เมนู

อรรถกถาปุเรชาตปัจจัย


ใน ปุเรชาตปัจจัย แม้จักขายตนะเป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสไว้ด้วยอำนาจรูปหยาบ ส่วนอาโปธาตุเป็นต้น เป็นอารัมมณปุเรชาต-
ปัจจัยเท่านั้น. สำหรับวัตถุปุเรชาตะ คำว่า จกฺขวายตนํ เป็นต้น พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ เพื่อแสดงจักขายตนะเป็นต้นนั้นว่า เป็นวัตถุรูป
ที่เกิดก่อน. คำว่า วตฺถุ วิปากาพฺยากตานํ คือ วัตถุเป็นปัจจัยแก่
วิบากอัพยากตะ ตรัสหมายถึงปุเรชาตปัจจัยในปวัตติกาล.
อรรถกถาปุเรชาตปัจจัย จบ

11. ปัจฉาชาตปัจจัย


[559] 1. กุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม ด้วยอำนาจ
ของปัจฉาชาตปัจจัย

คือ 1. กุศลขันธ์ที่เกิดภายหลัง เป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อน ด้วย
อำนาจของปัจฉาชาตปัจจัย.
[560] 2. อกุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม ด้วยอำนาจ
ของปัจฉาชาตปัจจัย

คือ อกุศลขันธ์ที่เกิดภายหลัง เป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อน ด้วย
อำนาจของปัจฉาชาตปัจจัย.
[561] 3. อัพยากตธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม ด้วย
อำนาจของปัจฉาชาตปัจจัย

คือ ขันธ์ทั้งหลาย ที่เป็นอัพยากตวิบาก และอัพยากตกิริยาที่เกิด
ภายหลัง เป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อน ด้วยอำนาจของปัจฉาชาตปัจจัย.

อรรถกถาปัจฉาชาตปัจจัย


ใน ปัจฉาชาตปัจจัย คำว่า อิมสฺส กายสฺส ได้แก่ กายอัน
ประกอบด้วยมหาภูตรูป 4. คำว่า ปจิฉาชาตปจฺจเยน ปจฺจโย ความว่า
เป็นธรรมที่เกิดภายหลัง และเป็นปัจจัยด้วยอำนาจการค้ำจุน. ปัจฉาชาต-
ปัจจัยนี้มาแล้ว โดยอนุโลมในปัญหาวาระนี้ว่า ความเป็นปัจจัยเพราะ
อรรถว่าค้ำจุนนี้แหละ ชื่อว่า ปัจฉาชาตปัจจัย.
อรรถกถาปัจฉาชาตปัจจัย จบ

12. อาเสวนปัจจัย


[562] 1. กุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรม ด้วยอำนาจของ
อาเสวนปัจจัย

คือ 1. กุศลขันธ์ที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่กุศลขันธ์ที่เกิดหลังๆ
ด้วยอำนาจของอาเสวนปัจจัย.
2. อนุโลม เป็นปัจจัย แก่โคตรภู ด้วยอำนาจของอาเสวน-
ปัจจัย.
3. อนุโลม เป็นปัจจัยแก่โวทาน ด้วยอำนาจของอาเสวน-
ปัจจัย.