เมนู

และอารมณ์หรือด้วยอำนาจอารมณ์. บทว่า เอกํ ในฆฏนาที่ 5 ได้แก่
อกุศลที่มีอัพยากตะเป็นมูลโดยเป็นนิสสยปัจจัย.
ผู้ศึกษาพึงทราบวิธีนับในติมูลกนัยเป็นต้น ด้วยอำนาจปัจจัยที่ได้
อยู่ในอธิการนี้ ดังพรรณนามาแล้ว. แม้ในนัยที่มีอธิปติปัจจัยเป็นมูล
ก็เหมือนกัน. แต่สำหรับข้าพเจ้าจะไม่ขอกล่าวอธิบายอย่างพิสดาร ด้วย
อำนาจอารัมมณะ อินทรีย์ และวิปากปัจจัย จะกล่าวเฉพาะที่สมควรกล่าว
ในที่นั้น ๆ เท่านั้น.

อธิปติมูลกนัย


พึงทราบวินิจฉัย ใน อธิปติมูลกนัย ต่อไป. สองบทว่า สหชาเต
สตฺต
ในสหชาตปัจจัย มี 7 วาระ ได้วิสัชนา 7 วาระ คือ วิสัชนา
3 วาระ มีกุศลเป็นมูลด้วยอำนาจสหชาตาธิปติปัจจัย วิสัชนา 3 วาระ
มีอกุศลเป็นมูล, วิสัชนาอีก 1 วาระ มีอัพยากตะเป็นมูล. ก็อารัมมณธิปติ-
ปัจจัยย่อมไม่ได้สหชาตปัจจัย และสหชาตปัจจัยก็ย่อมไม่ได้อารัมมณาธิปติ-
ปัจจัย. สองบทว่า อญฺญมญฺเญ ตีณิ ในอัญญมัญญปัจจัย มี 3 วาระ
คือ มีวิสัชนา 3 วาระ ด้วยอำนาจสหชาตาธิปติปัจจัยเท่านั้น. สองบทว่า
นิสฺสเย อฏฺฐ ในนิสสยปัจจัย มี 8 วาระ คือ มีกุศลเป็นมูล 3 วาระ.
มีอกุศลเป็นมูล 3 วาระ, มีอัพยากตะเป็นมูล 2 วาระ. จริงอยู่ อธิบดี
ที่เป็นอัพยากตะ ย่อมเป็นที่อาศัยแห่งอัพยากตธรรม โดยเป็นสหชาตปัจจัย
และอารัมมณปัจจัย เป็นที่อาศัยแห่งอกุศล โดยเป็นอารัมมณปัจจัยอย่าง
เดียว แต่ไม่เป็นที่อาศัยแห่งกุศลธรรมโดยประการทั้งสอง วิสัชนาที่มี

อัพยากตะเป็นมูลมี 2 วาระเท่านั้น รวมเป็นวิสัชนา 8 วาระ ด้วยอธิบาย
มานี้.
วิสัชนา 7 วาระ ในอุปนิสสยปัจจัยเหมือนกับอารัมมณปัจจัยนั้นเอง.
สองบทว่า ปุเรชาเต เอกํ ในปุเรชาตปัจจัย มี 1 วาระ อัพยากตาธิบดี
เป็นปัจจัยแก่อกุศล ด้วยอำนาจอารมณ์. สองบทว่า วิปาเก เอกํ ใน
วิปากปัจจัย มี วาระ คือ โลกุตตรอัพยากตะกับอัพยากตะ. วิสัชนา
7 วาระ ในอาหารปัจจัยเป็นต้น ได้แล้วในเอกมูลกนัยในหนหลังนั่นเอง.
สองบทว่า วิปฺปยุตฺเต จตฺตาริ ในวิปปยุตตปัจจัย มี 4 วาระ คือ
อัพยากตะกับกุศล, อัพยากตะกับอกุศล, อัพยากตะกับอัพยากตะ, และ
กุศลกับอัพยากตะ. วิสัชนา 8 วาระในอัตถิปัจจัยและอวิตตปัจจัยเช่นเดียว
กับนิสสยปัจจัยนั่นเอง.
ก็ในอธิการนี้ ฆฏนาทั้งหลายท่านไม่ประกอบกับอารัมมณปัจจัย
เป็นต้น ตามลำดับ ประกอบกับอัตถิปัจจัยและอวิคตปัจจัยก่อน. ถามว่า
เพราะเหตุไร ? ตอบว่า เพราะรวมอธิบดีทั้งสองปัจจัย ไว้ด้วยกัน.
บรรดาฆฏนาเหล่านั้น ในฆฏนาต้น ได้วัตถุที่เป็นอารมณ์ (วัตถา-
รัมมณะ) ด้วยอำนาจของอารัมมณาธิปติปัจจัย.
ในฆฏนาที่ 2 ได้วัตถุอย่างเดียว สำหรับบุคคลผู้ยินดีอย่างหนัก
ด้วยอำนาจเป็นที่อาศัย (สำหรับบุคคลผู้ทำไห้หนักด้วยอำนาจเป็นที่อาศัย
แล้วยินดีอยู่).
ในฆฏนาที่ 3 ได้ธรรมมีกุศลเป็นต้น เป็นปัจจัยแก่รูปทั้งหลาย
ด้วยอำนาจของสหชาตาธิปติปัจจัย. ได้วัตถุเป็นปัจจัยแก่อกุศล ด้วย
อำนาจของอารัมมณาธิปติปัจจัย.

ฆฏนา 3 ข้อ นอกจากนั้นตรัสไว้ด้วยอำนาจอารัมมณาธิปติปัจจัย.
บรรดาฆฏนาเหล่านั้น วิสัชนา 7 วาระ ในฆฏนาที่ 1 ข้าพเจ้ากล่าวไว้
เรียบร้อยแล้วในหนหลัง.
บทว่า เอกํ ในฆฏนาที่ 2 คือ วัตถุที่เป็นอารมณ์ที่เกิดก่อนเป็น
ปัจจัยแก่อกุศล. ในฆฏนาที่ 3 วัตถุเท่านั้นเป็นปัจจัยแก่อกุศล.
ฆฏนา 3 ข้อต่อจากนั้น ทั่วไปแก่ธรรมทั้งที่เป็นวิบากและมิใช่
วิบาก ตรัสไว้ด้วยอำนาจสหชาตาธิปติปัจจัย. บรรดาฆฏนาเหล่านั้นใน
ฆฏนาที่ 1 ได้ทั้งรูปและอรูป.
ฆฏนาที่ 2 ได้เฉพาะอรูปอย่างเดียว.
ฆฏนาที่ 3 ได้รูปเท่านั้น.
ฆฏนาที่ 3 ข้อนอกจากนั้น ตรัสไว้ ด้วยอำนาจวิปากาธิปติปัจจัย.
แม้บรรดา 3 ฆฏนานั้น ฆฏนาท 1 ได้ทั้งรูปและอรูป.
ฆฏนาที่ 2 ได้อรูป.
ฆฏนาที่ 3 ได้เฉพาะรูปเท่านั้น.
ฆฏนา 6 นอกจากนั้นประกอบด้วยอาหาระและอินทริยปัจจัย ตรัส
ไว้ด้วยอำนาจแห่งจิตตาธิปติปัจจัย. บรรดาฆฏนา 6 ฆฏนาเหล่านั้นไม่มี
วิบาก 3 ฆฏนา มีวิบาก 3 ฆฏนา. วิธีคำนวณในฆฏนาเหล่านั้นแจ่มแจ้ง
แล้วแล. ฆฏนา 6 ฆฏนานอกจากนั้นตรัสไว้ด้วยอำนาจวิริยาธิปติ.
ถามว่า ก็เมื่อว่าตามลำดับอธิบดีแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าพึงตรัส
ฆฏนาด้วยอำนาจวิริยาธิปติไว้เป็นอันดับแรกมิใช่หรือ (แต่) ทำไมพระ-
พุทธองค์จึงไม่ตรัสอย่างนั้น. แก้ว่า เพราะฆฏนาเหล่านั้นเหมือนกับ
ฆฏนาที่ตรัสไว้ด้วยอำนาจเหตุข้างหน้า. จริงอยู่ ฆฏนาที่ตรัสไว้ด้วยอำนาจ

เหตุข้างหน้าเกี่ยวเนื่องด้วยมรรค เพราะอโมหเหตุเป็นวีมังสาธิปติ และ
เพราะวีมังสาธิปติเป็นตัวสัมมาทิฏฐิ. อนึ่ง แม้วิรยะก็จัดเป็นมรรค เพราะ
เป็นสัมมาวายามะ และมิจฉาวายามะ เพราะฉะนั้น ฆฏนาทั้งหลายพระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสหมุนเวียนไปกับวิริยะนั้นว่า เหมือนกันกับฆฏนา
ที่ตรัสไว้ด้วยอำนาจแห่งเหตุข้างหน้า. วิธีคำนวณแม้ในฆฏนาเหล่านั้น
แจ่มแจ้งแล้วแล.

อนันตร-สมนันตรมูลกนัย


บทว่า สตฺต 7 นฆฏนาที่มี อนันตรปัจจัยและสมนันตรปัจจัย
เป็นมูล
ความว่า มีวิสัชนา 7 วาระอย่างนี้ คือ กุศลเป็นปัจจัยแก่กุศล
และแก่อัพยากตะ, อกุศลเป็นปัจจัยแก่อกุศลและแก่อัพยากตะ, อัพยา-
กตะเป็นปัจจัยแก่กุศลแก่อกุศล และแก่อัพยากตะแม้ทั้ง 3. สองบทว่า
กมฺเม เอกํ ในกัมมปัจจัย มี 1 วาระ คือ กุศลมัคคเจตนา เป็นปัจจัย
แก่วิปากาพยากตะของตน ก็ในปัจจัยเหล่านั้นมีฆฏนา 3 เท่านั้น ฆฏนา
เหล่านั้น ประกอบตามลำดับวิสัชนาที่มีวาระมาก.
พึงทราบวินิจฉัยใน ฆฏนาที่มีสหชาตปัจจัย อัญญมัญญปัจจัย และ
นิสสยปัจจัยเป็นมูล ต่อไป. ปัจจัยใด ๆ ที่ตรัสไว้ในทุมูลกนัย ปัจจัย
นั้นเป็นสภาคะกับปัจจัยที่อยู่ข้างต้น เพราะฉะนั้น ผู้ศึกษาครั้นทราบวิธี
คำนวณในทุมูลกนัยแล้ว พึงทราบวิธีคำนวณในฆฏนาทั้งหลายในที่ทุก
แห่งด้วยอำนาจปัจจัยที่คำนวณได้น้อยกว่าในบรรดาปัจจัย ที่นำมาเชื่อม
ข้างปลาย.