เมนู

3. สุขทางกาย ทุกข์ทางกาย อุตุ โภชนะ เสนาสนะ เป็น
ปัจจัย แก่ราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ ความปรารถนา ด้วยอำนาจ
ของอุปนิสสยปัจจัย.

อรรถกถาอุปนิสสยปัจจัย


พึงทราบวินิจฉัยใน อุปนิสสยปัจจัย ต่อไป:-
สองบทว่า สทฺธํ อุปนิสฺสาย คือ ทำศรัทธา ได้แก่ความเชื่อใน
กรรม ผลของกรรม โลกนี้และโลกหน้าเป็นต้น ให้เป็นที่อาศัยอย่าง
มั่นคง เหมือนอย่างว่าคนเชื่อว่าภายใต้แผ่นดินมีน้ำ แล้ว ขุดซึ่งแผ่นดิน
ฉันใด กุลบุตรมีศรัทธาก็ฉันนั้น เชื่อผลและอานิสงส์ของทานเป็นต้น แล้ว
ย่อมบริจาคทานเป็นต้น เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า สทฺธํ อุปนิสฺสาย.
ในคำว่า สีลํ อุปนิสฺสาย เป็นต้น อธิบายว่า ทำธรรมมีศีลเป็นต้น
เหล่านี้ให้เป็นอุปนิสัย จริงอยู่ บุคคลผู้มีศีลเป็นผู้ฉลาดในศีลานุภาพ และ
ในอานิสงส์แห่งศีล เพราะอาศัยศีลจึงให้ทานแก่คนผู้มีศีล สมาทานศีล
ชั้นสูง ๆ ขึ้นไป รักษาอุโบสถในวันปักษ์ มีวัน 1 ค่ำ เป็นต้น ให้
บริสุทธิ์ ไม่ให้ขาด เพราะอาศัยศีลสมบัติ ย่อมยังคุณธรรม มีฌานเป็นต้น
ให้เกิดขึ้น แม้บุคคลผู้ได้ยินได้ฟังมาก หยั่งรู้ซึ่งสมบัติทุกอย่างอันเนื่อง
ด้วยบุญกิริยาวัตถุมีทานเป็นต้น และความต่างกันแห่งความเศร้าหมอง
และผ่องแผ้วแห่งกุศลมีทานเป็นต้น ด้วยสุตมยปัญญาแล้ว อาศัยสุตะ
บำเพ็ญกุศลมีทานเป็นต้น. แม้บุคคลผู้เสียสละ มีใจน้อมไปในทางบริจาค
อาศัยการถึงพร้อมด้วยจาคธรรมของตนจึงให้ทาน สมาทานศีล เพราะ

เข้าใจว่า ทานที่บุคคลมีศีลให้แล้วย่อมมีผลมาก รักษาอุโบสถเพราะการ
ปฏิบัติอย่างนั้น จึงเป็นผู้มีจิตบริสุทธิ์ ย่อมทำให้คุณธรรมมีฌานเป็นต้น
เกิดขึ้นได้. ฝ่ายบุคคลผู้มีปัญญากำหนดรู้ประโยชน์ในโลกนี้และโลกหน้า
และอุบายที่จะข้ามพ้นจากโลก อาศัยความรู้อย่างทั่วถึงว่า เพราะข้อปฏิบัติ
นี้ บุคคลอาจทำตนให้ลุถึงประโยชน์ในโลกด้วย ดังนี้ย่อมบำเพ็ญกุศลมีทาน
เป็นต้น จะเป็นอุปนิสสัยแห่งทานเป็นต้น อย่างเดียวเท่านั้นก็หาไม่ ย่อม
เป็นอุปนิสสัยแม้แห่งศรัทธาเป็นต้น ของตนซึ่งจะเกิดต่อไปในภายภาค
หน้า เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ
ปัญญา เป็นอุปนิสสยปัจจัยแก่ ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา.
บทว่า ปริกมฺมํ ผู้ศึกษาพึงถือเอาบริกรรมในส่วนเบื้องต้น ไม่
ใช่ที่เป็นอนันตรปัจจัย
บริกรรมแห่งทิพจักขุญาณนั้นแหละ ย่อมมีแก่
ญาณทั้งสองนี้ คือ ยถากัมมูปคญาณ อนาคตังสญาณ หามีบริกรรมต่าง
ออกไปไม่ ญาณทั้งสองนี้เป็นบริวารแห่งทิพจักขุนั่นเอง เมื่อทิพจักขุนั้น
สำเร็จแล้ว ญาณทั้งสองนี้ก็สำเร็จด้วย. แม้เมื่อเป็นเช่นนั้น ผู้ศึกษา
พึงทราบว่า บริกรรมแห่งทิพจักขุญาณที่มุ่งต่อการน้อมใจไปเพื่อความรู้
อย่างนั้นเป็นบริการแห่งญาณทั้งสองนั้น เพราะว่าญาณทั้งสองนี้จะมีคติ
เหมือนทิพจักขุทุกอย่างก็หาไม่ ฉะนั้น จึงมีบริกรรมพิเศษในญาณทั้งสอง
นี้อีกแล. คำว่า ทิพฺพจกฺขุ ทิพฺพาย โสตธาตุยา ความว่า ทิพจักขุ
ของบุคคลผู้เห็นรูปในที่ไกล แล้วต้องการจะฟังเสียงแห่งรูปเหล่านั้น
เป็นอุปนิสสยปัจจัยแก่ความผ่องใสแห่งโสตธาตุ. ก็ทิพโสตธาตุ ย่อมเป็น
อุปนิสสยปัจจัยแก่อิทธิวิธญาณ ด้วยอำนาจความเป็นผู้ได้ยินเสียงแห่งรูป

เหล่านั้น แล้วประสงค์จะไปในที่นั้น. บัณฑิต พึงทราบความเป็นอุปนิสสย-
ปัจจัย ด้วยอำนาจความเป็นอุปการะแก่ธรรมนั้น ๆ ในที่ทั้งปวง ด้วย
ประการฉะนี้. คำว่า มคฺคํ อุปนิสฺสาย อนุปฺปนฺนํ สมาปตฺตึ ความว่า
พระอริยบุคคลเหล่าใด ยังสมาบัตินั้น ๆ ให้เกิดขึ้น เพราะอันตรายใน
หนทางเป็นสภาพเบาบางแล้ว และละได้แล้วด้วยมรรคนั้น ๆ ฉะนั้น
มรรคของพระอริยบุคคลเหล่านั้น จึงชื่อว่าเป็นอุปนิสสยปัจจัย แก่สมาบัติ.
บทว่า วิปสฺสนฺติ คือ ย่อมเห็นแจ้ง เพื่อต้องการมรรคเบื้องสูงขึ้นไป.
คำว่า อติถปฏิสมฺภิทา เป็นอาทิ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้โดยที่ปฏิสัมภิทา
ทั้งหลาย สำเร็จได้เพราะการได้บรรลุมรรคนั่นเอง. ก็แล มรรคนั่นเอง
ชื่อว่าเป็นอุปนิสสัย เพราะเป็นไปในอารมณ์นั้น ๆ ภายหลัง ปฏิสัมภิทา
เหล่านี้ สำเร็จแล้วด้วยประการฉะนี้.
คำว่า สทฺธํ อุปนิสฺสาย ชปฺเปติ ความว่า ย่อมยังมานะให้
เป็นไปว่าเราเป็นผู้มีศรัทธาเลื่อมใส. สองบทว่า ทิฏฺฐึ คณฺหาติ ความว่า
บุคคลไปด้วยอำนาจความเชื่อในคำนั้น ๆ ไม่พิจารณาเนื้อความด้วยปัญญา
คือ ย่อมถือเอาทิฏฐิ ด้วยอำนาจความเห็นผิดว่า บุคคลมีอยู่เป็นต้น.
คำว่า สีลํ สุตํ จาคํ ปญฺญํ ความว่า เกิดมานะขึ้นว่า เพราะเป็นผู้มีศีล เป็นผู้
สดับแล้ว มีการสละ มีความรู้ทุกด้าน. ก็เมื่อบุคคลยังความสำคัญผิดด้วย
อำนาจทิฏฐิให้เกิดขึ้นในศีล สุตะ จาคะ และปัญญา เหมือนความสำคัญ
ผิดด้วยอำนาจมานะ ย่อมถือเอซึ่งทิฏฐิ.
พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า ราคฺสส เป็นต้น บรรดาทิฏฐิ และมานะ
เหล่านั้น ธรรมหนึ่ง ๆ เป็นอุปนิสสยปัจจัย แก่ราคะในเวลาอาศัยสมบัติมี
ศรัทธาเป็นต้นแล้วยกย่องตน เป็นอุปนิสสยปัจจัยแก่โทสะในเวลาอาศัย

สมบัติ มีศรัทธาเป็นต้นแล้วเย้ยหยันผู้อื่น เป็นอุปนิสสยปัจจัยแก่โมหะ ที่
สัมมปยุตตด้วยราคะและโทสะทั้งสอง เพราะอาศัยมานะและทิฏฐิมีประการ
ดังกล่าวแล้ว อาศัยสมบัติมีศรัทธาเป็นต้นแล้ว ปรารถนาภวสมบัติและ
โภคสมบัติ. โลกิยกุศล เท่านั้น ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงไว้ใน
อธิการนี้ด้วยประการฉะนี้.
ส่วนโลกุตตรกุศลเป็นธรรมสงบ ประณีต สูงสุด กำจัดอกุศลได้
เด็ดขาด ฉะนั้น จึงไม่เป็นอุปนิสสยปัจจัยแก่อกุศล เหมือนพระ-
จันทร์ไม่เป็นอุปนิสสัยแก่ความมืดฉะนั้น.
เพราะเหตุนั้นโลกุตตรกุศลนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงไม่ทรงถือเอาในอธิการนี้.
คำว่า อาตาเปติ เป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้เพื่อแสดง
อัพยากตธรรมด้วยอำนาจกายิกทุกข์ จริงอยู่ ผู้มีศรัทธา อาศัยศรัทธา
ไม่ย่อท้อต่อความหนาวจัด ร้อนจัด เอาใจใส่ในการก่อสร้างเป็นต้น มี
ประการต่าง ๆ ชื่อว่า ย่อมทำตนให้เดือดร้อน. บุคคลคิดว่า เราได้
โภคสมบัติแล้วจักทำบุญ ชื่อว่า ย่อมเสวยทุกข์อันมีการแสวงหาเป็นมูล.
แม้บุคคลผู้มีศีล ชื่อว่า ย่อมทำตนให้เดือดร้อน ด้วยอำนาจการถือธุดงค์
มีการอยู่กลางแจ้งเป็นวัตร (อัพโภกาสิกวัตร) เป็นต้น เพื่อรักษาศีล ชื่อว่า
ย่อมเสวยทุกข์อันมีการแสวงหาเป็นมูล. ด้วยอำนาจการเที่ยวแสวงหา
อาหารเป็นต้น. แม้บุคคลผู้สดับแล้วคิดว่า เราจะปฏิบัติให้เหมาะสมแก่
ความเป็นพหูสูต ปฏิบัติอยู่ตามนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล ชื่อว่า ย่อมทำตน
ให้เดือดร้อน.
ชื่อว่า ย่อมเสวยทุกข์อันมีการแสวงหาเป็นมูล. แม้บุคคล
ผู้เสียสละเพราะจิตใจน้อมไปในการบริจาค สละเสียจนไม่เหลือปัจจัยไว้
เลี้ยงชีพตน หรือทำการสละอวัยวะเป็นต้น ชื่อว่า ทำตนให้เดือดร้อน

ชื่อว่า ย่อมเสวยทุกข์อันมีการแสวงหาเป็นมูล เพื่อได้มาซึ่งวัตถุที่จะนำ
มาบริจาค. แม้บุคคลผู้มีปัญญาอาศัยความมีปัญญา ไม่คำนึงถึงความหนาว
ร้อนเป็นต้น พยายามสนใจในการท่องจำ ด้วยคิดว่า เราจักมีปัญญาให้สูง
ขึ้น ๆ ชื่อว่า ย่อมทำตนให้เดือดร้อน. เห็นโทษในมิจฉาชีพและอานิสงส์
ในสัมมาชีพ ละมิจฉาชีพ และหาเครื่องเลี้ยงชีวิต ด้วยอาชีวะอันหมดจด
ชื่อว่า ย่อมเสวยทุกข์อันมีการแสวงหาเป็นมูล.
สองบทว่า กายิกสฺส สุขสฺส คือ แก่ความสุขทางกายในเวลาความ
สุขเกิดขึ้นแก่กาย ซึ่งมีรูปอันประณีต มีศรัทธาเป็นต้น เป็นสมุฏฐาน ถูก
ต้องแล้วในเวลาใช้สอยอุปกรณ์แห่งความสุข ซึ่งเกิดขึ้นเพราะอาศัยสมบัติ
้ีศรัทธาเป็นต้น. และแก่ความสุขทางกายอัน มีรูป มีปราโมทย์ และปีติ
ซึ่งมีความเดือดร้อนด้วยอำนาจแห่งอุปกรณ์ความสุขเหล่านั้น เป็นมูล เป็น
สมุฏฐานถูกต้องแล้ว. และแก่ความสุขทางกาย ในเวลาวิบากสุขเกิดขึ้น
เพราะอุปกรณ์แห่งความสุขเหล่านั้น ทำแล้วในกาลเกิดขึ้นแห่งความสุข,
และแก่ทุกข์ทางกาย ในเวลาทุกข์เกิดขึ้นตามนัยที่กล่าวแล้วนั้นแล และ
ในเวลามีการฆ่าและจองจำ อันบุคคลผู้อดกลั้นไม่ได้ด้วยคุณสมบัติ มี
ศรัทธาเป็นต้นประกอบแล้ว. ก็ในเวลาผลสมาบัติอาศัยศรัทธาเป็นต้นเป็น
ไป ธรรมหนึ่ง ๆ ในบรรดาธรรมมีศรัทธาเป็นต้น พึงทราบว่า เป็น
อุปนิสสยปัจจัยแก่ผลสมาบัติด้วย. สองบทว่า กุสลํ กมฺมํ คือ กุศลเจตนา
เป็นอุปนิสสยปัจจัยแก่วิบากของตน. แต่เจตนานั้นได้เฉพาะที่มีกำลัง
เท่านั้น ที่มีกำลังอ่อนย่อมไม่ได้. ในข้อนั้นมีเรื่องดังต่อไปนี้ (เป็นอุทา-
หรณ์):-

เล่ากันมาว่า หญิงคนหนึ่งต้องการจะผูกคอตาย จึงห้อยเชือก
ไว้ที่ต้นไม้ จัดแจงของที่ควรจัดอยู่ ที่นั้นโจรคนหนึ่ง คิดว่าตอน
กลางคืนเราเข้าไปยังเรือนนั้น แล้วจักเอาเชือกเส้นนี้มัดสิ่งของบาง
อย่างแล้วลักไป จึงเอามีดเข้าไปตัด ลำดับนั้นเชือกนั้นได้กลายเป็น
งูพิษขู่แล้ โจรกลัวไม่กล้าเข้าไป หญิงนั้นออกจากเรือน สอดคอเข้า
ไปในบ่องเชือกผูกคอตายแล้ว พลวเจตนาห้ามเสีย ซึ่งอันตรายแล้ว
เป็นอุปนิสสยปัจจัยแก่วิบากของตนด้วยประการฉะนี้.

แต่คำนี้ก็ไม่ควรถือโดยแน่นอน เพราะว่า กรรมที่ได้โอกาสห้าม
อันตรายแห่งวิบากอย่างนี้แล้วย่อมให้ผล ส่วนกรรมที่ยังวิบากให้เกิดกล่าว
ไม่ได้ว่า ไม่เป็นอุปนิสสัยแก่วิบาก. ในคำว่า กมฺมํ นี้ บัณฑิตพึงทราบ
ว่า ได้แก่กรรมที่เป็นไปในภูมิทั้ง 4. ก็คำที่ท่านกล่าวไว้ว่า มรรคเป็น
อุปนิสสยปัจจัยแก่ผลสมาบัติ
ข้างหน้านั้น กล่าวด้วยอำนาจธรรมที่ไม่มี
เจตนา. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงแสดงไว้ว่า ธรรมที่ยัง
วิบากให้เกิดขึ้นนั่น แหละเป็นอุปนิสสยปัจจัยแก่วิบากของตน.
คำว่า ราคํ อุปนิสฺสาย ปาณํ หนติ ความว่า ประโยชน์ใดย่อมมี
โดยเป็นสาระในวัตถุใด ผิดแล้วในวัตถุนั้น หรือว่าฆ่าสัตว์เพื่อประโยชน์
นั้น. แม้ในอทินนาทานเป็นต้น ผู้ศึกษาพึงทราบเนื้อความโดยอุบายนี้.
คำว่า สนฺธึ ฉินฺทติ เป็นต้น ตรัสไว้ด้วยอำนาจอทินนาทาน. คำว่า
สนฺธึ ในอธิการนั้นหมายเอาฝาเรือน.
สองบทว่า นิลฺโลปํ หรติ คือ แอบเข้าไปขโมย.
สองบทว่า เอกาคาริกํ กโรติ คือ ร่วมกันหลาย ๆ คน ล้อมปล้น
เรือนหลังเดียว.

สองบทว่า ปริปนฺเถ ติฏฺฐติ คือ ดังทำร้ายคนเดินทาง.
ในคำว่า โทสํ อุปนิสสย เป็นต้น ความว่า ทำโทสะที่เกิดขึ้น
ด้วยอำนาจความแค้นว่า เขาได้สร้างความฉิบหายวายวอดให้กับเราเป็นต้น
ให้เป็นอุปนิสสัย. คำว่า โมหํ อุปนิสฺสาย คือ ทำโมหะที่ปิดบังโทษใน
ปาณาติบาตเป็นต้น ให้เป็นอุปนิสสัย. สองบทว่า มานํ อุปนิสฺสาย คือ
ทำมานะว่า ทำไมจึงฆ่าไม่ได้ ทำไมเราจึงลักไม่ได้ให้เป็นอุปนิสสัย. หรือ
อธิบายว่า ถูกใครเขาดูถูกเหยียดหยาม แล้วยกเอาการดูถูกนั้นมาเป็น
อุปนิสสัยบ้าง.
สองบทว่า ทิฏฺฐึ อุปนิสฺสาย คือ ทำทิฏฐิในยัญทั้งหลายให้เป็น
อุปนิสสัย เหมือนพราหมณ์ทั้งหลาย และพวกปาราสิกะและมิลักขะเป็นต้น.
สองบทว่า ปตฺถนํ อุปนิสสาย คือ ทำความปรารถนามีอาทิอย่างนี้
ว่า ถ้างานชิ้นของเข้าเจ้าสำเร็จ ก็จักทำพลีกรรมอย่างนี้แก่ท่าน หรือ
ท่านจงนำเครื่องบวงสรวงเทวดาชนิดโน้นมาให้ข้าพเจ้า หรือจงนำเอาไป
ให้คนโน้น หรือว่าท่านจงมาร่วมเป็นสหายของเรา ซึ่งกำลังทำงานเหล่านี้
อยู่ให้เป็นอุปนิสสัย. ในคำว่า ราโค โทโส มาโน ทิฏฺฐิ ปตฺถนา ราคสฺส
นี้ ราคะเป็นอุปนิสสัยแก่ราคะด้วย แก่ธรรมมีโทสะเป็นต้นด้วย. แม้ใน
โทสะเป็นต้นก็นัยนี้เหมือนกัน.
สองบทว่า ปาณาติปาโต ปาณาติปาตสฺส ความว่า บุคคลผู้ฆ่า
สัตว์ ย่อมจะฆ่าสัตว์อื่นอีก เพราะตั้งอยู่ในความที่ไม่สำรวม. หรือว่าย่อมฆ่า
ญาติมิตรของผู้ที่ถูกเขาฆ่าแล้วประทุษร้ายต่อเพิ่มอีก. ปาณาติบาตเป็น
อุปนิสสยปัจจัยแก่ปาณาติบาตด้วยประการฉะนี้ อนึ่ง ปาณาติบาตเป็น
อุปนิสสยปัจจัยแก่อทินนาทานเป็นต้น
ในเวลาฆ่าเจ้าของ หรือคนเฝ้า
ลักเอาของเขาไป, ในการฆ่าสามีแล้วล่วงภรรยาเขา, ในเวลาพูดเท็จว่า

ไม่ได้ฆ่า, ในเวลาพูดส่อเสียดเพื่อปกปิดกรรมที่ตัวเองทำแล้ว, หรือเพื่อ
ต้องการทำกรรมที่ยังไม่ได้ทำ ในเวลาพูดคำหยาบ คำเพ้อเจ้อ โดยนัยนั้น
ในเวลาเพ่งเล็งสมบัติที่อยากได้ของผู้อื่น ในเวลาคิดว่าเมื่อเขาถูกฆ่าตาย
แล้วพวกพ้องมิตรอำมาตย์ของเขาต้องสูญสิ้นไปเป็นต้น และในเวลาถือ
ความเห็นผดด้วยอำนาจผู้ทำกรรมที่ทำได้ยาก ว่าปาณาติบาตของเราจัก
หนักแน่นอยู่นี้ เป็นต้น. บัณฑิตพึงทราบเนื้อความในความหมุนไปใน
ธรรม มีอทินนาทานเป็นต้นเป็นมูลโดยอุบายนี้.
สองบทว่า มาตุฆาตกมฺมํ มาตุฆาตกมฺมสฺส ความว่า มาตุฆาต-
กรรมเป็นอุปนิสสยปัจจัยแก่มาตุฆาตกรรม สำหรับบุคคลผู้เห็นคนอื่นฆ่า
มารดา แล้วฆ่าซึ่งมารดาของคนบ้าง เข้าใจว่าการทำอย่างนั้นสมควร
หรือด้วยอำนาจการฆ่าในภพหนึ่งแล้วฆ่าโนภพอื่นอีก หรือในภพเดียวกัน
ด้วยสามารถแห่งการสั่งบ่อย ๆ ว่าท่านจงไปฆ่ามารดาของเรา หรือด้วย
อำนาจการประหารครั้งที่ 2 เพื่อให้ตายแน่นอนด้วยการประหาร 2 ครั้ง.
แม้บทที่เหลือ ผู้ศึกษาพึงทราบเนื้อความตามที่เหมาะสมโดยนัยนี้เหมือน
กัน.
อาจารย์บางพวกกล่าวว่า อกุศลที่มีกำลัง หาเป็นอุปนิสสยปัจจัยแก่
อกุศลทีมีกำลังอ่อนไม่ เพราะฉะนั้น เทศนาพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสไว้
ด้วยอำนาจอนันตริยกรรมที่เนื่องด้วยกรรมบถเท่านั้น. ดังนั้น ไม่ควรยึด
ถือโดยแน่นอน. เพราะว่าบุคคลทำกรรมมีปาณาติบาตเป็นต้นแล้ว ถูก
ท้วงติงว่า ทำไมจึงทำอย่างนั้น ย่อมทำอาการโกรธบ้าง เดือดร้อนบ้าง
ก็เมื่อกิเลสมีประมาณน้อยเกิดแล้ว เขาปล่อยให้กิเลสนั้นขยายตัวไม่ยอมทำ
การล่วงละเมิดได้ เพราะฉะนั้น อกุศลที่มีกำลังย่อมเป็นอุปนิสสยปัจจัย
แก่อกุศลที่หย่อนกำลังไป และอกุศลที่หย่อนกำลังก็ย่อมเป็นอุปนิสสย-

ปัจจัย แม้แต่อกุศลที่มีกำลังได้เหมือนกัน ก็คำใดที่ท่านกล่าวไว้ใน
วรรณนานิทเทสแห่งปัจจัยวิภังค์ว่า ธรรมที่ชื่อว่าเป็นอุปนิสสยปัจจัย
เพราะอรรถว่า เป็นเหตุมีกำลัง คำนั้นท่านกล่าวไว้ เพราะภาวะแห่งการ
เป็นเหตุเท่านั้นมีกำลัง ไม่ใช่เพราะตัวปัจจัยธรรมซึ่งเป็นที่เข้าไปอิงอาศัย.
จริงอยู่ กรรมและกิเลสทั้งหลาย ที่มีกำลังมากก็ดี ที่หย่อนกำลังก็ดี
จัดว่าเป็นเหตุที่มีกำลังทั้งนั้น.

พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า ราคํ อุปนิสฺสาย ทานํ เทติ เป็นต้น
ต่อไป บุคคลเข้าไปอาศัยความยินดีในอุปปัตติภพ หรือในโภคะทั้งหลาย
ว่า ทำไมหนอเราจึงจะเข้าถึงความเป็นสหายของเหล่าเทพชั้นจาตุมหารา-
ชิกาเป็นต้น ดังนี้แล้วจึงให้ทาน แม้ในการสมาทานศีลและรักษาอุโบสถ
เป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน ก็บุคคลเมื่อทำฌานให้เกิดเพื่อต้องการข่มราคะ
ทำวิปัสสนาให้เกิดเพื่อต้องการละราคะ ทำมรรคไห้เกิดเพื่อต้องการตัดภพ
ตัดชาติ ชื่อว่าเข้าไปอิงอาศัยราคะทำให้เกิดขึ้น. อนึ่ง เมื่อยังอภิญญาและ
สมาบัติให้เกิด เพื่อต้องการให้ปราศจากราคะ ก็ชื่อว่าเข้าไปอิงอาศัยราคะ
ให้เกิดขึ้นเหมือนกัน. จริงอยู่ ด้วยความต้องการเท่านี้ ผู้นั้นย่อมเป็นคน
ปราศจากราคะได้.
บทว่า สทฺธาย คือ ความเชื่ออันเป็นไปด้วยอำนาจทานเป็นต้น แม้
ในศีลเป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน. เหมือนอย่างว่า เมื่อยังศรัทธาเป็นต้น
ให้เกิดด้วยอำนาจทานเป็นต้น ชื่อว่าเข้าไปอิงอาศัย ราคะให้เกิด ฉันใด ผู้
ศึกษาพึงทราบว่า แม้ราคะเป็นต้น ก็ชื่อว่าเป็นอุปนิสสยปัจจัยแก่ศรัทธา
เป็นต้น ฉันนั้น.
สองบทว่า ตสฺส ปฏิฆาตตฺถาย คือเพื่อห้ามเสียซึ่งวิบากนั้น อธิบาย

ว่า เพื่อไม่ให้โอกาสแห่งวิบากเกิดขึ้น ในสัปปฏิฆาตธรรมทั้งหลาย มี
อธิบายเพียงเท่านี้. ถามว่า อนันตริยกรรมเหล่าใดไม่มีปฏิฆาต ทำไม
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ตสฺส ปฏิฆาตตฺถาย ไว้ในอนันตริยกรรม
เหล่านั้น. แก้ว่า ตรัสด้วยอำนาจอัธยาศัยแห่งบุคคลนั้น. จริงอยู่ ผู้นั้น
ย่อมมีอัธยาศัยว่าจะประพฤติเพื่อต้องการจะกำจัดสิ่งนั้น (วิบาก). พระผู้
มีพระภาคเจ้าทรงถือเอาอัธยาศัยนั้น จึงตรัสไว้อย่างนี้. คำว่า ราคํ
อุปนิสฺสาย อตฺตานํ อาตาเปติ
ผู้ศึกษาพึงทราบความทั้งหมดโดยนัยก่อน
นั่นเทียวว่า บุคคลเห็นอยู่ซึ่งส่วนบุญ โดยเป็นการกระทำได้ยากของผู้
ยินดีแล้วในสมบัติใดเล่า ย่อมทำอย่างนั้นบ้าง.
สองบทว่า กยิกสฺส สุขสฺส คือ ความสุขที่ได้เพราะการทำกุศล
ด้วยอำนาจการก้าวล่วงอกุศลมีราคะเป็นต้น หรือว่าด้วยอำนาจการบริโภค
กามแห่งบุคคลผู้ยังไม่เห็นโทษด้วยอำนาจราคะเป็นต้น. บทว่า ทกฺขสฺส
คือ ความทุกข์ที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจการย่างกิเลสเป็นต้น (การทำตนเองให้
เดือดร้อน) หรือความทุกข์ที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจการฆ่า และการจองจำ
ที่เป็นไปเพราะเหตุแห่งราคะเป็นต้น. บทว่า ผลสมาปตฺติยา หมายถึง
คุณธรรมที่พระโยคาวจรให้เกิดขึ้น เพราะตัดกิเลสมีราคะเป็นต้นได้ หรือ
หมายถึงคุณชาติที่ท่านผู้เบื่อหน่ายราคะเป็นต้นเหล่านั้นเข้าถึงแล้ว. สองบท
ว่า กยิกํ สขํ เป็นต้น ความว่าเมื่อความสุขเกิดขึ้น บุคคลยินดีความสุข
นั้น ทำความสุขนั้นให้เกิดบ่อย ๆ ด้วยปัจจัยอย่างเดียวกันนั้นเอง ความ
สุขคราวก่อนชื่อว่าเป็นอุปนิสสยปัจจัย แก่ความสุขคราวหลัง.
ก็ในบรรดาความหนาวเป็นต้น เมื่อบุคคลซ่องเสพเกินไป ซึ่งความ
ร้อนมีความร้อนเพราะไฟเป็นต้น ความสุขเบื้องต้นย่อมเป็นอุปนิสสย-

ปัจจัยแก่ความทุกข์ภายหลัง. อีกอย่างหนึ่งในอธิการนี้ กายิกสุขของบุคคล
ผู้ดื่มด่ำในกามทั้งหลายว่า สัมผัสแห่งแขนที่มีขนอ่อนนุ่มของปริพาชิกานี้
เป็นสุขจริงหนอ ดังนี้ ย่อมเป็นอุปนิสสยปัจจัยแห่งกายิกทุกข์ในนรก.
ส่วนเมื่อพระโยคีผู้มีความสุขเพราะไม่มีโรค เข้าผลสมาบัติ กายิกสุขย่อม
เป็นอุปนิสสยปัจจัยแก่ผลสมาบัติ.
ก็เมื่อบุคคลเสพอยู่ซึ่งความสุขเพื่อกำจัดทุกข์ เหมือนพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าเข้าผลสมาบัติระงับอาพาธ เพื่อกำจัดทุกข์ กายิกทุกข์ย่อมเป็น
อุปนิสสยปัจจัยแก่กายิกสุข และผลสมาบัติ. ฤดูที่สบายย่อมเป็นอุปนิสสย-
ปัจจัยแก่สุข และผลสมาบัติ และฤดูที่ไม่สบายย่อมเป็นอุปนิสสยปัจจัย
แก่ทุกข์. อีกอย่างหนึ่ง เมื่อบุคคลปรารถนาเสวยความสุข อันเกิดแล้ว
ด้วยอำนาจรูปอันตั้งอยู่แล้วในสมาบัติ เพราะข่มความไม่สบายเพราะฤดูไว้
ฤดูแม้จะไม่สบาย (ของท่าน) ก็เป็นปัจจัยแก่ผลสมาบัติได้เหมือนกัน.
แม้ในโภชนะและเสนาสนะก็นัยนี้เหมือนกัน. คำว่า กายิกํ สุขํ เป็นต้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงไว้รวมกันโดยเฉพาะอีก. แต่ผู้ศึกษาพึงทราบ
ความเป็นปัจจัยแห่งธรรมเหล่านั้น ตามนัยที่กล่าวแล้วในหนหลังเหมือน
กัน. คำว่า ผลสนาปตฺติ กายิกสฺส สุขสฺส คือ ความสุขที่เกิดขึ้นด้วย
อำนาจรูปที่มีสมาบัติเป็นสมุฏฐาน จริงอยู่ พระโยคีออกจากสมาบัติแล้ว
ย่อมได้เสวยความสุขนั้น.
ในคำว่า กายิกํ อุปนิสฺสาย สุขํ ทานํ เป็นต้น ผู้ศึกษาพึงทราบ
ความสุขและความทุกข์ เป็นอุปนิสสยปัจจัยด้วยอำนาจสุขที่ได้รับแล้วยังไม่
เสื่อมไปว่า ไฉนหนอ ความสุขนี้ของเราไม่พึงเสื่อมไป หรือด้วยอำนาจ

การบรรลุสุขที่ตนยังไม่ถึงว่า ไฉนหนอ เราพึงเข้าถึงความสุขอย่างนี้ในกาล
ต่อไป แม้ในทุกข์ก็พึงทราบด้วยอำนาจความเสื่อมไปว่า ไฉนหนอ ทุกข์
พึงเสื่อมไป หรือด้วยอำนาจปรารถนาไม่ให้ทุกข์เกิดว่า ทุกข์อย่างนี้ไม่
พึงเกิดต่อไป. ฤดู โภชนะ และเสนาสนะ มีนัยดังกล่าวแล้วนั่นเอง.
แม้ในคำว่า กายิกํ สขํ เป็นต้น อีก มีความว่า เพราะศรัทธาย่อม
เกิดแม้แก่บุคคลผู้ถึงสุขได้ เช่นในคำว่า ดูก่อนโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์ การ
เข้าถึงพระพุทธเจ้านั้นว่าเป็นสรณะเป็นการดีแล, ย่อมเกิดแก่บุคคลแม้ถึง
ทุกข์ก็ได้ เช่นในคำว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง
พระองค์นั้น ย่อมทรงแสดงธรรมเพื่อกำหนดรู้ทุกข์อย่างนี้ อนึ่ง บุคคลย่อม
ทำให้บริบูรณ์ในศีลเป็นต้น เพื่อประกอบตนไว้ในสุข และพรากเสียจาก
ความทุกข์ เพราะฉะนั้น สุขและทุกข์ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงแสดง
โดยเป็นอุปนิสสัยแห่งศรัทธาเป็นต้น แม้ฤดูเป็นต้น ผู้ศึกษาพึงประกอบ
อธิบายตามสมควร. แม้ในคำว่า กายิกํ สุขํ อุปนิสฺสาย ปาณํ หนติ
เป็นต้น พึงทราบความที่สุขเป็นต้น เป็นอุปนิสสยปัจจัยตามแนวทางแห่งนัย
ที่ข้าพเจ้ากล่าวแล้วนั่นเอง. ก็ในบทภาชนีย์แห่งอุปนิสสยปัจจัยนี้ ผู้ศึกษา
พึงทราบว่าอุปนิสสยปัจจัยทั้งสามทรงจำแนกไว้ 23 วาระ คือ กุศล 8
อกุศล 6 อัพยกาตะ 9 วาระนี้ คือ กุศลเป็นปัจจัย เก่กุศล ด้วยอำนาจ
ของอุปนิสสยปัจจัย 3 วาระ แก่อกุศล 2 วาระ แก่อัพยากตะ 3 วาระ
อกุศลเป็นปัจจัยแก่อกุศล ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย 3 วาระ แก่กุศล
1 วาระ แก่อัพยากตะ 2 วาระ แม้อัพยากตะก็เป็นปัจจัยแก่อัพยากตะ

ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย 3 วาระ แก่กุศล 3 วาระ แก่อกุศล 3
วาระ.
อรรถกถาอุปนิสสยปัจจัย จบ

10. ปุเรชาตปัจจัย


[556] 1. อัพยากตธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากธรรม ด้วย
อำนาจของปุเรชาตปัจจัย

มี 2 อย่าง คือ

ที่เป็น อารัมมณปุเรชาตะ และ วัตถุปุเรชาตะ
ที่เป็น อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่
1. พระอรหันต์พิจารณาเห็นจักษุ โดยความเป็นของไม่เที่ยง
เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา.
2. พระอรหันต์พิจารณาเห็นโสตะ ฆานะ ชิวหา กายะ รูป
เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และหทัยวัตถุ โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็น
ทุกข์ เป็นอนัตตา.
3. พระอรหันต์เห็นรูปด้วยทิพยจักษุ ฟังเสียงด้วยทิพโสต-
ธาตุ.
4. รูปายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ด้วยอำนาจของ
ปุเรชาตปัจจัย.
5. สัททายตนะ เป็นปัจจัยแก่โสตวิญญาณ, คันธายตนะ เป็น
ปัจจัยแก่ฆานวิญญาณ, รสายตนะ เป็นปัจจัยแก่ชิวหาวิญญาณ, โผฏ-
ฐัพพายตนะ เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ ด้วยอำนาจของปุเรชาตปัจจัย.