เมนู

2. อธิบดี คือ วิริยะ เป็นปัจจัยแก่ธรรมทั้งหลายที่ประกอบ
กับวิริยะ และแก่รูปทั้งหลายที่มีวิริยะ และธรรมที่ประกอบกับวิริยะ
นั้นเป็นสมุฏฐาน ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย
3. อธิบดี คือ จิต เป็นปัจจัยแก่ธรรมทั้งหลายที่ประกอบกับ
จิต และแก่รูปทั้งหลายที่มีจิต และธรรมที่ประกอบกับจิตนั้นเป็น
สมุฏฐาน ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย
4. อธิบดี คือ วิมังสา เป็นปัจจัยแก่ธรรมทั้งหลายที่ประกอบกับ
วิมังสา และแก่รูปทั้งหลายที่มีวิมังสา และธรรมที่ประกอบกับวิมังสา
นั้นเป็นสมุฏฐาน ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย
5. ธรรมทั้งหลายเหล่าใด ๆ เกิดขึ้นเพราะกระทำกรรมใด ๆ
ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ธรรมทั้งหลายเหล่านั้น ๆ เป็นปัจจัย
แก่ธรรมนั้น ๆ ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย.


วรรณนานิทเทสแห่งอธิปติปัจจัย


พึงทราบวินิจฉัยในอธิปติปัจจัยนิทเทสต่อไป. บทว่า ฉนฺทาธิปติ
ได้แก่ อธิบดี คือฉันทะ. คำว่า ฉันทาธิปตินั้น เป็นชื่อแห่งกัตตุกัมยตา-
ฉันทะ. (ฉันทะคือความเป็นผู้ใคร่เพื่อจะทำ) ที่เกิดขึ้นในเวลาจิตทำฉันทะ
ให้หนัก ให้เป็นให้เกิดขึ้น. แม้ในบทที่เหลือก็นัยนี้เหมือนกัน.
ถามว่า เพราะเหตุไรในนิทเทสแห่งอธิปติปัจจัยนี้ พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าจึงไม่ตรัสว่า อธิบดีเป็นปัจจัยแก่กรรมที่สัมปยุตด้วยอธิบดี เหมือน
ในนิทเทสแห่งเหตุปัจจัย ซึ่งตรัสไว้ว่า เหตุเป็นปัจจัยแก่ธรรมที่สัมปยุต

ด้วยเหตุ (แต่) ทรงแสดงเทศนาโดยนัยเป็นต้นว่า ฉันทาธิปติเป็นปัจจัย
แก่ธรรมที่สัมปยุตด้วยฉันทะ. ตอบว่า เพราะอธิบดีไม่มีในขณะเดียวกัน
จริงอยู่ ในนัยก่อน เหตุสองหรือสาม เป็นเหตุปัจจัยในขณะเดียวกันได้
เพราะไม่ละภาวะที่อุปการะ โดยอรรถว่า เป็นมูลราก. แต่อธิบดีเป็น
อุปการะ. โดยอรรถว่า เป็นใหญ่ และธรรมเป็นอันมากจะชื่อว่าเป็นใหญ่
ในขณะเดียวกันหาได้ไม่ เพราะฉะนั้น ธรรมเหล่านั้น แม้เกิดขึ้นคราว
เดียวกัน จะเป็นอธิปติปัจจัยในขณะเดียวกันย่อมไม่ได้ เพราะภาวะที่
อธิปติปัจจัยไม่มีในขณะเดียวกันนั้น. ในนิทเทสแห่งอธิปติปัจจัยนี้พระผู้-
มีพระภาคเจ้าจึงทรงแสดงเทศนาดังที่กล่าวมาแล้ว.
พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดงสหชาตธิปติอย่างนี้แล้ว บัดนี้
เพื่อจะทรงแสดงอารัมมณาธิปติ จึงทรงเริ่มคำว่า ยํ ยํ ธมฺมํ ครุํ กตฺวา
เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น คำว่า ยํ ยํ ธมฺมํ คือ ซึ่งธรรมที่เป็น
อารมณ์ใด ๆ. สองบทว่า ครุํ กตฺวา ได้แก่ ทำให้หนัก คือให้หนักแน่น
ให้เป็นธรรมชาติที่ควรได้ ไม่ควรทอดทิ้ง ไม่ควรดูหมิ่น ด้วยอำนาจการ
เคารพและยำเกรง หรือด้วยอำนาจการพอใจ. คำว่า เต เต ธมฺมา คือ
ธรรมที่ควรทำให้หนักนั้น ๆ. คำว่า เตสํ เตสํ คือธรรมที่ทำให้หนัก
เหล่านั้นๆ. ทว่า อธิปติปจฺจเยน คือ เป็นปัจจัยด้วยอำนาจอารัมมณาธิ-
ปติปัจจัย. พรรณนาบาลีในอธิการนี้เพียงเท่านี้.
ก็ชื่อว่า อธิบดีนี้ มี 2 อย่าง คือ สหชาตธิปติ และอารัมมณา-
แห่งฉันทะเป็นต้น.
ใน 4 อย่างนั้น และอธิบดีเมื่อว่าโดยภูมิมีอย่างละ 4
คือเป็นกามาวจรเป็นต้น. บรรดาอธิบดีที่เป็นกามาวจรเป็นต้นนั้น อธิบดี

ที่เป็นกามาวจรมี 3 อย่าง คือ กุศล อกุศล และกิริยา แต่ครั้นถึงอกุศล
ย่อมไม่ได้วิมังสาธิปติ. อธิบดีที่เป็นรูปาวจรและอรูปาวจร มีอย่างละสอง
คือ เป็นกุศลและกิริยา. อธิบดีที่เป็นโลกุตตระมี 2 อย่าง คือ เป็นกุศล
และวิบาก แต่เมื่อว่าโดยชาติ อารัมมณาอธิปติมี 6 อย่าง คือ กุศล อกุศล
วิบาก กิริยา รูป และนิพพาน. ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัยโดยการจำแนก
โดยประการต่าง ๆ ในอธิการนี้ ดังพรรณนามานี้.
ก็ในสหชาตาธิปตินี้ซึ่งแตกต่างกัน ดังพรรณนามาแล้วนี้ อธิบดี
กล่าวคือ กามาวจรกุศลและกิริยา ก่อน เป็นอธิปติปัจจัยแก่ธรรมที่
สัมปยุตกับตน และรูปซึ่งมีจิตเป็นสมุฏฐาน ในเวลาที่สหชาตธรรมทำ
อธิบดีอื่นมีฉันทะเป็นต้น ให้เป็นใหญ่เกิดขึ้นในจิตตุปบาทที่ประกอบด้วย
เหตุ 2 และเหตุ 3. แม้ในอธิบดี กล่าวคือ รูปาวจรกุศลและกิริยา
ก็นัยนี้เหมือนกัน. ก็ในอธิการนี้ ได้เฉพาะอธิบดีที่เป็นรูปาวจรกุศลและ
กิริยาเท่านั้น เพราะว่าธรรมเหล่านั้นย่อมเกิดขึ้นโดยไม่พรากจากสหชาตา-
ธิปติ. ส่วนอธิบดี กล่าวคือ อรูปาวจรกุศลและกิริยา เหมือนกับอธิบดี
ที่เป็นรูปาวจรในปัญจโวการภพ. แต่ในจตุโวการภพ ย่อมเป็นอธิปติ-
ปัจจัยแก่ธรรมที่สัมปยุตเท่านั้น. อธิบดีที่เป็นกามาวจรทั้งหมด ที่เกิดขึ้น
ในจตุโวการภพนั้นก็เหมือนกัน. อธิบดีที่เป็นโลกุตตระทั้งฝ่ายกุศลและ
วิบาก ย่อมเป็นอธิปติปัจจัยแก่ธรรมที่สัมปยุต และรูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน
อย่างเดียว ในปัญจโวการภพ. ในจตุโวการภพ เป็นปัจจัยเฉพาะแก่อรูป
ธรรมเท่านั้น.
อกุศลเป็นอธิปติปัจจัยแก่ธรรมที่สัมปยุตโดยแน่นอน ในมิจฉัตต-
นิยตจิต และแก่รูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐานในกามภพ.

อกุศลที่เป็นอนิยตธรรม (ให้ผลไม่แน่นอนในลำดับจุติจิต) เป็น
อธิปติปัจจัยแก่ธรรมที่สัมปยุต และรูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐานเหล่านั้น ใน
เวลาที่ตนเป็นอธิบดี ในกามภพ และรูปภพ. เป็นอธิปติปัจจัยเฉพาะ
แก่อรูปธรรมเท่านั้น ในอรูปภพ. นี้เป็นนัยในสหชาตาธิปติปัจจัยก่อน.
ส่วนในอารัมมณาธิปติปัจจัย มีอธิบายดังต่อไปนี้
กามาวจรกุศล เป็นอารัมมณาธิปติปัจจัยแก่ธรรมสองหมวดเหล่านี้
คือ กามาวจรกุศล และอกุศลที่สหรคตด้วยโลภะ. นัยในอารัมมณาธิปติ-
ปัจจัยที่เป็นกุศล แม้ในรูปาวจร และอรูปาวจร ก็นัยนี้เหมือนกัน.
ส่วนอารัมมณาธิปติที่เป็นโลกุตตรกุศล เป็นอารัมมณาธิปติปัจจัย
แก่กุศลญาณสัมปยุต และกิริยาญาณสัมปยุต ที่เป็นกามาวจร.
ก็ชื่อว่า อารัมมณาธิปติที่เป็นอกุศล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียก
ว่า จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโลภะ จิตตุปบาทนั้น เป็นอารัมมณาธิปติ
ปัจจัยเฉพาะแก่อกุศลที่สหรคตด้วยโลภะเท่านั้น.
ฝ่ายอารัมมณาธิปติฝ่ายวิบากที่เป็นกามาวจร รูปาวจร และอรูปา-
วจร เป็นอารัมมณาธิปติปัจจัยเฉพาะแก่อกุศลที่สหรคตด้วยโลภะเท่านั้น.
อารัมมณาธิปติที่เป็นโลกุตตรวิบาก เป็นอารัมมณาธิปติปัจจัยแก่
มหากุศลญาณสัมปยุต และมหากิริยาญาณสัมปยุตเท่านั้น.
ก็เมื่อว่าโดยประเภทที่เป็นกามาวจร เป็นต้น อารัมมณาธิปติที่
เป็นกิริยาทั้ง 3 เป็นอารัมมณาธิปติปัจจัยแก่อกุศลที่สหรคตด้วยโลภะ
เท่านั้น. อารัมมณาธิปติที่เป็นรูปขันธ์ กล่าวคือรูปที่เกิดจากสมุฏฐานทั้ง 4
เป็นอารัมมณาธิปติปัจจัยแก่ กุศลที่สหรคตด้วยโลภะเท่านั้น. นิพพานเป็น
อารัมมณาธิปติปัจจัยแก่ธรรม 4 หมวดเหล่านั้นคือ มหากุศลญาณสัมปยุต

มหากิริยาสัมปยุต อันเป็นกามาวจร โลกุตตรกุศล และโลกุตตร-
วิบาก. ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัย โดยปัจจยุบบันในอารัมณาธิปติปัจจัยนี้
อย่างนี้แล.
วรรณนานิทเทสแห่งอธิปติปัจจัย จบ

[5]

อนันตรปัจจัย

ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความติดต่อกัน
ไม่มีระหว่างคั่น กล่าวคือ
1. จักขุวิญญาณธาตุ และธรรมทั้งหลายที่ประกอบกับจักขุ-
วิญญาณธาตุนั้น เป็นปัจจัยแก่มโนธาตุ และแก่ธรรมทั้งหลายที่
ประกอบกับมโนธาตุนั้น ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย
2. มโนธาตุ และธรรมทั้งหลายที่ประกอบกับมโนธาตุ เป็น
ปัจจัยแก่มโนวิญญาณธาตุ และแก่ธรรมทั้งหลายที่ประกอบกับมโน-
ธาตุนั้น ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย
3. โสตวิญญาณธาตุ และธรรมทั้งหลายที่ประกอบกับโสต-
วิญญาณธาตุนั้น เป็นปัจจัยแก่มโนธาตุ และแก่ธรรมทั้งหลายที่
ประกอบกับมโนธาตุนั้น ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย
4. มโนธาตุ และธรรมทั้งหลายที่ประกอบกับมโนธาตุนั้น
เป็นปัจจัยแก่มโนวิญญาณธาตุ และแก่ธรรมทั้งหลายที่ประกอบกับ
มโนวิญญาณธาตุนั้น ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย
5. ฆานวิญญาณธาตุ และธรรมทั้งหลายที่ประกับฆาน-