เมนู

2. อธิบดี คือ วิริยะ เป็นปัจจัยแก่ธรรมทั้งหลายที่ประกอบ
กับวิริยะ และแก่รูปทั้งหลายที่มีวิริยะ และธรรมที่ประกอบกับวิริยะ
นั้นเป็นสมุฏฐาน ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย
3. อธิบดี คือ จิต เป็นปัจจัยแก่ธรรมทั้งหลายที่ประกอบกับ
จิต และแก่รูปทั้งหลายที่มีจิต และธรรมที่ประกอบกับจิตนั้นเป็น
สมุฏฐาน ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย
4. อธิบดี คือ วิมังสา เป็นปัจจัยแก่ธรรมทั้งหลายที่ประกอบกับ
วิมังสา และแก่รูปทั้งหลายที่มีวิมังสา และธรรมที่ประกอบกับวิมังสา
นั้นเป็นสมุฏฐาน ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย
5. ธรรมทั้งหลายเหล่าใด ๆ เกิดขึ้นเพราะกระทำกรรมใด ๆ
ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ธรรมทั้งหลายเหล่านั้น ๆ เป็นปัจจัย
แก่ธรรมนั้น ๆ ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย.


วรรณนานิทเทสแห่งอธิปติปัจจัย


พึงทราบวินิจฉัยในอธิปติปัจจัยนิทเทสต่อไป. บทว่า ฉนฺทาธิปติ
ได้แก่ อธิบดี คือฉันทะ. คำว่า ฉันทาธิปตินั้น เป็นชื่อแห่งกัตตุกัมยตา-
ฉันทะ. (ฉันทะคือความเป็นผู้ใคร่เพื่อจะทำ) ที่เกิดขึ้นในเวลาจิตทำฉันทะ
ให้หนัก ให้เป็นให้เกิดขึ้น. แม้ในบทที่เหลือก็นัยนี้เหมือนกัน.
ถามว่า เพราะเหตุไรในนิทเทสแห่งอธิปติปัจจัยนี้ พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าจึงไม่ตรัสว่า อธิบดีเป็นปัจจัยแก่กรรมที่สัมปยุตด้วยอธิบดี เหมือน
ในนิทเทสแห่งเหตุปัจจัย ซึ่งตรัสไว้ว่า เหตุเป็นปัจจัยแก่ธรรมที่สัมปยุต