เมนู

ฆฏนาที่ 5 ได้เฉพาะวัตถุรูป.

อัญญมัญญมูลกนัย


ใน อัญญมัญญมูลกนัย มีฆฏนา 6 บรรดาฆฏนา 6 เหล่านั้น
3 ฆฏนาแรกเป็นอวิปากฆฏนา 3 ฆฏนาท้ายเป็นสวิปากฆฏนา วิธีคำนวณ
ในฆฏนาเหล่านั้นแจ่มแจ้งแล้ว.

นิสสยมูลกนัย


พึงทราบวินิจฉัยในนัยที่มี นิสสยปัจจัยเป็นมูล ต่อไป. คำว่า
นิสฺสยปจฺจยา อารมฺมเณ ตีณิ เพราะนิสสยปัจจัย ในอารัมมณปัจจัย
มี 3 วาระ ผู้ศึกษาพึงทราบวิสัชนา 3 วาระ ด้วยอำนาจแห่งกุศลเป็นต้น
ที่ยกวัตถุขึ้นเป็นอารมณ์เป็นไป (เป็นไปโดยเอาวัตถุเป็นอารมณ์). สอง
บทว่า อุปนิสฺสเย เอกํ ในอุปนิสสยปัจจัย มี 1 วาระ คือ อกุศลที่ยึด
วัตถุเป็นอารัมมณูปนิสสัยเกิดขึ้น คำที่เหลือพึงทราบตามนี้ที่ข้าพเจ้ากล่าว
แล้วในทุกะมูลกนัยในหนหลัง.
ก็ในนิสสยปัจจัยนี้มีฆฏนา 20 ฆฏนา. บรรดาฆฏนาเหล่านั้น 6
ฆฏนาข้างต้น ตรัสไว้ด้วยอำนาจสหชาตะและปุเรชาตะ. 4 ฆฏนานอก
จากนั้น ตรัสด้วยอำนาจปุเรชาตะอย่างเดียว. ต่อไป 10 ฆฏนา ตรัสด้วย
อำนาจสหชาตะอย่างเดียว.
ในบรรดาฆฏนาเหล่านั้น คำว่า เตรส 13 ใน ฆฏนาที่ 1 ได้แก่
วิสัชนา 13 วาระ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้นั่นเทียว ในนิสสยปัจจัย-

วิภังค์. คำว่า อฏฺฐ 8 ใน ฆฏนาที่ 2 ได้แก่วิสัชนา 8 วาระ คือ
วิสัชนา 7 วาระ ด้วยอำนาจแห่งสหชาตาธิปติปัจจัย และ 1 วาระ ที่
อกุศลกระทำวัตถุให้หนัก.
คำว่า สตฺต 7 วาระ ใน ฆฏนาที่ 3 คือ วิสัชนา 7 วาระ ที่ได้
แล้วในอินทริยปัจจัยนั่นเทียว.
คำว่า ปญฺจ 5 วาระ ใน ฆฏนาที่ 4 คือ วิสัชนา 5 วาระ ที่ได้
แล้วในวิปปยุตตปัจจัยนั่นเทียว.
คำว่า จตฺตาริ 4 วาระ ใน ฆฏนาที่ 5 ได้แก่ วิสัชนาที่มีกุศล
เป็นต้น เป็นปัจจัยแก่รูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน และวัตถุเป็นปัจจัยแก่
อกุศล.
คำว่า ตีณิ 3 วาระ ใน ฆฏนาที่ 6 คือ กุศลเป็นต้น เป็นปัจจัย
แก่รูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน.
ในบรรดาฆฏนา 4 ฆฏนาด้วยสามารถแห่ง ปุเรชาตปัจจัย. คำว่า
ตีณิ 3 วาระ ใน ฆฏนาที่ 1 วัตถุเป็นปัจจัยแก่กุศลเป็นต้น และวัตถุ
มีจักขุเป็นต้นเป็นปัจจัยแก่อัพยากตะ.
ใน ฆฏนาที่ 2 วัตถุเท่านั้น เป็นปัจจัยแก่กุศลเป็นต้น.
ใน ฆฏนาที่ 3 คำว่า เอกํ คือ วัตถุเป็นปัจจัยแก่อกุศล.
ใน ฆฏนาที่ 4 วัตถุมีจักขุเป็นต้น เป็นปัจจัย แก่หมวด 5 แห่ง
วิญญาณจิต (คือ ทวิปัญจวิญญาณ). ผู้ศึกษาพึงทราบโดยนัยที่ข้าพเจ้า
จำแนกฆฏนา 10 ออกเป็น 2 ฝ่าย คือ สวิปากฆฏนา และ อวิปาก-
ฆฏนา
ด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัยแล้วกล่าวไว้ในสหชาตมูลกนัย.

อุปนิสสยมูลกนัย


พึงทราบวินิจฉัยในฆฏนาที่มี อุปนิสสยปัจจัยเป็นมูล ต่อไป. สอง
บทว่า อารมฺมเณ สตฺต ในอารัมมณปัจจัย มี 7 วาระ คือ วิสัชนาที่ได้
ในอารัมมณูปนิสสยปัจจัย. คำว่า อธิปติยา สตฺต ในอธิปติปัจจัย มี 7
วาระ ก็ได้แก่วาระเหล่านั้นเหมือนกัน. บรรดาอนันตรปัจจัยและ
สมนันตรปัจจัย วิสัชนาเหล่านั้นแหละได้ในอนันตรปนิสสยปัจจัยด้วย.
สองบทว่า นิสฺสเย เอกํ ในนิสสยปัจจัย มี 1 วาระคือ วัตถุเป็นปัจจัย
แก่อกุศล. สองบทว่า ปุเรชาเต เอกํ ในเปุเรชาตปัจจัย มี 1 วาระ
ได้แก่ วัตถุหรืออารมณ์เป็นปัจจัยแก่อกุศลนั้นนั่นเอง. สองบทว่า อาเส-
วเน ตีณิ
ในอาเสวนปัจจัย มี 3 วาระ ตรัสไว้ด้วยอำนาจอนันตรูป-
นิสสยปัจจัย. สองบทว่า กมฺเม เทฺว ในกัมมปัจจัย มี 2 วาระ ตรัสไว้
ด้วยอำนาจปกตูปนิสสยปัจจัย. แต่ว่า โลกุตตรกุศลเจตนา ย่อมเป็นแม้
อนันตรปนิสสยปัจจัย.
สองบทว่า วิปฺปยุตฺเต เอกํ ในวิปปยุตตปัจจัย
มี 1 วาระ ตรัสไว้ด้วยอำนาจอารัมมณูปนิสสัย. ในอัตถิปัจจัยและอวิคต-
ปัจจัยก็เหมือนกัน.
วิสัชนา 7 วาระ ในนัตถิปัจจัย และ วิคตปัจจัย เหมือนกับ
อนันตรปัจจัย.
ก็ฆฏนาที่มี อุปนิสสยปัจจัยเป็นมูล มี 7 ฆฏนา บรรดาฆฏนา
เหล่านั้น 3 ข้อข้างต้น ตรัสด้วยอำนาจอารัมมณูปนิสสยปัจจัย. ใน 3
ฆฏนานั้น ในฆฏนาที่ 1 บทว่า สตฺต 7 วาระ ความว่า มีวิสัชนา 7
อย่างนี้ คือ กุศลเป็นปัจจัยแก่กุศลเป็นต้น อัพยากตะก็เหมือนกัน (รวม
เป็น 6) อกุศลเป็นปัจจัยแก่อกุศลอย่างเดียว.