เมนู

อธิบายการนับวาระในอนุโลม


ในฆฏนานัยแห่งปัญหาวาระ


เหตุมูกนัย


บัดนี้ เพื่อจะแสดงวิสัชนาคามที่ได้ในปัญหาวาระนี้ ด้วยอำนาจ
การนับ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัส คำว่า เหตุยา สตฺต ในเหตุปัจจัย
มี 7 วาระ
เป็นต้น บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สตฺต คือ มีวิสัชนา 7
วาระอย่างนี้ คือ วิสัชนา 3 วาระ คือ กุศลกับกุศล, อัพยากตะกับกุศล,
กุสลาพยากตะกับกุศล. อกุศลมี 3 วาระ เช่นเดียวกับกุศล, อัพยากตะ
กับอัพยากตะ มี 1 วาระเท่านั้น.
สองบทว่า อารมฺมเณ นว คือ ในอารัมมณปัจจัย มีวิสัชนา 9
วาระ
ซึ่งแต่ละวาระมีบทต้น 1 บท บทอวสาน 1 บท. สองบทว่า
อธิปติยา ทส คือ ในอธิปติ มีวิสัชนา 10 วาระ อย่างนี้คือ วิสัชนา
4 วาระ อันมีกุศลเป็นมูล คือ กุศลเป็นปัจจัยแก่กุศล โดยสหชาตปัจจัย
และอารัมมณปัจจัย เป็นปัจจัยแก่กุศลโดยอารัมมณปัจจัยเท่านั้น เป็นปัจจัย
แก่อัพยากตะโดยเป็นสหชาตปัจจัย และโดยอารัมมณปัจจัย เป็นปัจจัยแก่
กุสลาพยากตะ โดยเป็นสหชาตปัจจัยเท่านั้น. วิสัชนา 3 ข้อ ซึ่งมีอกุศล
เป็นมูล คือ อกุศลเป็นปัจจัยแก่อกุศลโดยสหชาตปัจจัยและอารัมมณปัจจัย
เป็นปัจจัยแก่อัพยากตะโดยสหชาตปัจจัยเท่านั้น เป็นปัจจัยแก่อกุสลาพยา-
กตะโดยเป็นสหชาตปัจจัยเท่านั้น (และ) วิสัชนา 3 ข้อ ซึ่งมีอัพยากตะ
เป็นมูล คือ อัพยากตะเป็นปัจจัยแก่อัพยากตะโดยสหชาตปัจจัยและ
อารัมมณปัจจัย เป็นปัจจัยแก่กุศลโดยอารัมมณปัจจัยเท่านั้น เป็นปัจจัยแก่

อกุศลโดยอารัมมณปัจจัยเหมือนกัน ก็ในอธิปปัจจัยนี้ย่อมได้อารัมมณา-
ธิปติ 7 วาระ และสหชาตาธิปติ 7 วาระเหมือนกัน.
สองบทว่า อนนฺตเร สตฺต ได้แก่ ในอนันตรปัจจัย มีวิสัชนา 7
วาระ
อย่างนี้ คือ วิสัชนา 2 วาระ มีกุศลเป็นมูล วิสัชนา 2 วาระ
มีอกุศลเป็นมูล วิสัชนา 3 วาระ มีอัพยากตะเป็นมูล. แม้ในสมนันตร-
ปัจจัย ก็มีวิสัชนา 7 วาระเหล่านี้เหมือนกัน.
สองบทว่า สหชาเต นว ความว่า ในสหชาตปัจจัย มีวิสัชนา
9 วาระ
อย่างนี้ คือ วิสัชนามีกุศลเป็นมูล 3 วาระ มีอกุศลเป็นมูล 3
วาระ มีอัพยากตะเป็นมูล 1 วาระ มีกุสลาพยากตะเป็นมูล 1 วาระ มี
อกุสลาพยากตะเป็นมูลอีก 1 วาระ.
สองบทว่า อญฺญมญเญ ตีณิ ได้แก่ ในอัญญมัญญปัจจัย มี
วิสัชนา 3 วาระ
อย่างนี้ คือ กุศลกับกุศล 1 วาระ อกุศลกับอกุศล 1
วาระ อัพยากตะกับอัพยากตะ 1 วาระ.
สองบทว่า นิสฺสเย เตรส ความว่า ในนิสสยปัจจัย มีวิสัชนา
13 วาระ อย่างนี้ คือ วิสัชนาที่มีกุศลเป็นมูล 3 วาระ มีอกุศลเป็นมูล
3 วาระ มีอัพยากตะเป็นมูล 3 วาระโดยสหชาตปัจจัยนั่นเอง. ก็ใน
วิสัชนามีอัพยากตะเป็นมูลนี้ ย่อมได้ปุเรชาตปัจจัยด้วย จริงอยู่ อัพยากตะ
กับอัพยากตะเป็นสหชาตะกันก็ได้ เป็นปุเรชาตะก็ได้. อัพยากตะเป็น
ปัจจัยแก่กุศลโดยปุเรชาตะเท่านั้น เป็นปัจจัยแก่อกุศลก็เหมือนกัน. กุสลา-
พยากตะ
เป็นปัจจัยแก่กุศลโดยสหชาตะและปุเรชาตะ เป็นปัจจัยแก่
อัพยากตะโดยสหชาตะเท่านั้น. อกุสลาพยากตะ เป็นปัจจัยแก่อกุศลโดย

สหชาตะและปุเรชาตะ เป็นปัจจัยแก่อัพยากตะโดยเป็นสหชาตะอย่าง
เดียว.
สองบทว่า อุปนิสฺสเย นว ความว่า ในอุปนิสสยปัจจัย มี
วิสัชนา 9 วาระ
ทุกวาระมีบทต้น 1บท และอวสานบท1. ในวิภังค์แห่ง
ปัจจัยเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงประเภทไว้ 23 วาระ บรรดา
วาระเหล่านั้น อารัมมณูปนิสสยปัจจัย มี 7 วาระ อนันตรูปสนิสสยปัจจัย
มี 7 วาระ ปกตูปนิสสยปัจจัย มี 9 วาระ.
สองบทว่า ปุเรชาเต ตีณิ ความว่า ในปุเรชาตปัจจัย มีวิสัชนา
3 วาระ
อย่างนี้ คือ อัพยากตะเป็นปัจจัยแก่อัพยากตะ อัพยากตะเป็น
ปัจจัยแก่กุศล อัพยากตะเป็นปัจจัยแก่อกุศล.
สองบทว่า ปจฺฉาชาเต ตีณิ ความว่า ในปัจฉาชาตปัจจัย มี
วิสัชนา 3 วาระ
อย่างนี้ คือ กุศลเป็นปัจจัยแก่อัพยากตะ อกุศลเป็น
ปัจจัยแก่อัพยากตะ อัพยากตะเป็นปัจจัยแก่อัพยากตะ.
สองบทว่า อาเสวเน ตีณิ คือ ในอาเสวนปัจจัย มีวิสัชนา 3
วาระ เหมือนกับอัญญมัญญปัจจัย.
สองบทว่า กมฺเม สตฺต คือ ในกัมมปัจจัย มีวิสัชนา 7 วาระ
เหมือนเหตุปัจจัย บรรดาวิสัชนา 7 วาระเหล่านั้น นานักขณิกกัมมปัจจัย
มาในวิสัชนา 2 วาระ ใน 5 วาระ (ที่เหลือ) มาได้เฉพาะสหชาตปัจจัย
เท่านั้น.
สองบทว่า วิปาเก เอกํ ได้แก่ วิปากปัจจัย มี 1 วาระ คือ
อัพยากตะกับอัพยากตะ.

ใน อาหารปัจจัย อินทริยปัจจัย ฌานปัจจัย และ มัคคปัจจัย
มีวิสัชนาปัจจัยละ 7 วาระ เหมือนกับเหตุปัจจัยนั้นเอง ก็ในอธิการนี้
อินทริยปัจจัยมาแล้ว ด้วยอำนาจสหชาตะและปุเรชาตะ.
สองบทว่า สมฺปยุตฺเต ตีณิ ในสัมปยุตตปัจจัย มี 3 วาระ ได้แก่
ในสัมปยุตตปัจจัย มีวิสัชนา 3 วาระ เช่นเดียวกับอัญญมัญญปัจจัย.
สองบทว่า วิปฺปยุตฺเต ปญฺจ ความว่า ในวิปปยุตตปัจจัย มี
วิสัชนา 5 วาระ
อย่างนี้ คือ วิสัชนาที่มีกุศลเป็นมูล 1 วาระ มีอกุศล
เป็นมูล 1 วาระ มีอัพยากตะเป็นมูล 3 วาระ คือ อัพยากตะกับกุศล
และ อัพยากตะกับอกุศล เป็นปัจจัยโดยสหชาตะและปัจฉาชาตะ อัพยา-
กตะกับอัพยากตะ
เป็นปัจจัยโดยสหชาตะ ปุเรชาตะ แสะปัจฉาชาตะ กุศล
กับอัพยากตะ
และอกุศลกับอัพยากตะ เป็นปัจจัยโดยวัตถุปุเรชาตะ.
สองบทว่า อตฺถิยา เตรส ความว่า ในอัตถิปัจจัย มีวิสัชนา 13
วาระ
อย่างนี้ คือ มีกุศลเป็นมูล 3 วาระ คือ กุศลกับกุศลเป็นปัจจัยโดย
สหชาตะ อัพยากตะกับกุศลเป็นปัจจัยโดยสหชาตะและปัจฉาชาตะ กุสลา-
พยากตะกับกุศลเป็นปัจจัยโดยสหชาตะอย่างเดียว ที่มีอกุศลเป็นมูล ก็มี 3
วาระเหมือนกัน แต่ อัพยากตะกับอัพยากตะ เป็นปัจจัยโดยสหชาตะ ปุเร-
ชาตะ ปัจฉาชาตะ อาหาระ และอินทริยปัจจัย กุศลและอัพยากตะ และ
อกุศลกับอัพยากตะ เป็นปัจจัยโดยวัตถารัมมณปุเรชาตปัจจัย กุศลและ
อัพยากตะ
เป็นปัจจัยแก่กุศลโดยสหชาตะและปุเรชาตะ อกุศลและ
อัพยากตะ
นั้นนั่นเทียว เป็นปัจจัยแก่อัพยากตะก็เหมือนกัน โดยสหชาตะ
ปัจฉาชาตะ อาหาระ และอินทริยปัจจัย อกุศลและอัพยากตะ เป็นปัจจัย
แก่อกุศลโดยสหชาตะ ปุเรชาตะ และ อกุศลและอัพยากตะ นั้นนั่นเทียว

เป็นปัจจัยแก่อัพยากตะโดยสหชาตะ ปัจฉาชาตะ อาหาระ และอินทริย-
ปัจจัย.
ใน นัตถิปัจจัย และ วิคตปัจจัย มีวิสัชนา 7 วาระ เหมือน
อนันตรปัจจัย และสมนันตรปัจจัย. ในคำนี้ว่า อวิคเต เตรส คือ ใน
อวิคตปัจจัย มี 13 วาระ
เหมือนอัตถิปัจจัย.
ในปัญหาวาระอนุโลมนี้ มีการกำหนดวิธีนับ 7 อย่าง อย่างนี้คือ
วิสัชนา 1 วาระ 3 วาระ 5 วาระ 7 วาระ 9 วาระ 10 วาระ 13
วาระ. ในจำนวนวิสัชนา 7 อย่างเหล่านั้น วิสัชนา 1 วาระ มี 1 ปัจจัย
เท่านั้น ด้วยอำนาจของวิปากปัจจัย.
วิสัชนา 3 วาระ มี 5 ปัจจัย ด้วยอำนาจของอัญญมัญญปัจจัย
ปุเรชาตปัจจัย ปัจฉาชาตปัจจัย อาเสวนปัจจัย และสัมปยุตตปัจจัย.
วิสัชนา 5 วาระ มี 1 ปัจจัยเท่านั้น ด้วยอำนาจของวิปปยุตตปัจจัย.
วิสัชนา 7 วาระ มี 10ปัจจัย ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย อนันตร-
ปัจจัย สมนันตรปัจจัย กัมมปัจจัย อาหารปัจจัย อินทริยปัจจัย ฌาน-
ปัจจัย มัคคปัจจัย นัตถิปัจจัย และอวิคตปัจจัย.
วิสัชนา 9 วาระ มี 3 ปัจจัย ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย
สหชาตปัจจัย และอุปนิสสยปัจจัย.
วิสัชนา 10วาระ มี 1 ปัจจัย ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย.
วิสัชนา 13 วาระ มี 3 ปัจจัย ด้วยอำนาจของนิสสยปัจจัย อัตถิ-
และอวิคตปัจจัย.
ฉะนั้น ผู้ศึกษากำหนดวาระทั้งหลายที่แสดงไว้ในปัจจัยนั้น ๆ ดัง
ได้ชี้แจงมานี้ ด้วยอำนาจแห่งจำนวนให้ดี แล้วพึงทราบจำนวนในการ

เทียบเคียงปัจจัยในทุกมูลและติกมูลเป็นต้น ด้วยอำนาจแห่งปัจจัยเหล่า
นั้น.
บัณฑิตไม่ควรประกอบปัจจัยที่เป็นวิสภาคะกัน หรือที่ขัดแย้งกันไว้
ด้วยกัน. คืออย่างไร. คือ อธิบดีที่เหลือเว้นวีมังสาธิปติ และในอารัมมณ-
ปัจจัย อนันตรปัจจัย สมนันตรปัจจัย อุปนิสสยปัจจัย ปุเรชาตปัจจัย
ปัจฉาชาตปัจจัย กัมมปัจจัย อาเสวนปัจจัย อาหารปัจจัย ฌานปัจจัย
นัตถิปัจจัย วิคตปัจจัย เป็นวิสภาคะแห่งเหตุปัจจัยก่อน. สหชาตปัจจัย
เป็นต้น เป็นสภาคะแห่งเหตุปัจจัยนั้น. เพราะเหตุใด. เพราะมีสภาพเหมือน
กัน. จริงอยู่ เหตุปัจจัยป็นปัจจัยโดยเหตุ แก่ธรรมเหล่าใด ก็เป็นสหชาต
ปัจจัยเป็นต้น แก่ธรรมเหล่านั้นด้วย แต่หาเป็นอารัมมณปัจจัยเป็นต้น แก่
ธรรมเหล่านั้นไม่ เหตุนั้นอารัมมณปัจจัยเป็นต้น จึงชื่อว่า เป็นวิสภาคะ
แก่เหตุปัจจัยนั้น เพราะฉะนั้น เหตุปัจจัยนั้นจึงไม่ควรประกอบไว้กับ
อารัมมณปัจจัยเป็นต้นเหล่านั้น หรือว่าไม่ควรประกอบอารัมมณปัจจัย
เป็นต้น เหล่านั้นไว้กับเหตุปัจจัยนั้น.
แม้ปุเรชาตปัจจัย ปัจฉาชาตปัจจัย สัมปยุตตปัจจัย วิปปยุตต-
ปัจจัย อัตถิปัจจัย นัตถิปัจจัย วิคตปัจจัย และอวิคตปัจจัย ก็ขัดแย้งกัน
และกัน จึงไม่ควรประกอบไว้ด้วยกันอีก. บรรดาธรรมเหล่านั้น ผู้ศึกษา
จะได้วาระเหล่าใดในการประกอบกับธรรมที่เข้ากันได้ เว้น ธรรมที่เข้ากัน
ไม่ได้เสีย เพื่อจะแสดงวาระเหล่านั้นโดยสังเขป พระผู้มีพระภาคเจ้าจึง
ตรัสว่า เหตุปจฺจยา อธิปติยา จตฺตาริ เป็นต้น (ในเพราะเหตุปัจจัย
อธิปติปัจจัย มี 4 วาระ).
บรรดาวาระเหล่านั้น เพราะการเทียบเคียงเหตุปัจจัยกับอธิปติปัจจัย

(เพราะเอาเหตุปัจจัยรวมกับอธิปติปัจจัย) ได้ 7 วาระ ด้วยอำนาจแห่ง
ปัจจัยที่น้อยกว่าก็จริง ถึงอย่างนั้น เพราะในบรรดาอธิบดีทั้งหลาย วีมังสา-
ธิบดีเท่านั้นเป็นเหตุปัจจัย นอกนี้หาเป็นไม่ ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า
จึงทรงเว้น ธรรมที่เป็นวิสภาคะ (เข้ากันไม่ได้ ) เสียแล้ว ตรัสว่า จตฺตาริ
ด้วยอำนาจแห่งธรรมที่เป็นสภาคะกัน . วิสัชนา 4 วาระเหล่านั้น ผู้ศึกษา
พึงทราบอย่างนี้ คือ กุศลธรรมเป็นปัจจัยแก่กุศลธรรมด้วยอำนาจของเหตุ-
ปัจจัย ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย. คือวีมังสาที่เป็นกุศล เป็นปัจจัยแก่ขันธ์
ที่สัมปยุต กุศลธรรมเป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย
ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย คือ วีมังสาธิบดีที่เป็นกุศล เป็นปัจจัยแก่รูป
ืที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน, กุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรมและอัพยากตธรรม
ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย คือ วีมังสาธิบดีที่
เป็นกุศล เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่สัมปยุตและรูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน, อัพยากต-
ธรรมเป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย ด้วยอำนาจ
ของอธิปติปัจจัย คือ วีมังสาธิบดีที่เป็นวิปากาพยากตะ และกิริยาพยากตะ
เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่สัมปยุตและรูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน. ก็ในทีนี้พึงถือเอา
วิปากาพยากตะจากโลกุตตธรรมเท่านั้น ส่วนอารัมมณปัจจัยและอนันตร-
ปัจจัยเป็นต้น ท่านไม่ประกอบไว้ เพราะเป็นวิสภาคะกัน ผู้ศึกษาครั้น
ทราบวาระที่มีได้และไม่ได้ในปัจจัยทั้งหมดโดยอุบายนี้แล้ว พึงอธิบาย
วาระด้วยอำนาจที่มีได้.
สองบทว่า สหชาเต สตฺต ความว่า ในสหชาตปัจจัย มี 7 วาระ
ที่ได้แล้วในเหตุปัจจัย สองบทว่า อญฺญมญฺเญ ตีณิ ได้แก่ ในอัญญ-
มัญญปัจจัย มี 3 วาระ คือ วิสัชนาที่ได้ในสุทธิกอัญญมัญญปัจจัย (อัญญ-

มัญญปัจจัยล้วน) นั่นเอง. สองบทว่า นิสฺสเย สตฺต ได้แก่ ในนิสสย-
ปัจจัย มี 7 วาระ คือ วิสัชนาที่ได้ในเหตุปัจจัย. สองบทว่า วิปาเก
เอกํ
คือ 1 วาระ ที่ได้ในวิบากปัจจัยล้วน ๆ. คำว่า อินฺทริยมคฺเคสุ
จตฺตาริ
ในอินทริยปัจจัยและมัคคปัจจัย มี 4 วาระ มีนัยดังที่กล่าวแล้ว
ในหนหลังนั่นเอง. สองบทว่า สมฺปยุตฺเต ตีณิ ได้แก่ ในสัมปยุตต-
ปัจจัย มี 3 วาระ คือ วิสัชนาที่ได้ในสุทธิกสัมปยุตตปัจจัยนั่นเอง. สอง
บทว่า วิปฺปยุตฺเต ตีณิ ได้แก่ ในวิปปยุตตปัจจัย มี 3 วาระ ผู้ศึกษา
พึงทราบวิสัชนาที่ยกเอารูป มีกุศลจิตเป็นต้น เป็นสมุฏฐานขึ้นเป็นปัจจ-
ยุบบัน. สองบทว่า อตฺถิอวิคเตสุ สตฺต ในอัตถิปัจจัยและอวิคตปัจจัย
มี 7 วาระ คือ วิสัชนาที่ได้ในเหตุปัจจัยนั่นเอง ด้วยประการดังพรรณนา
มาแล้วนี้.
เหตุปัจจัย ได้การประกอบอธิบายร่วมกับปัจจัยสิบเอ็ด มีอธิปติ-
ปัจจัยเป็นต้นเหล่าใด พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดงวิธีนับในทุมูลกนัย
ด้วยอำนาจแห่งปัจจัยเหล่านั้นแล้ว บัดนี้ เพื่อจะทรงแสดงวิธีนับใน
ติมูลกนัยเป็นต้น จึงทรงตั้งข้อกำหนดตรัสว่า เหตุสหชาตนิสฺสยอตฺถิ
อวิคตนฺติ สตฺต
ในเพราะปัจจัย 5 คือ เหตุ สหชาตะ นิสสยะ อัตถิ
และอวิคตปัจจัย มี 7 วาระ เป็นต้นด้วยประการฉะนี้.
แต่ในคัมภีร์ทั้งหลาย พระอาจารย์เขียนชื่อปัจจัยมีอักขระตกไป
อย่างนี้ คือ นิสฺส อุปนิสฺส อธิปาติ คำนั้นท่านเขียนด้วยอำนาจลืมใส่ใจ
เพราะฉะนั้น ในฐานะเช่นนั้นจึงควรเติมบาลีเสียให้ทราบ ก็ข้อกำหนดที่
ท่านตั้งไว้นั้นย่อมแสดงถึงอรรถนี้ว่า เหตุปัจจัยนี้ย่อมได้วิสัชนา 7 วาระ
ที่ได้ในวิภังค์ของตนเท่านั้น เพราะรวมเข้ากับปัจจัย 4 มีสหชาตปัจจัย

เป็นต้น. ก็ถ้าหากรวมอัญญมัญญปัจจัยลงในอธิการนี้ ย่อมได้วิสัชนา
3 วาระ ในอัญญมัญญปัจจัย, ถ้ารวมสัมปยุตตปัจจัยเข้าด้วยก็คงได้วิสัชนา
3 วาระ เหล่านั้นเอง. ในเหตุวิปปยุตตทุกะ ถ้ารวมวิปปยุตตปัจจัยเข้าไป
ด้วยกันก็ได้วิสัชนา 3 วาระ. ถ้ารวมวิปากปัจจัยด้วย ย่อมได้วิสัชนาวาระ
เดียวเท่านั้น เพราะเทียบเคียงปัจจัยทั้งหมดที่เป็นสภาคะกับวิบาก. ก็ถ้า
รวมอินทริยปัจจัยและมัคคปัจจัยเข้าไปในที่นี้ด้วย ย่อมได้วิสัชนา 4 วาระ
ที่ได้ในทุมูลกนัย กับด้วยอินทริยะและมัคคปัจจัยเหล่านั้น.
ถ้ารวมอัญญมัญญปัจจัยกับปัจจัยทั้งสองนั้น ให้นำวิสัชนาออกเสีย
2 วาระ คือ กุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตะ กุศลธรรม เป็นปัจจัย
แก่กุศลธรรมและอัพยากตะ ในบรรดาวิสัชนา 4 วาระที่แสดงไว้ใน
เหตาธิปติทุกะ ย่อมได้วิสัชนา 2 วาระที่เหลือ ถึงจะเพิ่มสัมปยุตตปัจจัย
เข้าไปในที่นั้นอีก ก็คงได้วิสัชนา 2 วาระเหล่านั้นเอง. ก็ถ้าเพิ่มวิปป-
ยุตตปัจจัยเข้าไป จะได้วิสัชนา 2 วาระนอกจากนั้นด้วย ถ้าเพิ่มวิปาก-
ปัจจัยเข้าไปในปัจจัยเหล่านั้น ย่อมได้วิสัชนาวาระเดียวในที่ทุกแห่ง. ก็เมื่อ
ไม่ผนวกปัจจัยที่มีวิธีคำนวณได้น้อยกว่าเหตาธิปติทุกะกับอธิปติปัจจัย ย่อม
ได้วิสัชนา 4 วาระเท่านั้น. เมื่อผนวกเข้าไปด้วย ย่อมได้วิสัชนา 2 วาระ
และ 1 วาระ ด้วยอำนาจแห่งปัจจัยเหล่านั้นแล. ผู้ศึกษาครั้นทราบ
จำนวนที่ได้อยู่ในการประกอบรวมกันแห่งปัจจัยนั้น ๆ ดังพรรณนามานี้
แล้ว พึงขยายจำนวน (วิธีนับ) ในติมูลกนัยเป็นต้นต่อไป.
ก็บรรดาฆฏนาเหล่านี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ด้วยอำนาจเหตุ-
ปัจจัย อันมี 9 ฆฏนาโดยสามัญ ฆฏนา 4 ฆฏนาก่อนฆฏนาทั้งปวงเป็น
อวิปากฆฏนาเท่านั้น (คือ ยังไม่มีวิปากปัจจัยที่ร่วมด้วย) แต่ในตอน

วิสัชนาอัพยากตะกับอัพยากตะ ย่อมได้วิบากเหตุในที่นี้ด้วย. ฆฏนา 5
ฆฏนาต่อจากนั้นตรัสไว้ด้วยอำนาจเหตุที่เป็นวิบาก. วิบากที่เป็นสหชาตะ
และรูปที่เป็นสหชาตะกับวิบากทั้งหมด ก็ตรัสไว้ในที่นั้นด้วย บรรดา
ฆฏนาเหล่านั้น วิบาก และรูปที่มีวิบากนั้นเป็นสมุฏฐาน ย่อมได้ใน
ฆฏนาที่ 1.
วิบากและวัตถุรูปในปฏิสนธิกาลได้ใน ฆฏนาที่ 2.
ใน ฆฏนาที่ 3 ได้เฉพาะอรูปธรรมอย่างเดียว.
ฆฏนาที่ 4 ได้เฉพาะรูปที่มีวิบากจิตเป็นสมุฏฐานอย่างเดียว.
ฆฏนาที่ 5 ได้เฉพาะวัตถุรูปเท่านั้น.
ฆฏนา 15 ต่อจากนั้น เกี่ยวข้องกับอินทรีย์ ตรัสไว้ด้วยอำนาจ
อโมหเหตุ. ในบรรดาฆฏนา 15 เหล่านั้น พวกแรกมี 9 ฆฏนาไม่มี
อธิบดี. พวกหลังมี 6 ฆฏนามีอธิบดี. แม้ในบรรดาฆฏนาที่ไม่มีอธิบดี 4
ฆฏนาแรก ในที่ทุกแห่งตรัสด้วยอโมหเหตุเหมือนกันหมดโดยสามัญ.
5 ฆฏนาหลังตรัสด้วยอำนาจอโมหเหตุที่เป็นวิบาก.
บรรดาฆฏนาที่ไม่มีอธิบดีเหล่านั้น ฆฏนาแรก ทรงแสดงไว้ใน
เหตาธิปติทุกะในหนหลังว่า มี 4 วาระ.
ใน ฆฏนาที่ 2 ขาดรูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน.
ใน ฆฏนาที่ 3 ไม่มีวัตถุรูป.
ใน ฆฏนาที่ 4 ได้กุศลธรรมเป็นปัจจัยแก่จิตตชรูป อัพยากตะ
ย่อมได้รูปที่มีอัพยากตะเป็นสมุฏฐานเท่านั้น (จิตตชรูปและปฏิสนธิ-
กัมมชรูป).
ฆฏนาที่ 5 ที่ประกอบด้วยวิบาก นอกจากนั้นมีนัยดังกล่าวแล้ว

ในหนหลัง. บรรดาฆฏนาที่มีอธิบดี 3 ฆฏนาข้างต้น ตรัสไว้ด้วยอำนาจ
แห่งเหตุทั้งที่เป็นวิบากและไม่เป็นวิบากโดยสามัญ.
บรรดาฆฏนาเหล่านั้น ใน ฆฏนาที่ 1 มี 4 วาระ มีนัยดังกล่าว
แล้วนั่นแล.
ใน ฆฏนาที่ 2 ไม่มีรูป.
ใน ฆฏนาที่ 3 ไม่มีอรูป. 3 ฆฏนานอกจากนั้นตรัสไว้ด้วยอำนาจ
แห่งเหตุฝ่ายวิบาก.
บรรดาฆฏนาเหล่านั้น ฆฏนาที่ 1 ได้ทั้งรูปและนาม.
ฆฏนาที่ 2 ได้แต่นามเท่านั้น.
ฆฏนาที่ 3 ได้เฉพาะรูปแล.
ผู้ศึกษา ครั้นทราบวิธีคำนวณที่ได้ในการประกอบร่วมแห่งปัจจัย
นั้น ๆ ดังพรรณนามาแล้ว พึงขยายวิธีคำนวณในติมูลกนัยเป็นต้น
ต่อไป.
เหตุมุลกนัย จบ

อารัมมณมูลกนัย


พึงทราบวินิจฉัย ในฆฏนาที่มีอารมณ์เป็นมูล ต่อไป. ปัจจัย 7 มี
อธิปติปัจจัยเป็นต้น เป็นสภาคะกับอารัมมณปัจจัย ที่เหลือ 16 ปัจจัย
เป็นวิสภาคะ เพราะฉะนั้น อย่าประกอบปัจจัย16เหล่านั้น (กับอารัมมณ-
ปัจจัย) ประกอบเฉพาะ 7 ปัจจัยเท่านั้น. บรรดาบทเหล่านั้น สองบทว่า
อธิปติยา สตฺต ความว่า ในอธิปติปัจจัย มีวิสัชนา 7 วาระ คือ