เมนู

13. อกุศลธรรมทั้งหลายที่เกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรม
ทั้งหลายที่เกิดหลัง ๆ ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย
14. อกุศลธรรมทั้งหลายที่เกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่อัพยากต-
ธรรมทั้งหลายที่เกิดหลัง ๆ ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย
15. อัพยากตธรรมทั้งหลายที่เกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่อัพยา-
กตธรรมทั้งหลายที่เกิดหลัง ๆ ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย
16. อัพยากตธรรมทั้งหลายที่เกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่กุศล-
ธรรมทั้งหลายที่เกิดหลัง ๆ ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย
17. อัพยากตธรรมทั้งหลายที่เกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่อกุศล
ธรรมทั้งหลายที่เกิดหลัง ๆ ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย
18. ธรรมทั้งหลายเหล่าใด ๆ เกิดขึ้นในลำดับแห่งธรรมทั้ง-
หลายเหล่าใด ธรรมทั้งหลายเหล่านั้น ๆ เป็นปัจจัยแก่ธรรม
ทั้งหลายเหล่านั้น ๆ ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย.


วรรณนานิทเทสแห่งอนันตรปัจจัย


ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัยใน อนันตรปัจจัยนิทเทส ต่อไป. บทว่า
มโนธาตุยา คือ แก่วิบากมโนธาตุ. บทว่า มโนวิญญาณธาตุยา คือ แก่
อเหตุวิบากมโนวิญญาณธาตุ ที่ทำหน้าที่สันตีรณกิจ คือพิจารณาอารมณ์.
ก็ต่อจากนั้นไป พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถึงมโนวิญญาณธาตุ ที่ทำหน้าที่
โวฏฐัพพนะ ชวนะ ตทารัมมณะ และภวังค์ พระองค์จึงทรงย่อเทศนา
โดยแสดงนัยไว้ว่า ธาตุเหล่านั้น แม้จะไม่ได้ตรัสไว้ก็จริง แต่ผู้ศึกษา
พึงทราบได้โดยนัยนี้. แก่ธาตุเหล่านั้น อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงย่อเข้า

ในนัยที่ 6 มีอาทิว่า ปุริมา ปุริมา กุสลา ธมฺมา ผู้ศึกษาพึงทราบว่า
พระองค์ไม่ตรัสในอธิการนี้อีก.
บรรดาบทเหล่านั้น สองบทว่า ปุริมา ปุริมา ผู้ศึกษาพึงทราบ-
ธรรม คือกุศลชวนะที่ดับไปโดยไม่มีระหว่างคั่น ในทวารทั้ง 6.
สองบทว่า ปจฺฉิมานํ ปจฺฉิมานํ ได้แก่ ธรรมคือกุศลชวนะ ที่เกิด
ขึ้นติดต่อกันไปนั่นเอง.
บทว่า กุสลานํ ได้แก่ กุศลจิตชนิดเดียวกัน.
ส่วนบทว่า อพฺยากตานํ นี้ ได้แก่ อัพยากตะ อันเป็นอนันตร-
ปัจจัยแก่กุศลนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสด้วยอำนาจของตทาลัมพนะ
ภวังค์ และผลสมาบัติที่เกิดขึ้นลำดับแห่งกุศล. บทว่า อพฺยากตานํ ใน
อกุศลมูลกะ ได้แก่ อัพยากตะ อันเป็นตทาลัมพนะ และภวังค์เท่านั้น.
บทว่า อพฺยากตานํ ในอัพยากตมูลกะ ได้แก่อัพยากตะ อันเป็นกิริยา
และวิบาก อันเป็นไปด้วยอำนาจแห่งอาวัชชนะ และชวนะ หรือว่าด้วย
อำนาจแห่งภวังค์. นัยนี้ย่อมใช้ได้แม้ในวิถีจิตที่เป็นไปตั้งแต่กิริยามโน-
ธาตุ ที่ทำหน้าที่โวฏฐัพพนะ จนถึงมโนวิญญาณธาตุทีเดียว.
บทว่า กุสลานํ ได้แก่ กุศลชวนะดวงที่หนึ่ง ที่เกิดต่อจากโวฏ-
ฐัพพนะจิตในปัญจทวาร และที่เกิดต่อจากอาวัชชนจิตในมโนทวาร. แม้
ในบทว่า อกุสลานํ ก็นัยนี้ เหมือนกัน.
บทว่า เยสํ เยสํ น เป็นเครื่องกำหนดโดยย่อ ซึ่งธรรมที่เป็น
อนันตรปัจจัยทั้งหมด. พรรณนาบาลีในนิทเทสแห่งอนันตรปัจจัยนี้เท่านี้
ก่อน.

ก็ชื่อว่าอนันตรปัจจัยนี้ ผู้ศึกษาพึงทราบว่า ได้แก่ หมวดแห่ง
อรูปธรรมที่เป็นไปในภูมิ 4 เว้นนิพพาน. อนันตรปัจจัยนั้นจำแนกด้วย
สามารถแห่งชาติได้ 4 ชาติ คือเป็นกุศล อกุศล วิบากและกิริยา. ใน
4 ชาตินั้น อนันตรปัจจัยที่เป็นกุศลมี 4 อย่าง คือเป็นประเภทแห่ง
กามาวจรเป็นต้น. อกุศลเป็นกามาวจรอย่างเดียว. วิบากเป็นไปในภูมิ
ทั้ง 4. ส่วนอนันตรปัจจัยที่เป็นกิริยาเป็นไปในภูมิ 3. ผู้ศึกษาพึงทราบ
วินิจฉัยโดยการจำแนกโดยประการต่าง ๆ ในอนันตรปัจจัยนี้ ดังพรรณนา
มาแล้ว.
ก็ในอนันตรปัจจัย ซึ่งจำแนกได้ดังแสดงมาแล้ว กามาวจรกุศล
เป็นอนันตรปัจจัยแก่กามาวจรกุศล ที่เหมือนกันกับตนเท่านั้น ส่วน
กามาวจรกุศลที่เป็นญาณสัมปยุต เป็นอนันตรปัจจัย แก่ธรรมสามหมวด
เหล่านี้ คือรูปาวจรกุศล อรูปาวจรกุศล และโลกุตตรกุศล.
กามาวจรกุศล เป็นอนันตรปัจจัยแก่ธรรม 4 หมวดเหล่านี้คือ
กามาวจรวิบาก รูปาวจรวิบาก อรูปาวจรวิบาก และโลกุตตรวิบาก.
รูปาวจรกุศล เป็นอนันตรปัจจัย แก่ธรรม 3 หมวดเหล่านี้ คือ
รูปาวจรกุศล กามาวจรวิบากญาณสัมปยุต และรูปาวจรวิบาก.
อรูปาวจรกุศล เป็นอนันตรปัจจัยแก่ธรรม 4 หมวดเหล่านี้ โดย
ไม่แปลกกัน คือวิบาก1ทั้งสองเหล่านั้น และกุศล2และวิบากของตน. ก็ใน
อธิการนี้ เมื่อว่าโดยพิเศษ เนวสัญญานาสัญญายตนกุศล เป็นอนันตร-
ปัจจัยแก่โลกุตตรวิบาก กล่าวคืออนาคามิผล.
โลกุตตรกุศล เป็นอนันตรปัจจัยเฉพาะแก่โลกุตตรวิบากเท่านั้น.
1. คือ กามวิบาก รูปวิบาก. 2. อรูปกุศล อรูปวิบาก.

อกุศล เป็นอนันตรปัจจัยแก่อกุศล กุศลวิบาก และอกุศลวิบาก
โดยไม่แปลกกัน. ก็เมื่อว่าโดยแปลกกันในอธิการนี้ อกุศลที่สัมปยุตด้วย
สุขเวทนาและอุเบกขาเวทนา เป็นอนันตรปัจจัยแก่ธรรม 4 หมวดเหล่านี้
คือกุศลวิบาก อกุศลวิบาก และรูปาวจรวิบาก อรูปาวจรวิบาก
กามาวจรวิบาก เป็นอนันตรปัจจัยแก่กามาวจรวิบาก. วิบากญาณ-
สัมปยุต หรือญาณวิปปยุต เป็นอนันตรปัจัยแก่กามาวจรกิริยาอาวัชชนจิต.
อนึ่งในอนันตรปัจจัยนี้ มหาวิบากญาณสัมปยุต เป็นอนันตร-
ปัจจัยแก่ธรรม หมวดเหล่านี้ คือ กามาวจรวิบาก อาวัชชนจิต
และรูปาวจรวิบาก อรูปาวจรวิบากที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจปฏิสนธิ.
รูปาวจรวิบาก เป็นอนันตรปัจจัยแก่ธรรม 4 หมวดเหล่านี้ คือ
ติเหตุกกามาวจรวิบาก รูปาวจรวิบาก อรูปาวจรวิบาก และกามาวจรกิริยา
อาวัชชนจิต.
อรูปาวจรวิบาก เป็นอนันตรปัจจัยแก่ธรรม 3 หมวดเหล่านั้น คือ
ติเหตุกกามาวจรวิบาก อรูปาวจรวิบาก และกิริยาอาวัชชนจิตที่เป็น
กามาวจร.
โลกุตรวิบาก เป็นอนันตรปัจจัยแก่ธรรม 4 หมวดเหล่านี้ คือ
ติเหตุกกามาวจรวิบาก รูปาวจรวิบาก อรูปาวจรวิบาก และโลกุตตร
วิบาก.
กามาวจรกิริยา เป็นอนันตรปัจจัยแก่ธรรม 9 หมวดเหล่านั้น คือ
กามาวจรกุศล อกุศล วิบากจิตทั้ง 4 ภูมิ และกิริยาจิตทั้ง 3 ภูมิ.
รูปาวจรกิริยา เป็นอนันตรปัจจัยแก่ธรรม 3 หมวดเหล่านี้ คือ
ติเหตุกกามาวจรวิบาก รูปาวจรวิบาก และรูปาวจรกิริยา.

อรูปาวจรกิริยา เป็นอนันตรปัจจัยแก่ธรรม 5 หมวดเหล่านั้น คือ
ติเหตุกกามาวจรวิบาก รูปาวจรวิบาก อรูปาวจรวิบาก โลกุตตรวิบาก
และอรูปาวจรกิริยา. ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัยโดยธรรมที่เป็นปัจจยุบบัน
ในอนันตรปัจจัยนี้ อย่างนี้แล.
วรรณนานิทเทสแห่งอนันตรปัจจัย จบ
[6]

สมนันตรปัจจัย

ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความติดต่อ
กันไม่มีระหว่างคั่นด้วย กล่าวคือ
1. จักขุวิญญาณธาตุ และธรรมทั้งหลายที่ประกอบกับจักขุ-
วิญญาณธาตุนั้น เป็นปัจจัยแก่มโนธาตุ และธรรมทั้งหลายที่ประกอบ
กับมโนธาตุนั้น ด้วยอำนาจของสมนันตรปัจจัย
2. มโนธาตุ และธรรมทั้งหลายที่ประกอบกับมโนธาตุนั้น
เป็นปัจจัยแก่มโนวิญญาณธาตุ และธรรมทั้งหลายที่ประกอบกับมโน-
วิญญาณธาตุนั้น ด้วยอำนาจของสมนันตรปัจจัย
3. โสตวิญญาณธาตุ และธรรมทั้งหลายที่ประกอบกับโสต-
วิญญาณธาตุนั้น เป็นปัจจัยแก่มโนธาตุ และธรรมทั้งหลายที่ประกอบ
กับมโนธาตุนั้น ด้วยอำนาจของสมนันตรปัจจัย
4. มโนธาตุ และธรรมทั้งหลายที่ประกอบกับมโนธาตุนั้น
เป็นปัจจัยแก่มโนวิญญาณธาตุ และธรรมทั้งหลายที่ประกอบกับมโน-
วิญญาณธาตุนั้น ด้วยอำนาจของสมนันตรปัจจัย