เมนู

[7]

สหชาตปัจจัย

ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเกิดพร้อม
กัน กล่าวคือ
1. นามขันธ์ 4 เป็นปัจจัยซึ่งกันและกัน ด้วยอำนาจของ
สหชาตปัจจัย
2. มหาภูตรูป 4 เป็นปัจจัยซึ่งกันและกัน ด้วยอำนาจของ
สหชาตปัจจัย
3. ในปฏิสนธิขณะ นามและรูปเป็นปัจจัยซึ่งกันและกัน ด้วย
อำนาจของสหชาต ปัจจัย
4. จิตและเจตสิกธรรมทั้งหลาย เป็นปัจจัยแก่รูปทั้งหลายที่มี
จิตเป็นสมุฏฐาน ด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย
5. มหาภูตรูป เป็นปัจจัยแก่อุปาทารูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจ
ของสหชาตปัจจัย
6. รูปธรรมทั้งหลาย เป็นปัจจัยแก่อรูปธรรมทั้งหลายในกาล
บางครั้ง ด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย
7. รูปธรรมทั้งหลาย ไม่เป็นปัจจัยแก่อรูปธรรมทั้งหลายใน
กาลบางครั้ง ด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย.


วรรณนานิทเทสแห่งสหชาตปัจจัย


ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัยใน สหชาตปัจจัยนิทเทส ต่อไป.
บทว่า อญฺญมญฺญํ แปลว่า ซึ่งกันและกัน. ด้วยบทนี้ พระผู้มี-
พระภาคเจ้าย่อมทรงแสดงว่า ธรรมเหล่านั้น เป็นปัจจัยและปัจจยุบบัน
ในขณะเดียวกัน. บทว่า โอกฺกนฺติกฺขเณ คือ ในขณะปฏิสนธิในปัญจ-

โวการภพ. จริงอยู่ ในขณะนั้นนามและรูปเกิดขึ้นเหมือนก้าวลง คือเหมือน
แล่นไป ได้แก่ เหมือนมาจากโลกอื่นแล้วเข้ามาสู่โลกนี้ เพราะฉะนั้น
ขณะนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจงตรัสเรียกว่า โอกกันติกขณะ (ขณะก้าวลง).
ก็ในอธิการนี้ คำว่า รูป พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประสงค์เอาหทัยวัตถุ
เท่านั้น. จริงอยู่ หทัยวัตถุนั้น ย่อมอำนวยประโยชน์เพื่อเป็นสหชาต
ปัจจัยซึ่งกันและกันแก่นาม และนามก็อำนวยประโยชน์เพื่อเป็นสหชาต
ปัจจัยซึ่งกันและกันแก่หทัยวัตถุนั้น. บทว่า จิตฺตเจตสิกา คือ ขันธ์ 4
ในปวัตติกาล. ในบทว่า สหชาตปจฺจเยน นี้ รูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน
ย่อมไม่อำนวยประโยชน์เพื่อเป็นปัจจัยแก่จิตและเจตสิก เพราะฉะนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงไม่ตรัสว่า อญฺญมญฺญํ. อุปาทายรูป ก็ไม่อำนวย
ประโยชน์เพื่อเป็นปัจจัยแก่มหาภูตรูปเหมือนกัน. คำว่า รูปธรรมเป็น
ปัจจัยแก่อรูปธรรม คือหทัยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่นามขันธ์ 4. สองบทว่า
กิญฺจิ กาเล คือ ในกาลบางคราว. บทว่า สหชาตปจฺจเยน ตรัสหมายถึง
ปฏิสนธิกาล. บทว่า น สหชาตปจฺจเยน ตรัสหมายถึงปวัตติกาล.
ก็สหชาตปัจจัยนี้ตั้งไว้ด้วยส่วน 6 ส่วนดังนี้คือ นามขันธ์ 4 เป็น
ปัจจัยซึ่งกันและกัน ด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัยเป็นต้น. ใน 6 ส่วนนั้น
3 ส่วนตรัสด้วยอำนาจการเป็นสหชาตปัจจัยซึ่งกันและกัน อีก 3 ส่วน
ไม่ได้ตรัสด้วยอำนาจการเป็นสหชาตปัจจัยซึ่งกันและกัน.
บรรดาสหชาตปัจจัย 6 ส่วนนั้น อรูปธรรมเท่านั้น เป็นทั้งปัจจัย
และปัจจยุบบันในส่วนที่ 1.
เฉพาะรูปธรรมอย่างเดียว เป็นทั้งปัจจัยและปัจจยุบบันในส่วน
ที่ 2.

นามและรูปเป็นปัจจัยและปัจจยุบบันในส่วนที่ 3.
อรูปเป็นปัจจัย รูปเป็นปัจจยุบบันในส่วนที่ 4.
รูปเท่านั้นเป็นทั้งปัจจัยและปัจจยุบบันในส่วนที่ 5.
รูปเป็นปัจจัย อรูปเป็นปัจจยุบบันในส่วนที่ 6.
พรรณนาบาลีในสหชาตปัจจัยนิทเทสเท่านี้ก่อน.
ก็สหชาตปัจจัยนี้ จำแนกโดยชาติได้ 5 ชาติ คือกุศลชาติ อกุศล-
ชาติ วิบากชาติ กิริยาชาติ และรูปชาติ. ในชาติทั้ง 5 นั้น กุศล
จัตตามภูมิได้ 4 ภูมิ อกุศลได้ภูมิเดียว วิบากได้ 8 ภูมิ กิริยาได้ 3 ภูมิ
รูปได้กามาวจรภูมิภูมิเดียวเท่านั้น ฉะนั้น พึงทราบวินิจฉัยในสหชาต-
ปัจจัยนี้ โดยการจำแนกเป็นประการต่าง ๆ เพียงเท่านี้.
ก็ในสหชาตปัจจัยที่จำแนกแล้วนี้ อย่างนี้ กุศลแม้เป็นไปได้ ภูมิ
เป็นสหชาตปัจจัย แก่ธรรมอันสัมปยุตกับตนนั่นเทียว และแก่รูปอันมีจิต
เป็นสมุฏฐาน. อกุศลก็เช่นเดียวกัน. ก็ในสหชาตปัจจัยนี้ จิตใดเกิดใน
อรูปภูมิ จิตนั้นเป็นสหชาตปัจจัยแก่อรูปธรรมเท่านั้น. กามาวจรวิบาก
รูปาวจรวิบาก
เป็นสหชาตปัจจัยแก่รูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐานนั้นเทียว และ
แก่ธรรมที่สัมปยุต. ก็ในสหชาตปัจจัยนี้ จิตใดให้รูปเกิดไม่ได้ จิตนั้น
เป็นสหชาตปัจจัยแก่ธรรมที่สัมปยุตเท่านั้น. จิตใดเกิดขึ้นในปฏิสนธิกาล
จิตนั้นเป็นสหชาตปัจจัยแก่กัมมชรูปด้วย. อรูปวิบาก เป็นสหชาตปัจจัย
แก่ธรรมที่สัมปยุตเท่านั้น.
โลกุตตรวิบาก เป็นสหชาตปัจจัยแก่ธรรมที่สัมปยุต และรูปที่มีจิต
เป็นสมุฏฐานในปัญจโวการภพ. เป็นปัจจัยแก่อรูปธรรมเท่านั้น ในจตุ-
โวการภพ. กามาวจรกิริยา และ อรูปาวจรกิริยา เป็นสหชาตปัจจัยแก่

ธรรมที่สัมปยุต และรูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐานในปัญจโวการภพ. ในจตุ-
โวการภพ เป็นปัจจัยเฉพาะแก่อรูปธรรมเท่านั้น. รูปาวจรกิริยา เป็น
สหชาตปัจจัยโดยส่วนเดียว แก่ธรรมที่สัมปยุตและรูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน.
สำหรับรูปที่เกิดจากสมุฏฐานทั้ง 4 ในรูปที่มีกรรมเป็นสมุฏฐาน มหาภูต
รูป 1 เป็นปัจจัยโดยสหชาตปัจจัย แก่มหาภูตรูป 3 มหาภูตรูป 3
เป็นปัจจัยโดยสหชาตปัจจัยแก่มหาภูตรูปหนึ่ง มหาภูตรูป 2 เป็นปัจจัย
โดยสหชาตปัจจัยแก่มหาภูตรูป 2 มหาภูตรูปเป็นปัจจัยแก่อุปาทานรูป
ด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย. ในขณะปฏิสนธิของกามาวจรและรูปาวจร
วัตถุรูปเป็นปัจจัยแก่วิบากขันธ์ ด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย. ส่วนใน
บรรดารูปที่มีอุตุ จิต และอาหารเป็นสมุฏฐาน มหาภูตรูปเป็นปัจจัยซึ่งกัน
และกัน และแก่อุปาทายรูปด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย. ผู้ศึกษาพึงทราบ
วินิจฉัย แม้โดยธรรมที่เป็นปัจจยุบบันในสหชาตปัจจัยนี้ อย่างนี้แล.
วรรณนาแห่งสหชาตปัจจัยนิทเทส จบ

[8]

อัญญมัญญปัจจัย

ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยตามอาศัย
กันและกัน กล่าวคือ

1. นามขันธ์ 4 เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของอัญญมัญญปัจจัย
2. มหาภูตรูป 4 เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของอัญญมัญญปัจจัย
3. ในปฏิสนธิขณะ นามรูปเป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของ
อัญญมัญญปัจจัย.