เมนู

เพราะโนอวิคตปัจจัย ในนเหตุปัจจัย มี9 วาระ... ในนอารัมมณ-
ปัจจัย มี 9 วาระ ในนอธิปติปัจจัย มี 9 วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี 9
วาระ.
เพราะโนอวิคตปัจจัย เช่นเดียวกับ เพราะโนอัตถิปัจจัย.
ปัญหาวารปัจจัยนียคณนา จบ

ปัจจนียนัย


วรรณนาเนื้อความแห่งปัจจยุทธาระ


บัดนี้ เป็นปัจจนียนัย. พึงทราบวินิจฉัย ในปัจจนียนัย นั้น ดัง
ต่อไปนี้:-
ปัญหาทั้งหลายอัน ได้อยู่โดยนัยเป็นต้นว่า " อกุศลธรรมอาศัย
อกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะนเหตุปัจจัย"
ในปฏิจจวาระเป็นต้น ขยาย
ออกไปโดยย่อ ด้วยอำนาจปัจจัย ทั้งหลายที่ได้อยู่ ฉันใด เพื่อแสดงปัจจนียะ
โดยสังเขป โดยลักษณะเดียวกันอย่างไม่พิสดาร พระธรรมสังคาหกาจารย์
ทั้งหลายจึงขยายปัจจัยแห่งกุศลเป็นต้น โดยอนุโลม โดยนัยเป็นต้นว่า
กุศลธรรมเป็นปัจจัยแก่กุศลธรรม ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย.
ฉันนั้น. ก็ปัจจัยเหล่านั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้วด้วยอำนาจ
แห่งปัจจัยเป็นหมวด ๆ ไม่ได้แสดงด้วยอำนาจปัจจัยแต่ละอย่าง ๆ
บัณฑิตพึงแยกปัจจัยที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงไว้โดยเป็นหมวด แล้ว
พึงทราบในที่นั้น.

จริงอยู่ ปัจจัย 24 เหล่านี้แม้ทั้งหมด ย่อมรวมลงในปัจจัย 8.
ในปัจจัย 8 เหล่าไหน. คือ ในอารัมมณปัจจัย สหชาตปัจจัย อุป-
นิสสยปัจจัย ปุเรชาตปัจจัย ปัจฉาชาตปัจจัย กัมมปัจจัย อาหาร-
ปัจจัย อินทริยปัจจัย.
อย่างไร ?
จริงอยู่ บรรดาปัจจัย 16 ที่เหลือ เว้นปัจจัย 8 เหล่านี้ ปัจจัย 6
เหล่านี้ คือ เหตุปัจจัย อัญญมัญญปัจจัย วิปากปัจจัย ฌานปัจจัย
มรรคปัจจัย และสัมปยุตตปัจจัย เกิดพร้อมกันโดยส่วนเดียวย่อมรวม
ลงในสหชาตปัจจัย
เพราะเป็นปัจจัยแก่ธรรมที่เกิดพร้อมกันนั่นเทียว.
ส่วนปัจจัย 5 เหล่านี้ คือ อนันตรปัจจัย สมนันตรปัจจัย
อาเสวนปัจจัย นัตถิปัจจัย และวิคตปัจจัย เกิดขึ้นแล้วดับไป ย่อม
รวมลงในอุปนิสสยปัจจัย โดยลักษณะแห่งอนันตรูปนิสสยปัจจัย

เพราะเป็นปัจจัยแก่ธรรมที่เกิดขึ้นในลำดับแห่งตน.
นิสสยปัจจัยมี 2 อย่าง โดยแจกเป็นสหชาตนิสสยะ และปุเรชาต-
นิสสยะ ใน 2 อย่างนั้น สหชาตนิสสยปัจจัย ย่อมรวมลงในสหชาต-
ปัจจัย เพราะเป็นที่อาศัยแห่งธรรมทั้งหลายที่เกิดร่วมกัน ปุเรชาตนิสสย-
ปัจจัย ย่อมรวมลงในปุเรชาตปัจจัย.
แม้อธิปติปัจจัย 2 อย่าง คือ สหชาคตาธิปติปัจจัย และอารัมมณา-
ธิปติปัจจัย. ใน 2 อย่างนั้น สหชาตาธิปติปัจจัย ย่อมรวมลงในสหชาต-
ปัจจัย เพราะเป็นอธิปติปัจจัยแก่ธรรมทั้งหลายที่เกิดร่วมกันนั่นเอง.I
อารัมมณาธิปติปัจจัย เป็นอารัมมณูปนิสสยะนั่นเอง เพราะฉะนั้น จึงรวม
ลงในอุปนิสสยปัจจัย โดยลักษณะแห่งอารัมมณูปนิสสยะ.

วิปปยุตตปัจจัยมี 3 อย่าง โดยจำแนกเป็นสหชาตะ ปุเรชาตะ
และปัจฉาชาตะ ใน 3 อย่างนั้น สหชาตวิปปยุตตปัจจัย ย่อมรวมลงใน
สหชาตปัจจัย เพราะเป็นวิปปยุตตปัจจัยแก่ธรรมทั้งหลายที่เกิดพร้อมกัน
นั่นเอง. ปุเรชาตวิปปยุตตปัจจัย ย่อมรวมลงในปุเรชาตปัจจัย เพราะธรรม
ที่เกิดขึ้นก่อนเป็นปัจจัยแก่ธรรมที่เกิดในภายหลัง. ปัจฉาชาตวิปปยุตต-
ปัจจัย ย่อมรวมลงในปัจฉาชาตปัจจัย เพราะธรรมที่เกิดขึ้นในภายหลัง
เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจการค้ำจุนแก่ธรรมที่เกิดขึ้นก่อน.
อัตถิปัจจัย และ อวิคตปัจจัยมีอย่างละ 6 ด้วยอำนาจแห่ง
สหชาตะ ปุเรชาตะ ปัจฉาชาตะ อาหาระ และอินทรีย์ และด้วย
อำนาจแห่งอัตถิและอวิคตะ อีกอย่างละ 1 ปัจจัย. บรรดาปัจจัยเหล่านั้น
สหชาตปัจจัย อัตถิปัจจัย อวิคตปัจจัย ย่อมรวมลงในสหชาตปัจจัย เพราะ
ธรรมทั้งหลายที่เกิดพร้อมกันเท่านั้นเป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย
และอวิคตปัจจัย. ปุเรชาตปัจจัย ย่อมรวมลงในปุเรชาตปัจจัย เพราะธรรม
ที่เกิดก่อนเป็นปัจจัยแก่ธรรมที่เกิดภายหลัง. ปัจฉาชาตปัจจัยทั้งหลาย ย่อม
รวมลงในปัจฉาชาตปัจจัย เพราะธรรมที่เกิดภายหลังเป็นปัจจัย ด้วย
อำนาจการค้ำจุนแก่ธรรมที่เกิดก่อน. ธรรมทั้งหลายที่เป็นอาหาร ย่อมรวม
ลงในกวฬีการาหารปัจจัย. ธรรมทั้งหลายที่เป็นอินทรีย์ ย่อมรวมลงในรูป-
ชีวิตินทรีย์ปัจจัยแล. ปัจจัย 16 เหล่านี้ พึงทราบว่าย่อมรวมลงในปัจจัย
8 เหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้.
อนึ่ง ปัจจัย 8 แม้เหล่านี้ สงเคราะห์เข้าในอัญญมัญญปัจจัยมีอยู่.
จริงอยู่ อารัมมณปัจจัยที่แสดงไว้ข้างต้น 2 อย่าง โดยแยกเป็นอธิบดี
และไม่ใช่อธิบดี. ใน 2 อย่างนั้น ปัจจัยที่เป็นอธิบดี ย่อมรวมลงใน

อุปนิสสยปัจจัย โดยลักษณะแห่งอารัมมณูปนิสสยะ. ที่ไม่ได้เป็นอธิบดี
ย่อมเป็นอารัมมณปัจจัยล้วน.
แม้กัมมปัจจัยก็มี 2 อย่าง ด้วยอำนาจแห่งสหชาตกัมมปัจจัย และ
นานักขณิกกัมมปัจจัย ใน 2 อย่างนั้น สหชาตกัมมปัจจัย ย่อมรวมลงใน
สหชาตปัจจัย เพราะเป็นกัมมปัจจัยแก่ธรรมทั้งหลายที่เกิดร่วมกันกับตน.
นานักขณิกกัมมปัจจัยมี 2 อย่าง คือ ทีมีกำลัง และทุรพล. ใน 2 อย่าง
พลวกัมมปัจจัย เป็นปัจจัยเป็นที่อาศัยอย่างแรงกล้าแก่วิบากธรรมทั้งหลาย
เพราะฉะนั้น จึงรวมในลงในอุปนิสสยปัจจัย. อนึ่ง พลวกัมมปัจจัยย่อม
เป็นปัจจัย แก่รูปทั้งหลายด้วย. ส่วนกัมมปัจจัยที่หย่อนกำลังย่อมเป็นปัจจัย
แก่อรูปทั้งหลายโดยนักขณิกกัมมปัจจัยเท่านั้น.
แม้อาหารปัจจัยก็มี 2 อย่าง โดยเป็นรูปและอรูป. ใน 2 อย่าง
นั้น อรูปอาหารเป็นปัจจัยแก่ธรรมที่เกิดพร้อมกันกับตนเท่านั้น ฉะนั้น
จึงรวมลงในสหชาตปัจจัย. รูปอาหารย่อมไม่เป็นปัจจัยแก่ธรรมทั้งหลาย
ที่เกิดพร้อมกัน เกิดก่อนหรือเกิดภายหลัง. รูปอาหารที่เลยอุปาทขณะแล้ว
ถึงฐิติขณะของตน ย่อมยังความเป็นอาหารปัจจัยให้สำเร็จ เพราะฉะนั้น
จึงจัดเป็นอาหารปัจจัยเท่านั้น.
แม้อินทริยปัจจัยก็มี 2 อย่าง โดยเป็นรูปและอรูป. ใน 2 อย่าง
นั้น อินทริยปัจจัยที่เป็นอรูป ย่อมให้สำเร็จความเป็นอินทริยปัจจัย แก่
ธรรมทั้งหลายที่เกิดพร้อมกับกับตน เพราะฉะนั้น จึงรวมลงในสหชาต-
ปัจจัย ส่วนรูปอินทริยปัจจัย มี 2 อย่าง โดยจำแนกเป็นภายในและ
ภายนอก ใน 2 อย่างนั้น อินทริยปัจจัยภายในเกิดขึ้นก่อน เป็นอินทริย-
ปัจจัยแก่จักขุวิญญาณเป็นต้น พร้อมทั้งธรรมที่สัมปยุตอันเกิดขึ้นใน

ภายหลัง เพราะฉะนั้น จึงรวมลงในปุเรชาตปัจจัยเท่านั้น. อินทริยปัจจัย
ภายนอกได้แก่รูปชีวิตินทรีย์. รูปอินทรีย์นั้นแม้จะเป็นปัจจัยแก่ธรรม
ทั้งหลายที่เกิดร่วมกัน ก็ย่อมเป็นด้วยอำนาจเพียงการตามเลี้ยงรักษา
เท่านั้น ไม่ใช่ด้วยอำนาจแห่งการให้เกิดขึ้น เพราะฉะนั้น จึงจัดเป็น
อินทริยปัจจัยเท่านั้น. ปัจจัย ทั้ง 8 เหล่านั้น พึงทราบว่า ย่อมรวมเข้าใน
กันและกัน ด้วยประการฉะนี้ นี้เป็นสังคหนัยด้วยอำนาจเป็นอัญญมัญญะ
แห่งปัจจัย 16 ที่เหลือ และแห่งปัจจัย 8 เหล่านั้นนั่นเอง ในปัจจัย 8
เพียงนี้.
บัดนี้ ผู้ศึกษาพึงทราบปัจจัยทั้ง24 ที่รวมลงในปัจจัยหนึ่งๆ ของ
บรรดาปัจจัย 8 เหล่านี้. บรรดาปัจจัย 23 เหล่านั้น.
อารัมมณปัจจัย เท่านั้น ย่อมรวมลงในอารัมมณปัจจัย อันเป็น
ที่ 1 แห่งปัจจัย 8 เหล่านั้นก่อน ปัจจัยที่เหลือ 23 ย่อมรวมเข้าไม่ได้.
ปัจจัย 15 เหล่านี้ คือ เหตุปัจจัย สหชาตาธิปติปัจจัย สหชาต-
ปัจจัย อัญญมัญญปัจจัย สหชาตนิสสยปัจจัย สหชาตกัมมปัจจัย วิปาก-
ปัจจัย สหชาตาหารปัจจัย สหชาตินทริยปัจจัย ฌานปัจจัย มัคคปัจจัย
สัมปยุตตปัจจัย สหชาตวิปปยุตตปัจจัย สหชาตัตถิปัจจัย สหชาตอวิคต-
ปัจจัย ย่อมรวมลงในสหชาตปัจจัยที่ 2.
ปัจจัย 9 เหล่านี้ คือ อารัมมณปัจจัยที่เป็นอธิบดี อธิปติปัจจัย
อนันตรปัจจัย สมนันตรปัจจัย อุปนิสสยปัจจัย อาเสวนปัจจัย พลวกัมม-
ปัจจัย ที่เป็นนานักขณิกะ นัตถิปัจจัย วิคตปัจจัย ย่อมรวมลงใน
อุปนิสสยปัจจัยที่ 3.

ปัจจัย 6 เหล่านี้ คือ ปุเรชาตปัจจัย ปุเรชาตนิสสยปัจจัย ปุเร-
ชาตินทริยปัจจัย ปุเรชาตวิปปยุตตปัจจัย ปุเรชาตัตถิปัจจย ปุเรชาต-
อวิคตปัจจัย ย่อมรวมลงในปุเรชาตปัจจัยที่ 4.
ปัจจัย 4 เหล่านี้ คือ ปัจฉาชาตปัจจัย ปัจฉาชาตวิปปยุตตปัจจัย
ปัจฉาชาตัตถิปัจจัย ปัจฉาชาตอวิคตปัจจัย ย่อมรวมลงในปัจฉาชาตปัจจัย
ที่ 5.
นานักขณิกกัมมปัจจัย ท่านสงเคราะห์แล้ว ใน กัมมปัจจัยที่ 6.
ปัจจัย 3 เหล่านี้ คือ อาหารปัจจัย อาหารัตถิปัจจัย อาหาร-
อวิคตปัจจัย ท่านสงเคราะห์แล้วด้วยอำนาจกพฬีการาหารในอาหารปัจจัย
ที่7.
ปัจจัย 3 เหล่านี้ คือ รูปชีวิตินทริยปัจจัย อินทริยัตถิปัจจัย
อินทรียอวิคตปัจจัย ย่อมรวมลงในอินทริยปัจจัยที่ 8. ผู้ศึกษาครั้นทราบ
ว่าปัจจัยเหล่านั้น ๆ รวมลงแล้วในปัจจัยหนึ่ง ๆ บรรดาปัจจัย 8 เหล่านี้
อย่างนี้แล้ว พึงทราบว่าปัจจัยเหล่าใดถึงการรวมลงในปัจจัยใด ปัจจัย
เหล่านั้นท่านถือเอาแล้วด้วยจำนวนแห่งปัจจัยที่รวมลงนั้น.
ปัญหา 15 ข้อเหล่านั้นว่า "กุศลธรรมเป็นปัจจัยแก่กุศลธรรมโดย
อารัมมณปัจจัย"
ดังนี้เป็นต้น ในปัจจนียนัยนี้ ในปัญหา 49 ข้อ
อันท่านยกขึ้นวิสัชนาแล้ว ด้วยอำนาจแห่งปัจจัย 8 เหล่านี้ ซึ่งเป็นที่รวม
แห่งปัจจัยทั้งหมด ด้วยประการฉะนี้. บรรดาปัญหาเหล่านั้น ปัญหา 4
ข้อ มีกุศลเป็นต้นว่า กุศลเป็นปัจจัยแก่กุศล กุศลเป็นปัจจัยแก่อกุศล
กุศลเป็นปัจจัยแก่อัพยากตะ กุศลเป็นปัจจัยแก่กุสลาพยากตะ. ปัญหา 4
ข้อที่มีอกุศลเป็นต้นก็เหมือนกัน. ส่วนปัญหา 3 ข้อ มีอัพยากตะเป็นต้น

คือ อัพยากตะเป็นปัจจัยแก่อัพยากตะ อัพยากตะเป็นปัจจัยแก่กุศล
อัพยากตะเป็นปัจจัยเก่อกุศล. ปัญหา 4 ข้อ มีปัจจยุบบัน 1 มีมูล 2
คือ กุศลและอัพยากตะเป็นปัจจัยแก่กุศล กุศลและอัพยากตะเป็นปัจจัยแก่
อัพยากตะ อกุศลและอัพยากตะเป็นปัจจัยแก่อกุศล อกุศลและอัพยากตะ
เป็นปัจจัยแก่อัพยากตะ. บรรดาปัญหาเหล่านั้น. ปัจจัยเหล่าใดพึงได้ใน
ปัญหาที่ 1 ท่านรวบรวมปัจจัยเหล่านั้นทั้งหมดแล้วกล่าวว่าปัจจัย 3. ใน
ปัญหาที่ 2 มีปัจจัย 2. ในปัญหาที่ 3 มีปัจจัย 5. ในปัญหาที่ 4 มี
ปัจจัย 1 เท่านั้น. ในปัญหาที่ 5 มีปัจจัย 3. ในปัญหาที่ 6 มีปัจจัย 2.
ในปัญหาที่ 7 มีปัจจัย 5. ในปัญหาที่ 8 มีปัจจัย 1 เท่านั้น. ในปัญหา
ที่ 9 มีปัจจัย 7. ในปัญหาที่ 10 มีปัจจัย 3. ในปัญหาที่ 11 มีปัจจัย 3.
ที่ 12 มีปัจจัย 2. ที่ 13 มีปัจจัย4. ที่ 14 มีปัจจัย 2. แม้ในปัญหา
ที่ 15 ก็มีปัจจัย 4 เหมือนกัน ปัจจัยเหล่านั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ตรัส
ว่า สหชาตปจฺจเยน แต่ตรัสว่า สหชาตํ ปจฺฉาชาตํ ข้าพเจ้าจักพรรณนา
เหตุในการตรัสอย่างนั้นข้างหน้า.
ก็เมื่อว่าโดยย่อในอธิการนี้ มีการกำหนดปัจจัย 6 หมวดเท่านั้น
คือ ปัจจัย 1-2-3-4-5 และ 7. จริงอยู่ บรรดาปัจจัยปัจจนียะทั้ง
24 ข้อ มีอาทิว่า การกำหนดปัญหาด้วยอำนาจการกำหนดอย่างสูงสูด
ในปัจจัยนียะแห่งปัญหาวาระ และการกำหนดปัจจัยที่ท่านรวบรวมปัจจัย
นั้น ๆ แสดงไว้นี้ มีนเหตุปัจจัยเป็นต้น ปัจจัยแห่งปัญหาวาระต่อจากนี้
ไปย่อมไม่ได้แม้ในปัจจนียะหนึ่ง แต่ย่อมได้ในหนหลัง เพราะฉะนั้น
ปัจจัย 1 เท่านั้นมาแล้วอย่างนี้ว่า กุศลธรรมเป็นปัจจัยแก่กุศลและ
อัพยากตะ ด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย. ในปัญหาเหล่าใด เมื่อปัจจัย

นั้นถูกปฏิเสธไปแล้ว ปัญหาเหล่านั้นย่อมลดไป. ก็ปัจจัยทั้ง2 มาแล้วใน
ปัญหาใดอย่างนี้ว่า กุศลธรรมเป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรม ด้วยอำนาจของ
อารัมมณปัจจัย และด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย
บรรดาปัจจัย
เหล่านั้นเมื่อปัจจัยข้อ 1 แม้ถูกปฏิเสธแล้วอย่างนี้ว่า นารัมมณปัจจยา
ปัญหานั้นย่อมได้ด้วยอำนาจแห่งปัจจัยนอกนี้ แต่เมื่อปัจจัยทั้ง2 นั้นถูก
ปฏิเสธแล้ว วาระนั้นจึงขาดไป ปัจจัยทั้งหลายในหมวด 3-4-5และ7
ย่อมได้ในปัญหาเหล่าใด ปัญหาเหล่านั้นย่อมได้ ด้วยอำนาจแห่งปัจจัย
ทั้งหลายที่เหลือ เว้นปัจจัยที่ท่านปฏิเสธแล้ว ก็เมื่อปัจจัยทั้งหมดถูกปฏิเสธ
ไปวาระทั้งหมดย่อมขาดไป ดังนี้แล นี้เป็นลักษณะในข้อนี้ บัณฑิตพึง
ทราบประเภทแห่งปัจจัยทั้งหลายที่ท่านย่อกล่าวไว้ในปัญหานั้นๆ ตั้งแต่ต้น
และการลดหรือไม่ลดปัญหานั้น ๆ ในปัจจัยนั้นๆด้วยลักษณะนี้.
ต่อไปนี้เป็นความพิสดารในเรื่องนั้น ในปัญหาที่ 1 ก่อน ปัจจัย
19 ท่านแสดงไว้แล้วด้วยปัจจัย 3. อย่างไร ? จริงอยู่ กุศลย่อมไม่เป็น
ปัจจัยแก่กุศลด้วยปุเรชาตปัจฉาชาตะและวิปากะ และวิปปยุตตปัจจัย แต่
ย่อมเป็นด้วยปัจจัย 20 ที่เหลือ. บรรดาปัจจัยเหล่านั้น อารัมมณปัจจัย
มี 1 เท่านั้น. ส่วนปัจจัย 5 ด้วยอำนาจเป็นที่รวมแห่งปัจจัยทั้งหมด
ท่านกล่าวว่าย่อมถือการสงเคราะห์ลงในสหชาตปัจจัย. เมื่อเหตุปัจจัยถูก
ปฏิเสธไป ปัจจัยเหล่านั้นย่อมมี 14. ก็คำว่า กุศลเป็นปัจจัย แก่กุศลด้วย
สหชาตปัจจัย พระองค์ตรัสหมายถึงปัจจัย 12 ที่เหลือ โดยนำปัจจัย 2
ออกไป เพราะกุศลเป็นปัจจัยแก่กุศล โดยวิปากปัจจัย (และ) วิปปยุตต-
ปัจจัยไม่ได้. ท่านกล่าวว่า ปัจจัย 9 ย่อมรวมลงแม้ในอุปนิสสยปัจจัย
ด้วยอำนาจปัจจัยที่รวมลงในปัจจัยทั้งปวง.

บรรดาปัจจัยเหล่านั้น อารัมมณปัจจัยที่เป็นอธิบดี และอธิปติ-
ปัจจัยที่เป็นอารมณ์ ผนวกเข้ากับอุปนิสสยปัจจัย ด้วยอำนาจเป็น
อารัมมณูปนิสสยะ. ฝ่ายกุศลย่อมไม่เป็นนานักขณิกกัมมปัจจัยแก่กุศล
เพราะฉะนั้น ท่านจึงนำออกเสีย แล้วกล่าวว่า อุปนิสฺสยปจฺจเยน ปจฺจโย
เพราะหมายเอาปัจจัย 6 ที่เหลือ.
ปัจจัย 19 พึงทราบว่าท่านแสดงแล้วด้วยปัจจัย 3 ในปัญหา
ที่ 1 (กุ-กุ) ด้วยประการฉะนี้.

บรรดาปัจจัยเหล่านั้น ในนเหตุปัจจนียะนี้ กุศลธรรมย่อมเป็น
ปัจจัยแก่กุศลธรรม ด้วยนเหตุปัจจัย เพราะฉะนั้น บัณฑิตพึงยกบาลีขึ้น
แสดง โดยนัยที่ท่านกล่าวไว้ในอารัมมณปัจจัยเป็นต้น มีอาทิอย่างนี้ว่า
บุคคลให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถแล้ว ย่อมพิจารณากุศลนั้น
ย่อมพิจารณาถึงกุศลทั้งหลายที่ประพฤติในกาลก่อน
ก็เมื่ออารัมมณ-
ปัจจัยถูกปฏิเสธแล้ว บัณฑิตนำความพิสดารแห่งอารัมมณปัจจัยนั้นออก
เพิ่มความพิสดารแห่งเหตุปัจจัย แล้วพึงแสดงบาลีนั้นนั่นแล แม้ในการ
ปฏิเสธปัจจัยที่เหลือก็นัยนี้เหมือนกัน ก็เมื่อปัจจัยใด ๆ ถูกปฏิเสธออก
วาระเหล่าใดลดไป ข้าพเจ้าจักพรรณนาวาระเหล่านั้นข้างหน้า.
ก็ในปัญหาที่ 2 (กุ-อกุ) ท่านแสดงปัจจัย 3 ด้วยปัจจัย 2.
อย่างไร ? คือ กุศลย่อมไม่เป็นปัจจัยแก่อกุศล ด้วยอำนาจของอนันตระ
เป็นต้น. เพราะฉะนั้น ท่านจึงน่าเอาอนันตรปัจจัยเป็นต้น เหล่านั้นออก
แล้วตรัสว่า "อุปนิสฺสยปจฺจเยน ปจฺจโย" โดยหมายเอา อารัมมณา-
ธิปติ และปกตูปนิสสยปัจจัย
อันท่านสงเคราะห์แล้วด้วยอารัมมณู-
ปนิสสยปัจจัย. เพราะฉะนั้น บัณฑิตพึงทราบว่า ปัจจัยทั้งหลาย 3 เหล่านี้

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้วด้วยปัจจัย 2 ในปัญหาที่ 2 คือ
อารัมมณปัจจัยล้วน ๆ กับอธิปติปัจจัย และอุปนิสสยปัจจัย ด้วยอำนาจ
อารัมมณาธิปติ.
ก็ในปัญหาที่ 3 (กุ-อัพ) ปัจจัย 18 ปัจจัย ท่านแสดงแล้วด้วย
ปัจจัย 5. อย่างไร ? คือ กุศลย่อมไม่เป็นปัจจัยแก่อัพยากตะ ด้วยอำนาจ
ของอัญญมัญญะ ปุเรชาตะ อาเสวน วิปากะ และสัหปยุตตปัจจัย. ย่อมเป็น
ด้วยอำนาจของปัจจัย 9 ที่เหลือ. บรรดาปัจจัยเหล่านั้น อารัมมณปัจจัย
มี 1. ก็เพราะกุศลย่อมไม่เป็นปัจจัยแก่อัพยากตะ ด้วยอำนาจอัญญมัญญะ
วิปากะ และสัมปยุตตปัจจัย. เหตุปัจจัยถูกปฏิเสธออก กัมมปัจจัยท่านถือ
เอาอีกแผนกหนึ่ง เพราะฉะนั้น ท่านจึงนำปัจจัย 5 เหล่านี้ออก แล้วแสดง
ปัจจัย 10 ด้วยสหชาตปัจจัย. บรรดาปัจจัย 6 ที่ท่านกล่าวไว้ในหนหลัง
โดยอุปนิสสยปัจจัย เว้นอาเสวนปัจจัย ปัจจัยที่เหลือมี5 ปัจฉาชาต-
ปัจจัย มี 1 เท่านั้น. อนึ่ง กัมมปัจจัย มี 2 อย่าง ด้วยอำนาจสหชาตกัมม-
ปัจจัย และนานากขณิกกัมมปัจจัย ผู้ศึกษาพึงทราบว่าปัจจัย 18 เหล่านี้
ท่านแสดงด้วยปัจจัย 5 ในปัญหาที่ 3 อย่างนี้ ด้วยประการฉะนั้น.
ปัจจัย 8 เหล่านี้ อันพระพุทธองค์ทรงแสดงแล้วด้วยปัจจัย 5 ใน
ปัญหาที่ 3อย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้.
ปัจจัย 10 ท่านแสดงแล้วด้วยปัจจัย 1 เท่านั้น ในปัญหาที่ 4
(กุ-ก อัพ). อย่างไร. จริงอยู่ กุศลย่อมไม่เป็นปัจจัยแก่กุลาพยากตะ
ด้วยอำนาจของอัญญมัญญะ วิปากะ สัมปยูตตะ และวิปปยุตตปัจจัย ใน
บรรดาปัจจัย 15 ที่ท่านกล่าวไว้แล้วในสหชาตปัจจัย เหตุปัจจัยถูกปฏิเสธ
ออกแล้ว ผู้ศึกษาชักปัจจัย 5 เหล่านี้ออก แล้วพึงทราบว่าปัจจัย 10 ที่

เหลือท่านแสดงแล้วด้วยปัจจัย 1 ในปัญหาที่ 4 นี้ ก็ปัจจัยเหล่านั้นท่าน
แสดงแล้วด้วยปัจจัยเหล่านั้นๆ. ในปัญหา 4 ข้อ มีกุศลเป็นต้นเหล่านี้
ฉันใด ผู้ศึกษาพึงทราบว่าปัจจัยเหล่านั้น ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง
แล้ว ด้วยปัจจัยเหล่านั้น ๆ ในปัญหา 4 ข้อ แม้มีอกุศลเป็นต้น ฉันนั้น
(ปัญหา 4 คือ อกุ-อกุ, อกุ-กุ, อกุ-อัพ, อกุ-อกุ อัพ).
ปัจจัย 23 ท่านแสดงแล้วด้วยปัจจัย 7 ในปัญหาที่ 1 แห่งปัญหา
3 ข้อ มีอัพยากตะเป็นต้น
อื่นจากนั้น (คือ อัพ -อัพ, อัพ-กุ, อัพ-อกุ)
อย่างไร. คือ อัพยากตะเป็นปัจจัยแก่อัพยากตะ แม้ด้วยปัจจัย24. ก็เมื่อ
เหตุปัจจัยถูกปฏิเสธออก ย่อมมีปัจจัย 23. บรรดาปัจจัยเหล่านั้น
อารัมมณปัจจัยมี 1 เท่านั้น ก็เพราะอาหารปัจจัย และอินทริยปัจจัยท่าน
ถือเอาอีกแผนกหนึ่ง เพื่อสงเคราะห์ธรรมที่ไม่เกิดรวมกันไว้ในอธิการนี้
ด้วย เพราะฉะนั้น ท่านจึงนำปัจจัย 3 เหล่านั้นออก แล้วแสดงปัจจัย 12
โสหชาตปัจจัย. ปัจจัยที่ท่านกล่าวไว้ในหนหลังโดยอุปนิสสยปัจจัยมี 6.
ปุเรชาตปัจจัยมี 1 เท่านั้น. ปัจฉาชาตะ อาหาระ และอินทริยปัจจัยก็เหมือน
กัน. บัณฑิตพึงทราบว่าปัจจัย 23 เหล่านี้ ท่านแสดงไว้แล้วด้วยปัจจัย 7
ในอธิการนี้ ด้วยประการฉะนี้.
ปัจจัย 12 ท่านแสดงแล้วด้วยปัจจัย 3 แม้ในปัญหาที่ 2 อย่างไร
คือ อารัมมณปัจจัยมี 1. ปัจจัย 6 คือ อารัมมณาธิปติ อนันตระ สม-
นันตระ นัตถิ วิคตะ และอุปนิสสยปัจจัย ท่านแสดงแล้วด้วยอำนาจแห่ง
อารัมมณูปนิสสยะ โดยอุปนิสสยปัจจัย. ปุเรชาตะ นิสสยะ วิปปยุตตะ
อัตถิ และอวิคตปัจจัย ท่านแสดงแล้วด้วยปุเรชาตปัจจัย. บัณฑิตพึงทราบ

ว่าปัจจัย 2 เหล่านี้ ท่านแสดงแล้วด้วยปัจจัย 3 ในปัญหาที่ 2 นี้ (อัพ-
กุ) ด้วยประการฉะนี้ แม้ในปัญหาที่3 (คือ อัพ-อกุ) ก็นัยนี้.
ในปัญหาที่ 1แห่งปัญหา 4 ข้อ ที่มีมูล 2 (คือ กุ, อัพ-กุ.
กุ. อัพ-อัพ. อก, อัพ-อกุ. อกุ, อัพ-อัพ.) ต่อจากนั้นพระองค์ไม่ตรัสว่า
สหชาตปจฺจเยน ปุเรชาตปจฺจเยน แล้วแสดงปัจจัย 3 ด้วยอำนาจนิสสยะ
อัตถิ และอวิคตปัจจัย ด้วยปัจจัย 2 ที่พระองค์ตรัสว่า สหชาตํ ปุเรชาตํ.
จริงอยู่ กุศลขันธ์ทั้งหลายเมื่อให้สำเร็จความเป็นปัจจัยแก่กุศล พร้อมกับ
วัตถุรูป เป็นสหชาตะแม้ก็จริง ถึงอย่างนั้นก็ไม่เป็นสหชาตปัจจัย เพราะ
เหตุไร? เพราะเจือด้วยวัตถุรูป. เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า สหชาตํ
ด้วยอำนาจแห่ง นิสสยะ อัตถิ และอวิคตะ อันเป็นสหชาตะเหล่านี้.
แม้ในวัตถุรูปก็นัยนี้เหมือนกัน. จริงอยู่ แม้วัตถุรูปนั้นจะเกิดก่อนก็จริง
แต่หาเป็นปุเรชาตปัจจัยไม่ เพราะรวมกับขันธ์ คำว่า ปุเรชาตํ ตรัสแล้ว
ด้วยอำนาจแห่งนิสสยปัจจัยเป็นต้น ที่เกิดก่อนอย่างเดียว.
ปัจจัย 4 ด้วยอำนาจสหชาตะ นิสสยะ อัตถิ และอวิคตะ พระองค์
ทรงแสดงแล้วด้วยปัจจัย 4 ที่ท่านกล่าวว่า สหชาตํ ปจฺฉาชาตํ อาหารํ
อินฺทฺริยํ ในปัญหาที่ 2.
จริงอยู่ ในวาระนี้ย่อมได้สหชาตปัจจัยด้วย
ไม่ได้ปัจฉาชาตปัจจัยเป็นต้น ก็คำนั้นท่านกล่าวด้วยอำนาจแห่งปัจฉาชาตะ
และอัตถิ และอวิคตะ กล่าวคือ อาหารและอินทรีย์ เพราะว่ากุศลขันธ์
ทั้งหลาย อัพยากตะและมหาภูตรูปเป็นปัจจัยแก่อุปาทายรูป โดยส่วน 4
คือ สหชาตปัจจัย นิสสยปัจจัย อัตถิปัจจัย อวิคตปัจจัย. ก็กุศลที่เกิดใน
ภายหลังเป็นปัจจัยแก่อุปาทายรูปเหล่านั้นนั่นหละ กับภูตรูปเหล่านั้น
เหมือนกัน ด้วยอำนาจอัตถิและอวิคตปัจจัย. แม้ กพฬีการาหาร กับกุศล

ที่เกิดภายหลัง ก็เป็นปัจจัยแก่กายที่เกิดก่อน ด้วยอำนาจของอัตถิและอวิคต-
ปัจจัย. แม้ รูปชีวิตินทรีย์ กับกุศลที่เกิดภายหลังก็เป็นปัจจัยแก่กัมมชรูป
ด้วยอำนาจของอัตถิและอวิคตปัจจัยนั่นเอง. คำนี้ว่า สหชาตํ ปจฺฉาชตํ
อาหารํ อินฺทฺริยํ
พระองค์ตรัสหมายถึงความเป็นปัจจัยโดยส่วน 4 นี้.
ก็ปัจฉาชาตะ อาหาระ และอินทริยปัจจัยย่อมไม่ได้ในอธิการนี้.
แม้ใน ปัญหา 2 ข้อ ที่รวมกับอกุศล ข้างหน้าก็นัยนี้เหมือนกัน.
บัณฑิตพึงทราบประเภทแห่งปัจจัยทั้งหลาย ที่ท่านย่อกล่าวไว้ในปัญหา
เหล่านั้น ๆ โนอธิการนี้ด้วยประการฉะนี้ ฝ่ายข้าพเจ้าจักทำให้แจ้ง ซึ่ง
ความลดและความไม่ลดแห่งปัญหาเหล่านั้นๆ ในปัจจัยนั้น ๆ ข้างหน้า
แล.
วรรณนาความแห่งปัจจยุทธาระ จบ

วรรณนาความแห่งกุสลติกปัฏฐาน


ปัจจนียนัย


วาระ 15 เหล่านี้ว่า กุสโล ธมฺโม กุสลสฺส ธมฺมสฺส เป็นต้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงไว้แล้ว ด้วยสามารถอนุโลม. เพราะแม้ใน
ปัจจนียะ ก็วาระเหล่านี้แหละ ไม่มีเกินไปกว่านี้ มีแต่ต่ำกว่านี้ ฉะนั้น
บัดนี้ เพื่อจะแสดงวาระที่จะมีได้ในปัจจนียะแห่งวาระใด ๆ ตั้งแต่ต้น ด้วย
อำนาจแห่งจำนวน พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงเริ่มคำว่า นเหตุยา ปณฺณรส
เป็นต้น.