจจัย
เพราะเนื่องด้วยนกัมมปัจจัย เหตุนั้นท่านจึงไม่กล่าวไว้. ท่าน
กล่าวคำว่า นาหารปจฺจยา นณานเปจฺจยา ไว้โดยนำเอา นอินทริยปัจจัย
ออกเสีย เพราะฉะนั้น ในฐานะเช่นนั้น ผู้ศึกษาพึงทราบวิสัชนา 1 ด้วย
อำนาจแห่งอินทริยปัจจัย. คำว่า นวิปากปจฺจยา นอินฺทริยปจฺจยา ท่าน
กล่าวไว้โดยนำอาหาระออกเสีย เพราะฉะนั้น ในฐานะนั้นพึงทราบ
วิสัชนา 1 ด้วยอำนาจแห่งอาหารปัจจัย ก็ขึ้นชื่อว่าการนับในวาระ 2
เหล่านี้ ซึ่งตั้งอยู่โดยความเป็นปัจจนียะย่อมไม่มี เพราะฉะนั้น ท่านจึงไม่
ได้แสดงไว้ด้วยกันแล.
นเหตุมูลกนัย จบ

แม้ใน นอารัมมณมูลกนัย เป็นต้น พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้
การกำหนดจำนวนมูลในทุกะทั้งปวงมี เท่านั้น คือ 15-13-11-9
ส่วนในติมูลกนัยเป็นต้น ย่อมได้วิสัชนาซึ่งมีจำนวนอันท่านกำหนดไว้
แล้ว คือ 7-5-3-2-1 นอกไปอีก เพราะการประกอบร่วมกันแห่ง
ปัจจัยเป็นอันมาก วิสัชนาใด ๆ ย่อมมีได้เพราะการประกอบร่วมกันแห่ง
ปัจจัยเหล่าใด ในบรรดาปัจจัยเหล่านั้น ผู้ศึกษาพึงกำหนดวิสัชนาและ
ปัจจัยนั้น ๆ ให้ดี แล้วยกขึ้นตามนัยที่ข้าพเจ้ากล่าวแล้วในหนหลัง ก็ใน
นอารัมมณมูลกนัย เป็นต้น เหล่านั้นทั้งหมด ผู้ศึกษาพึงเชื่อมบททั้งหลาย
มีนารัมมณบท เป็นต้น กับ นเหตุบท ที่ผ่านมาแล้วเป็นอันดับแรก แล้ว
ทำเป็นจักร (หมุนเวียนไป) ก็เพราะบทเหล่านั้นเป็นเช่นเดียวกับที่กล่าว
แล้วในนเหตุมูลกนัยนั่นเอง ฉะนั้น ท่านจึงไม่แสดงโดยพิสดาร แสดง
ไว้เพียงย่อ ๆ.
พึงทราบวินิจฉัยในบทเหล่านั้นต่อไป ใน นเหตุกมูลกนัย ใน
เพราะนอารัมมณะ และในเพราะนอุปนิสสยปัจจัย ย่อมได้วาระ 15 แยก ๆ
กันไป ได้วาระ 13 เพราะประกอบร่วมกัน ฉันใด ย่อมได้วาระ 13 เท่านั้น
ในที่ทั่วไป ฉันนั้น. อนึ่ง ใน นอุปนิสสยปัจจัย วาระ 7 ย่อมมีด้วย
นอารัมมณะ และนสหชาตปัจจัย ฉันใด แม้ในนสชาตปัจจัยก็มีวาระ7
ด้วยนอุปนิสสยะ และนอารัมมณปัจจัย ฉันนั้น.
คำว่า นนิสฺสยปจฺจยา นอุปนิสฺสยปจฺจยา นปจฺฉาชาเต ตีณิ คือ
วิสัชนา 3 วาระ มีกุศลเป็นต้น มีอัพยากตะเป็นที่สุด ปัจจัยเหล่านั้นมี
กัมมชรูปและอาหารชรูปเป็นปัจจยุบบัน ในหมวด 4 มี นอาหาระ และ

นอินทริยะ เป็นมูล ย่อมไม่ได้วาระโดยแน่นอน เหมือนในนเหตุมูลกนัย
เพราะไม่เชื่อมกัมมปัจจัย.
ใน นอินทริยมูล คำว่า "นอุปนิสฺสเย จ นปุเรชาเต จ ฐเปตฺวา
นาหาเร ตีณีติ กาตพฺพํ"
อธิบายว่า ผู้ศึกษาพึงเชื่อมปัจจัย 2 เหล่านี้
จากนอินทริยปัจจัย แล้วทำการนับด้วยนอาหารปัจจัย กับปัจจัย 2 เหล่านี้
อย่างนี้ คือ นอินฺทฺริยปจฺจยา ฯเปฯ นอุปนิสฺสยปจฺจยา นาหาเร ตีณิ,
น อินฺทฺริยปจฺจยา ฯเปฯ น ปุเรชาตปจฺจยา นาหาเร ตีณิ.
บรรดา
บทเหล่านั้น บทว่า ตีณิ คือ กุศลเป็นต้นนั่นเอง เป็นปัจจัยแก่
อัพยากตะ.
ในคำนั้นมีอธิบายดังต่อไปนี้ กุศลและอกุศลเป็นปัจจัยแก่กัมมชรูป
และแก่กายที่เกิดก่อน ด้วยปัจฉาชาตปัจจัย ส่วนจิตและเจตสิกที่เป็น
อัพยากตะเป็นปัจจัย ด้วยปัจฉาชาตปัจจัยอย่างเดียว ผู้ศึกษาพึงแต่งวิสัชนา
3 ข้อ ด้วยอำนาจแห่งปัจจัยเหล่านี้ ดังอธิบายมานี้.
ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า นาหาเร เทฺว เพราะเชื่อมกับปัจฉา-
ชาตปัจจัยข้างหน้า ในข้อนั้นได้วิสัชนาเพียงเท่านี้ คือ กุศลเป็นปัจจัยแก่
อัพยากตะ ด้วยอำนาจที่เป็นกัมมชรูป และอกุศลเป็นปัจจัยแก่อัพยากตะ
ด้วยอำนาจที่เป็นกัมมชรูปเหมือนกัน แต่เพราะอาหารถูกปฏิเสธออก กพ-
ฬีการาหารจึงไม่ได้ความเป็นปัจจัย แม้ด้วยอำนาจอัตถิและอวิคตปัจจัย.
ใน จตุมูลกนัย แห่งตอนที่ว่าด้วยปัฏฐานที่มีนวิปปยุตตปัจจัยเป็น
มูล. สองบทว่า นอุปนิสฺสเย ปญฺจ คือ มีวิสัชนา 5 วาระ คือ กุศล
เป็นปัจจัยก่กุศลที่เกิดพร้อมกัน กุศลเป็นปัจจัยแก่อัพยากตะ กล่าวคือ
กัมมชรูป อกุศลเป็นปัจจัยแก่อกุศลที่เกิดพร้อมกัน อกุศลเป็นปัจจัยแก่

อัพยากตะ คือกัมมชรูป อัพยากตะเป็นปัจจัยแก่อัพยากตะที่เกิดพร้อม
กัน. คำว่า นวิปฺปยตฺตปจฺจยา ฯเปฯ นอุปนิสฺสเย ตีณิ คือ วาระ 3
มีกุศลเป็นต้น เป็นปัจจัยแก่อัพยากตะ ตามนัยที่ข้าพเจ้ากล่าวแล้วใน
หนหลัง.
คำว่า โนอตฺถิปจฺจยา นเหตุยา นว คือ วาระ 9 ที่ท่านกล่าวว่า
เกิดเพราะนเหตุปัจจัย ในโนอัตถิปัจจัย. จริงอยู่ วาระเหล่านั้น ทั้งหมด
วาระหนึ่งซึ่งมีมูลหนึ่งเป็นที่สุด ย่อมได้ด้วยอำนาจอนันตรปัจจัยและปกตู-
ปนิสสยปัจจัย.
แม้สองบทว่า นอารมฺมเณ นว ความว่า ผู้ศึกษาพึงตั้งวาระเหล่า-
นั้นแหละไว้ในนอารัมมณปัจจัย แล้วแบ่งอุปนิสสยปัจจัยออกเป็น 2.
สองบทว่า ยาว นิสฺสยมฺปิ ความว่า ในนัยที่มีโนอัตถิปัจจัยเป็นมูล ผู้
ศึกษาพึงตั้งไว้ในนอารัมมณปัจจัย ด้วยการหมุนเวียนอย่างนี้ คือ โน-
อตฺถิปจฺจยา นเหตุปจฺจยา นอารมฺมณปจฺจยา
ไปจนถึง นิสสยปัจจัย
แล้ว พึงแต่งวิสัชนา 2 วาระ ในอุปนิสสยปัจจัย กับด้วยปัจจัย
อย่างนี้ หรือปัจจัยอย่างใดอย่างหนึ่ง มีนอธิปติปัจจัยเป็นต้น ถัดจากนี้
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตั้งลักษณะอย่างนี้แล้ว ทรงถือเอาปัจจัย 7
ตั้งแต่นอารัมมณปัจจัยจนถึงนนิสสยปัจจัยอีก แล้วตรัสว่า นอุปนิสฺสเย
เทฺว
ในข้อนั้นผู้ศึกษาพึงแต่งโยชนาจากนารัมมณปัจจัยกับบททั้งปวง มี
นนิสสยปัจจัยเป็นที่สุดทั้งข้างหน้าและข้างหลังอย่างนี้ คือ โนอตฺถิปจฺจยา
นเหตุปจฺจยา นอารมฺมณปจฺจยา นอุปนิสฺสเย เทว, โนอตฺถิปจฺจยา
นเหตนารมฺมณนาธิปติปจฺจยา นอุปนิสฺสเย เทฺว.
ก็บทว่า เทฺว ในอธิการ

นี้ ผู้ศึกษาพึงทราบด้วยอำนาจแห่งปัจจัยแห่งกัมมชรูป ด้วยอำนาจแห่ง
นานากขณิกกัมมะ คือ กุศลเป็นปัจจัยแก่อัพยากตะ อกุศลเป็นปัจจัยแก่
อัพยากตะ. ใน นปุเรชาตปัจจัย เป็นต้น กับ นอุปนิสสยบท พึงทราบ
วิสัชนา 2 ในที่ทุกสถาน ก็ในอธิการนี้ท่านไม่ถือเอากัมมปัจจัย จริงอยู่
เมื่อถือเอากัมมปัจจัยนั้น วาระเหล่านั้นย่อมขาดไปด้วย ย่อมไม่ได้วิสัชนา
ในการเทียบเคียงวิสัชนาใด ๆ กับวิสัชนาใดๆ วิสัชนาใดมีได้และวิสัชนา
ใดขาดไป ผู้ศึกพึงกำหนดวิสัชนานั้นทั้งหมดให้ดี แล้วพึงขยายจำนวน
ในปัจจนียะทั้งหมด.
ปัจจนียนัย จบ

การนับวาระในอนุโลมปัจจนียะแห่งปัญหาวาระ


เหตุมูลกนัย


เหตุสภาคะ


[752] เพราะเหตุปัจจัย

ในนอารัมมณปัจจัย มี 7 วาระ... ใน
นอธิปติปัจจัย มี 7 วาระ ในนอนันตรปัจจัย มี 7 วาระ ในนสมนันตร-
ปัจจัย มี 7 วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย มี 3 วาระ ในนอุปนิสสย
ปัจจัย มี 7 วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี 7 วาระ ในนปัจฉาชาตปัจจัย
มี 7 วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี 7 วาระ. ในนกัมมปัจจัย มี 7 วาระ
ในนวิปากปัจจัย มี 7 วาระ. ในนอาหารปัจจัย มี 7 วาระ ใน
นอินทริยปัจจัย มี 7 วาระ ในนฌานปัจจัย มี 7 วาระ ในนมัคคปัจจัย