เมนู

ในหนหลัง. บรรดาฆฏนาที่มีอธิบดี 3 ฆฏนาข้างต้น ตรัสไว้ด้วยอำนาจ
แห่งเหตุทั้งที่เป็นวิบากและไม่เป็นวิบากโดยสามัญ.
บรรดาฆฏนาเหล่านั้น ใน ฆฏนาที่ 1 มี 4 วาระ มีนัยดังกล่าว
แล้วนั่นแล.
ใน ฆฏนาที่ 2 ไม่มีรูป.
ใน ฆฏนาที่ 3 ไม่มีอรูป. 3 ฆฏนานอกจากนั้นตรัสไว้ด้วยอำนาจ
แห่งเหตุฝ่ายวิบาก.
บรรดาฆฏนาเหล่านั้น ฆฏนาที่ 1 ได้ทั้งรูปและนาม.
ฆฏนาที่ 2 ได้แต่นามเท่านั้น.
ฆฏนาที่ 3 ได้เฉพาะรูปแล.
ผู้ศึกษา ครั้นทราบวิธีคำนวณที่ได้ในการประกอบร่วมแห่งปัจจัย
นั้น ๆ ดังพรรณนามาแล้ว พึงขยายวิธีคำนวณในติมูลกนัยเป็นต้น
ต่อไป.
เหตุมุลกนัย จบ

อารัมมณมูลกนัย


พึงทราบวินิจฉัย ในฆฏนาที่มีอารมณ์เป็นมูล ต่อไป. ปัจจัย 7 มี
อธิปติปัจจัยเป็นต้น เป็นสภาคะกับอารัมมณปัจจัย ที่เหลือ 16 ปัจจัย
เป็นวิสภาคะ เพราะฉะนั้น อย่าประกอบปัจจัย16เหล่านั้น (กับอารัมมณ-
ปัจจัย) ประกอบเฉพาะ 7 ปัจจัยเท่านั้น. บรรดาบทเหล่านั้น สองบทว่า
อธิปติยา สตฺต ความว่า ในอธิปติปัจจัย มีวิสัชนา 7 วาระ คือ

วิสัชนา 3 วาระ ที่มีกุศลเป็นมูลอย่างนี้ คือ กุศลธรรมเป็นปัจจัยแก่
กุศลธรรม 1 แก่อกุศลธรรม 1 แก่อัพยากตธรรม 1, วิสัชนา 1 วาระ
มีอกุศลเป็นมูล, วิสัชนา 3 วาระมีอัพยากตะเป็นมูล. สองบทว่า นิสฺสเย
ตีณิ
คือ วิสัชนา 3 วาระ มีอัพยากตะเป็นมูลด้วยอำนาจแห่งวัตถุนั่นเอง.
สองบทว่า อุปนิสฺสเย สตฺต เหมือนที่กล่าวไว้ในหนหลัง. สองบทว่า
ปุเรชาเต ตีณิ คือ วิสัชนา 3 วาระ ที่มีอัพยากตะเป็นมูลด้วยอำนาจ
วัตถุและอารมณ์. สองบทว่า วิปฺปยุตฺเต ตีณิ คือ วิสัชนา 3 วาระ ที่มี
อัพยากตะเป็นมูลด้วยอำนาจวัตถุอย่างเดียว. สองบทว่า อตฺถิอวิคเตสุ ตีณิ
คือ วิสัชนา 3 วาระ ที่มีอัพยากตะเป็นมูลด้วยอำนาจวัตถุที่เป็นอารมณ์.
เหมือนอย่างในเหตุมูลกนัย ท่านตั้งฆฏนาไว้เพื่อแสดงข้อกำหนด ฉันใด
แม้ในอารัมมณมูลกนัยเป็นต้น ก็ฉันนั้นเหมือนกัน.
บรรดาฆฏนาเหล่านั้น ในฆฏนา 5 ที่ท่านตั้งไว้ในอารัมมณมูลก-
นัยนี้ก่อน บรรดาฆฏนาเหล่านั้น
ฆฏนาที่ 1 มี ธิบดีด้วยอำนาจอารัมณาธิปติปัจจัย บรรดาบท
เหล่านั้น บทว่า สตฺต คือ วิสัชนาที่ได้ในอารัมมณาธิปติทุกะนั่นเอง.
ฆฏนาที่ 2 ไม่มีอธิบดี. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตีณิ คือ
วิสัชนาที่อัพยากตะเป็นมูล ด้วยอำนาจแห่งวัตถุและอารมณ์หรืออารมณ์
อย่างเดียว.
ฆฏนาที่ 3 ประกอบในนิสสยปัจจัย. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า
ตีณิ คือ มีอัพยากตะเป็นมูลด้วยอำนาจวัตถุ.
ฆฏนาที่ 4 และ ฆฏนาที่ 5 มีอธิบดี ในสองข้อนั้น บทว่า
เอกํ ในฆฏนาที่ 4 ได้แก่ อกุศลที่มีอัพยากตะเป็นมูล ด้วยอำนาจวัตถุ

และอารมณ์หรือด้วยอำนาจอารมณ์. บทว่า เอกํ ในฆฏนาที่ 5 ได้แก่
อกุศลที่มีอัพยากตะเป็นมูลโดยเป็นนิสสยปัจจัย.
ผู้ศึกษาพึงทราบวิธีนับในติมูลกนัยเป็นต้น ด้วยอำนาจปัจจัยที่ได้
อยู่ในอธิการนี้ ดังพรรณนามาแล้ว. แม้ในนัยที่มีอธิปติปัจจัยเป็นมูล
ก็เหมือนกัน. แต่สำหรับข้าพเจ้าจะไม่ขอกล่าวอธิบายอย่างพิสดาร ด้วย
อำนาจอารัมมณะ อินทรีย์ และวิปากปัจจัย จะกล่าวเฉพาะที่สมควรกล่าว
ในที่นั้น ๆ เท่านั้น.

อธิปติมูลกนัย


พึงทราบวินิจฉัย ใน อธิปติมูลกนัย ต่อไป. สองบทว่า สหชาเต
สตฺต
ในสหชาตปัจจัย มี 7 วาระ ได้วิสัชนา 7 วาระ คือ วิสัชนา
3 วาระ มีกุศลเป็นมูลด้วยอำนาจสหชาตาธิปติปัจจัย วิสัชนา 3 วาระ
มีอกุศลเป็นมูล, วิสัชนาอีก 1 วาระ มีอัพยากตะเป็นมูล. ก็อารัมมณธิปติ-
ปัจจัยย่อมไม่ได้สหชาตปัจจัย และสหชาตปัจจัยก็ย่อมไม่ได้อารัมมณาธิปติ-
ปัจจัย. สองบทว่า อญฺญมญฺเญ ตีณิ ในอัญญมัญญปัจจัย มี 3 วาระ
คือ มีวิสัชนา 3 วาระ ด้วยอำนาจสหชาตาธิปติปัจจัยเท่านั้น. สองบทว่า
นิสฺสเย อฏฺฐ ในนิสสยปัจจัย มี 8 วาระ คือ มีกุศลเป็นมูล 3 วาระ.
มีอกุศลเป็นมูล 3 วาระ, มีอัพยากตะเป็นมูล 2 วาระ. จริงอยู่ อธิบดี
ที่เป็นอัพยากตะ ย่อมเป็นที่อาศัยแห่งอัพยากตธรรม โดยเป็นสหชาตปัจจัย
และอารัมมณปัจจัย เป็นที่อาศัยแห่งอกุศล โดยเป็นอารัมมณปัจจัยอย่าง
เดียว แต่ไม่เป็นที่อาศัยแห่งกุศลธรรมโดยประการทั้งสอง วิสัชนาที่มี