เมนู

4. โคตรภู เป็นปัจจัยแก่มรรค ด้วยอำนาจของอาเสวนปัจจัย.
5. โวทาน เป็นปัจจัยแก่มรรค ด้วยอำนาจของอาเสวน
ปัจจัย.
[563] 2. อกุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรม ด้วยอำนาจ
ของอาเสวนปัจจัย

คือ อกุศลขันธ์ที่เกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่อกุศลขันธ์ที่เกิดหลัง ๆ
ด้วยอำนาจของอาเสวนปัจจัย.
[564] 3. อัพยากตธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม ด้วย
อำนาจของอาเสวนปัจจัย

คือ ขันธ์ทั้งหลาย ที่เป็นอัพยากตกิริยาที่เกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัย
แก่ขันธ์ทั้งหลาย ที่เป็นอัพยากตกิริยาที่เกิดหลัง ๆ ด้วยอำนาจของอาเสวน-
ปัจจัย.

อรรถกถาอาเสวนปัจจัย


ในการถือเอาคำเป็นต้นว่า อนุโลมํ โคตฺรภุสฺส อนุโลมเป็นปัจจัย
แก่โคตรภู ใน อาเสวนปัจจัย แยกออกไปส่วนหนึ่ง พึงทราบเหตุ
แห่งการแยกไปนั้น โดยนัยที่กล่าวไว้ในหนหลังนั่นแหละ.
อรรถกถาอาเสวนปัจจัย จบ

13. กัมมปัจจัย


[565] 1. กุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรม ด้วยอำนาจของ
กัมมปัจจัย

คือ กุศลเจตนา เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ ด้วยอำนาจของกัมม-
ปัจจัย.
[566] 2. กุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม ด้วยอำนาจ
ของกัมมปัจจัย

มี 2 อย่าง คือ ที่เป็น สหชาตะ และ นานาขณิกะ
ที่เป็น สหชาตะ ได้แก่
กุศลเจตนา เป็นนปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูป ด้วยอำนาจของกัมม-
ปัจจัย.
ที่เป็น

นานาขณิกะ

ได้แก่
กุศลเจตนา เป็นปัจจัยแก่วิบากขันธ์และกฏัตตารูป ด้วยอำนาจของ
กัมมปัจจัย.
[567] 3. กุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรมและอัพยากตธรรม
ด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย

คือ กุศลเจตนา เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูป
ด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย.
[568] 4. อกุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรม ด้วยอำนาจ
ของกัมมปัจจัย