เมนู

9 ฆฏนา ตรัสด้วยอำนาจมรรคเป็นทั้งอินทรีย์และฌาน.
6 ฆฏนาต่อจากนั้น ตรัสด้วยมรรคที่เป็นอธิบดี.
9 ฆฏนาต่อจากนั้น ตรัสด้วยอำนาจมรรคและเหตุที่ไม่เป็นอธิบดี.
6 ฆฏนาต่าจากนั้น ตรัสด้วยอำนาจมรรคและเหตุที่เป็นอธิบดี.
ในหมวดที่มี ฆฏนา 9 ฆฏนามีอยู่5 หมวด เป็นสวิปากฆฏนา
หมวดละ 5 ฆฏนา, ในหมวดที่มีฆฏนา 6 ฆฏนา เป็นสวิปากฆฏนา
หมวดละ 3 ฆฏนา. ที่เหลือเป็นสาธารณะ. ฆฏนาเหล่านั้นมีนัยดังข้าพเจ้า
กล่าวแล้วในหนหลัง.

สัมปยุตตมูลกนัย


ฆฏนาที่มีมูล 2 ใน นัยที่มีสัมปยุตตปัจจัยเป็นมูล ชัดเจนแล้ว.
ก็ในนัยนี้ฆฏนา 2 ฆฏนาเท่านั้น ใน 2 ฆฏนานั้น ฆฏนา 1 ตรัสด้วย
อำนาจธรรมทั่วไป ฆฏนา1 ตรัสด้วยอำนาจแห่งวิบาก.

วิปปยุตตมูลกนัย


แม้ในนัยที่มีวิปปยุตตปัจจัยเป็นมูล

ฆฏนาที่มีมูล 2 ชัดเจนแล้ว.
ก็ในนัยนี้มีฆฏนา 13 ฆฏนา. บรรดาฆฏนาเหล่านั้น. คำว่า ปญฺจ 5 วาระ
ในฆฏนาที่ 1 คือ กุศลเป็นปัจจัยแก่อัพยากตะ อกุศลเป็นปัจจัยแก่
อัพยากตะ ส่วนอัพยากตะเป็นปัจจัยแก่กุศล อกุศล และอัพยากตะทั้ง 3.
ก็ในนัยนี้มีวิปปยุตตปัจจัยเป็นต้นเหล่านี้ เกิดพร้อมกันก็มี เกิดภายหลัง
และเกิดก่อนก็มี.

ใน ฆฏนาที่ 2 เฉพาะที่เป็นปุเรชาตะและสหชาตะเท่านั้น.
ปัจจัยเหล่านั้นนั่นเอง ตรัสไว้ใน ฆฏนาที่ 3 ด้วยอำนาจแห่ง
อธิบดี. บรรดาปัจจัยเหล่านั้นได้วาระ 4 อย่างนี้ คือ กุศลเป็นปัจจัย
แก่อัพยากตะ อกุศลเป็นปัจจัยแก่อัพยากตะ แต่อัพยากตะเป็นปัจจัยแก่
อัพยากตะและแก่อกุศล ด้วยอำนาจแห่งอารัมมณาธิปติปัจจัย.
บทว่า ตีณิ 3 วาระ ใน ฆฏนาที่ 4 คือ กุศลเป็นต้น เป็นปัจจัย
แก่อัพยากตะ. ก็ในนี้ได้ทั้งรูปอินทรีย์และนามอินทรีย์.
ใน ฆฏนาที่ 5 นามเท่านั้นเป็นปัจจัย.
ใน ฆฏนาที่ 6 รูปคือวัตถุรูปเป็นปัจจัย.
ใน ฆฏนาที่ 7 รูปเป็นปัจจัยแก่กุศลและอัพยากตะ ด้วยอำนาจ
-แห่งวิปัสสนา. หทัยวัตถุเท่านั้นเป็นปัจจัยแก่อกุศล ด้วยอำนาจเป็นที่
ยินดี.
ใน ฆฏนาที่ 8 หทัยวัตถุนั้นเองเป็นปัจจัยแก่อกุศล.
ใน ฆฏนาที่ 9 จักขุเป็นต้น เป็นปัจจัยแก่อัพยากตะ.
ใน ฆฏนาที่ 10 กุศลเป็นต้น เป็นปัจจัยแก่รูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน.
ใน ฆฏนาที่ 11 วัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายในปฏิสนธิกาล.
ใน ฆฏนาที่ 12 ขันธ์ทั้งหลายเป็นปัจจัยแก่กฏัตตารูปในปฏิสนธิ-
กาล.
ใน ฆฏนาที่ 13 ขันธ์ทั้งหลายเป็นปัจจัยแก่วัตถุรูปในปฏิสนธิ-
กาล.

อัตถิมูลกนัย


ใน นัยที่มีอัตถิปัจจัย เป็นมูล. สองบทว่า อุปนิสฺสเย เอกํ ใน
อุปนิสสยปัจจัย มี 1 วาระ คือ อัพยากตะเป็นปัจจัยแก่อกุศลด้วยอำนาจ
อารัมมณูปนิสสยะ ฆฏนาที่เหลือในทุมูลกนัยตื้นทั้งนั้น. ก็ในนัยนี้มี
ฆฏนา 29 ฆฏนา. บรรดาฆฏนาเหล่านั้น ฆฏนาที่ 1 ได้สหชาตปัจจัย-
ปุเรชาตปัจจัย และปัจฉาชาตปัจจัย ด้วยอำนาจอรูป, วัตถุอารมณ์,
มหาภูตรูป อินทรีย์, และอาหาร.
ใน ฆฏนาที่ 2 ได้กพฬีการาหารและรูปชีวิตินทรีย์ที่เกิดในภาย-
หลัง.
ฆฏนาที่ 1 และที่ 2 เท่านั้นกับอธิปติปัจจัย ท่านจัดเป็น ฆฏนา
ที่ 3 และ ฆฏนาที่ 4 ในฆฏนาต่อไป.
เฉพาะฆฏนาที่ 1 กับอาหาร 4 จัดไว้เป็น ฆฏนาที่ 5.
ฆฏนาที่ 1 กับรูปชีวิตินทรีย์จัดเป็น ฆฏนาที่ 6 กับรูปและอรูป-
อินทรีย์จัดไว้เป็น ฆฏนาที่ 7 อีก.
ก็หรือว่าเฉพาะฆฏนาที่ 2 เท่านั้น กับอินทรีย์ทั้งหลายจัดเป็น
ฆฏนาที่ 7.
เฉพาะฆฏนาที่ 1 และที่ 2 กับวิปปยุตตปัจจัยจัดเป็น ฆฏนาที่ 8
และ ฆฏนาที่ 9.
บรรดาฆฏนาเหล่านั้น ฆฏนาที่ 9 กับอธิปติปัจจัยจัดเป็น ฆฏนา
ที่ 10.

ต่อจากนั้น เอาวัตถุรูปออก ด้วยอำนาจเป็นปัจจัยใน ฆฏนาที่ 11.