เมนู

2. ภวังคจิต เป็นปัจจัยแก่อาวัชชนะ.
3. กิริยา เป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะ.
4. อนุโลมของพระอรหันต์ เป็นปัจจัยแก่ผลสมาบัติ.
5. เนวสัญญานาสัญญายตนกิริยา ของพระอรหันต์ผู้ออกจาก
นิโรธ เป็นปัจจัยแก่ผลสมาบัติ ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย.
[510] 6. อัพยากตธรรม เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรม ด้วยอำนาจ
ของอนันตรปัจจัย

คือ 1. อัพยากตธรรม เป็นปัจจัยแก่กุศลขันธ์ทั้งหลาย ด้วยอำนาจ
ของอนันตรปัจจัย.
[511] 7. อัพยากตธรรม เป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรม ด้วยอำนราจ
ของอนันตรปัจจัย

คือ 1. อาวัชชนะ เป็นปัจจัยแก่อกุศลขันธ์ทั้งหลาย ด้วยอำนาจ
ของอนันตรปัจจัย.

อรรถกถาอนันตรปัจจัย


ใน อนันตรปัจจัย สองบทว่า ปุริมา ปุริมา พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสรวมกุศลที่เกิดในภูมิเดียวกัน และต่างภูมิกัน . คำว่า อนุโลมเป็น
ปัจจัยแก่โคตรภู อนุโลนเป็นปัจจัยแก่โวทาน
ตรัสด้วยอำนาจอารมณ์
ที่แตกต่างกัน. คำว่า โคตรภูเป็นปัจจัยแก่มรรค โวทานเป็นปัจจัยแก่

มรรค ตรัสด้วยอำนาจภูมิที่ต่างกัน. ก็คำว่า กุศล ในคำว่า กุสลํ
วฏฺฐานสฺส
นี้ ได้แก่กุศลอันเป็นไปในภูมิ 3. บทว่า วุฏฺฐานํ คือ
วิบากอันเป็นไปในภูมิ 3. พระโยคาวจรทั้งหลาย ย่อมออกจากกุศลชวน-
วิถีด้วยวิบากเหล่านั้น ฉะนั้น วิบากนั้นท่านจึงเรียกว่า วุฏฐานะ วุฏฐานะ
นั้นมี 2 อย่าง คือตทารัมมณะ 1 ภวังค์ 1. บรรดาวุฏฐานะเหล่านั้น
แม้ทั้งสองอย่างเป็นวุฏฐานะของกามาวจรกุศล ภวังค์อย่างเดียวเป็นวุฏ-
ฐานะแห่งมหัคคตกุศล. คำว่า มคฺโค ผลสฺส นี้ พระองค์ตรัสแยก
ไว้ เพราะโลกุตตรวิบากเป็นวุฏฐานะไม่ได้ เหตุที่นับเนื่องในชวนวิถี.
สองบทว่า เสกฺขานํ อนุโลนํ ความว่า กุศลย่อมไม่เป็นอนันตร-
ปัจจัยแก่เสขธรรม เพราะฉะนั้น จึงทรงทำการแยกไว้. บทว่า ผลสมา-
ปตฺติยา
คือ ผลสมาบัติของโสดาปัตติผล สกทาคามิผล และอนาคามิผล.
บทว่า ผลสนาปตฺติยา คือ อนาคามิผลสมาบัติ. ในอกุศลจิตย่อมได้
วุฏฐานวิบากทั้งสอง.
ในคำว่า วิปากาพฺยากตา กิริยาพฺยากตา นี้ ผู้ศึกษาพึงทราบ
วิปากาพยากเฉพาะแก่วิปากาพยากตะด้วยกันเท่านั้น และกิริยาพยากตะ
เฉพาะแก่กิริยาพยากตะด้วยกันเท่านั้นเหมือนกัน. คำว่า ภวงฺคํ อาวขฺช-
นาย
เป็นต้น ตรัสด้วยอำนาจธรรมที่เจือกัน. ในคำว่า กิริยา นั้น
กามาวจรกิริยา เป็น อนันตรปัจจัย แก่วุฏฐานวิบากทั้งสอง มหัคคต-
กิริยา เป็น อนันตรปัจจัย แก่ภวังค์เท่านั้น. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเริ่ม
คำว่า กุศลธรรมทั้งหลายที่เกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรมที่เกิด
หลัง ๆ ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย
แล้วแสดงวาระ 7 วาระเหล่าใด
ไว้ในปัจจัยวิภังค์ในหนหลังว่า กุศลเป็นปัจจัยแก่กุศล กุศลเป็นปัจจัยแก่

อัพยากตะ อกุศลเป็นปัจจัยแก่อกุศล อกุศลเป็นปัจจัยแก่อัพยากตะ อัพ-
ยากตะเป็นปัจจัยแก่อัพยากตะ อัพยากตะเป็นปัจจัยแก่กุศล อัพยากตะ
เป็นปัจจัยแก่อกุศล (เพราะอำนาจของอนันตรปัจจัย). ในอธิการนี้
ท่านจำแนกอนันตรปัจจัยไว้โดยสังเขปด้วยอำนาจแห่งวาระเหล่านั้น แต่ว่า
โดยพิสดารในอธิการนี้ บัณฑิตพึงกำหนดนิทเทส 10-17-60 ถ้วน
และมากกว่านั้นให้ดีแล.
จริงอยู่ อนันตรปัจจัยนี้หาได้นิทเทส 7 อย่างเดียวเท่านั้นไม่ แต่
ย่อมได้นิทเทส 10 อย่างนี้
คือ กุศลเป็นปัจจัยแก่กุศล 1 แก่วิบาก1.
อกุศลเป็นปัจจัยแก่อกุศล 1 แก่วิบาก 1.
วิบากเป็นปัจจัยแก่วิบาก 1 แก่กิริยา 1.
กิริยาเป็นปัจจัยแก่กุศล 1 แก่อกุศล 1 แก่วิบาก 1 แก่กิริยา 1.
ก็อนันตรปัจจัยนี้จะได้นิทเทสเฉพาะ 1. อย่างเท่านั้นก็หามิได้ แต่
ยังได้นิทเทส 17 อย่าง
อย่างนี้อีก คือ กุศลเป็นปัจจัยแก่กุศล 1
กุศลวิบาก 1 อกุศลวิบาก 1.
อกุศลเป็นปัจจัยแก่อกุศล 1 อกุศลวิบาก 1 กุศลวิบาก 1.
กุศลวิบากเป็นปัจจัยแก่กุศลวิบาก 1 อกุศลวิบาก 1 กิริยา 1.
อกุศลวิบากเป็นปัจจัยแก่อกุศลวิบาก 1 แก่กุศลวิบาก 1 แก่
กิริยา 1.
กิริยาเป็นปัจจัยแก่กิริยา 1 กุศล 1 อกุศล 1 กุศลวิบาก 1
อกุศลวิบาก 1.
ก็อนันตรปัจจัยนี้จะได้นิทเทสเฉพาะ 17 อย่างเท่านั้นหามิได้ ยัง
ได้นิทเทส 60 ถ้วน
อีก คือ

กุศลเป็นอนันตรปัจจัยแก่กุศล 6 อย่าง ได้แก่ กามาวจรกุศล
เป็นอนันตรปัจจัยแก่กุศลทั้ง 4 อย่าง ตามความต่างกันแห่งภูมิ, รูปาวจร-
กุศล และอรูปาวจรกุศล, เป็นอนันตรปัจจัยแก่กุศลที่เกิดในภูมิของ
ตน ๆ.
ส่วนกุศลเป็นอนันตรปัจจัยแก่วิบาก 12 อย่าง คือ กามาวจร-
กุศล เป็นปัจจัยแก่กามาวจรกุศลวิบาก, อกุศลวิบาก, รูปาวจรวิบาก,
อรูปาวจรวิบาก, โลกุตตรวิบาก, รูปาวจรกุศลเป็นปัจจัยแก่รูปาวจรวิบาก
กามาวจรวิบาก, อรูปาวจรกุศลเป็นปัจจัยแก่กามาวจรกุศลวิบาก, รูปาว-
จรวิบาก, อรูปาวจรวิบาก, โลกุตตรวิบาก, โลกุตตรกุศล เป็นปัจจัย
แก่โลกุตตรวิบาก.
อกุศลเป็นอนันตรปัจจัย 5 อย่าง คือ แก่อกุศล, อกุศลวิบาก,
วิบากอันเป็นไปในภูมิ 3.
กามาวจรกุศลวิบากเป็นอนันตรปัจจัยแก่วิบาก 4 อย่าง คือ แก่
กามาวจรกุศลวิบาก, อกุศลวิบาก, รูปาวจรวิบาก, อรูปาวจรวิบาก.
รูปาวจรวิบากเป็นอนันตรปัจจัย 3 อย่าง คือ แก่กุศลวิบากที่
เป็นไปในภูมิทั้ง 3.
อรูปาวจรวิบากเป็นอนันตรปัจจัย 2 อย่าง คือ แก่อรูปาวจร-
วิบาก และกามาวจรกุศลวิบาก. โลกุตตรวิบากเป็นอนันตรปัจจัย 4
อย่าง
คือ แก่กุศลวิบากที่เป็นไปในภูมิ 4. กุศลวิบากเป็นอนันตรปัจจัย
13 อย่าง แก่วิบาก ด้วยประการฉะนี้.
อกุศลวิบากเป็นอนันตรปัจจัย 2 อย่าง คือ แก่อกุศลวิบากและ

กามาวจรกุศลวิบาก. วิบากแม้ในที่ทั้งปวงเป็นอนันตรปัจจัย 15 อย่าง
แก่วิบาก
โดยประการฉะนี้.
วิบากเป็นอนันตรปัจจัย 4 อย่าง แม้แก่กิริยา คือ กามาวจรกุศล-
วิบากเป็นปัจจัยแก่กามาวจรกิริยา อกุศลวิบาก รูปาวจรวิบาก และ
อรูปาวจรวิบากก็เป็นปัจจัยแก่กามาวจรกิริยาได้เหมือนกัน .
กิริยาเป็นอนันตรปัจจัยแก่กิริยา 5 อย่าง คือ กามาวจรกิริยา
เป็นปัจจัยแก่กิริยาที่เป็นไปในภูมิ 3. รูปาวจรกิริยา อรูปาวจรกิริยา เป็น
ปัจจัยเฉพาะแก่กิริยาในภูมิของคน ๆ.
กิริยาเป็นอนันตรปัจจัยแก่วิบาก 11 อย่าง คือ กามาวจรกิริยา
เป็นปัจจัยแก่อกุศลวิบากและกุศลวิบากที่เป็นไปในภูมิทั้ง 4, รูปาวจร-
กิริยาเป็นปัจจัยแก่กามาวจรกุศลวิบาก และรูปาวจรวิบาก, อรูปาวจร-
กิริยาเป็นปัจจัยแก่กุศลวิบากที่เป็นไปในภูมิ 4.
ส่วนกามาวจรกิริยาเป็นอนันตรปัจจัย 2 อย่าง แก่กุศลและ
อกุศล คือ แก่กามาวจรกุศล และอกุศล.
อนันตรปัจจัยย่อมได้นิทเทส 6. ถ้วน ด้วยประการฉะนี้.
อนันตรปัจจัยนี้จะได้นิทเทส 6. ถ้วนเท่านี้ก็หาไม่ ยังได้นิทเทส
แม้อีกมากอย่าง คือ
กามาวจรมหากุศลจิตดวงที่ 1 เป็นอนันตรปัจจัยแก่จิต 53 ดวง
คือ แก่ตนเอง แก่รูปาวจรกุศล 4 ดวง โลกุตตรกุศลโสมนัส 16 ดวง
เพราะประกอบโดยเป็นบาท รวมความว่า เป็นปัจจัยแก่กุศลจิต 21 ดวง
เป็นปัจจัยแก่วิบากอีก 32 ดวง คือ แก่กามาวจรวิบาก 11 ดวง ที่เกิด
ด้วยอำนาจตทารัมมณะ และแก่ภวังค์ในที่สุดแห่งชวนะ แก่รูปาวจรวิบาก

และอรูปาวจรวิบากที่เป็นไปด้วยอำนาจภวังค์อย่างเดียว แก่โลกกุตตรวิบาก
12 ที่เป็นไปด้วยอำนาจผลสมาบัติ.
กุศลจิตดวงที่ 2 ก็เหมือนกัน. ส่วนดวงที่ 3 และที่ 4 ย่อมเป็น
อนันตรปัจจัยแก่จิต 21 ดวงที่เหลือ เว้นกุศลที่เกิดในภูมิสูง ๆ ขึ้นไป
และโลกุตตรวิบาก.
มหากุศลจิตดวงที่ 5 และที่ 6 เป็นอนันตรปัจจัยแก่จิต 33 ดวง
คือแก่ตนเอง แก่กุศลจิตที่สหรคตด้วยอุเบกขาซึ่งเกิดในภูมิสูง ๆ ขึ้นไป 9
ดวง และแก่วิบากจิต 23 ดวง.
มหากุศลจิตดวงที่ 7 และที่ 8 เป็นอนันตรปัจจัยแก่จิต 21 ดวง
เท่านั้น.
รูปาวจรกุศลจิต 5 เป็นอนันตรปัจจัยแก่จิต 10 ดวง คือ แก่
รูปาวจรกุศลที่เกิดภายหลังตน 1 แก่มหาวิบากญาณสัมปยุต 4 ดวง และ
แก่รูปาวจรวิบาก 5 ดวง.
โดยนัยนี้แหละ บรรดา อรูปาวจรกุศล ทั้งหลาย ดวงที่ 1 เป็น
อนันตรปัจจัยแก่จิต 11 ดวง พร้อมกับวิบากของตน.
อรูปาวจรกุศลดวงที่ 2 เป็นอนันตรปัจจัยแก่จิต 12 ดวง.
อรูปาวจรกุศลดวงที่ 3 เป็นอนันตรปัจจัยแก่จิต 13 ดวง.
อรูปาวจรกุศลดวงที่ 4 เป็นอนันตรปัจจัยแก่จิต 15 ดวง คือ
จิต 14 ดวง และผลสมาบัติ 1 ดวง.
โลกุตตรกุศล เป็นอนันตรปัจจัยเฉพาะแก่วิบากของ ๆ ตน เท่า-
นั้น.

บรรดาจิตที่สหรคตด้วยโลภะ 8 ดวง อกุศลจิตดวงหนึ่ง ๆ เป็น
ปัจจัยแก่จิต 21 ดวง คือ กามาวจรวิบากมโนวิญญาณธาตุ 11 ดวง
มหัคคตวิบาก 9 ดวง และแก่ตนเองที่เกิดภายหลัง 1.
จิตที่สหรคตด้วยโทสะ 2 ดวง เป็นอนันตรปัจจัย แก่จิต 7 ดวง
คือกามาวจรวิบากมโนวิญญาณธาตุ 6 ดวง ซึ่งสหรคตด้วยอุเบกขาและ
แก่คนเองที่เกิดภายหลัง 1.
จิตที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉาและอุทธัจจะ เป็นอนันตรปัจจัยแก่จิต
21 ดวง คือกามาวจรวิบากมโนวิญญาณธาตุ 1 ดวง พร้อมกับอเหตุก-
วิบากที่สหรคตด้วยโสมนัสมหัคคตวิบาก 9 และแก่ตนเองที่เกิดภายหลัง 1.
ปัญจวิญญาณฝ่ายกุศลวิบาก เป็นอนันตรปัจจัยแก่มโนธาตุฝ่าย
กุศลวิบาก.
มโนธาตุ เป็นอนันตรปัจจัย แก่มโนวิญญาณธาตุฝ่ายวิบาก 2 ดวง.
บรรดามโนวิญญาณธาตุฝ่ายวิบาก 2 ดวงนั้น ดวงที่สหรคตด้วยโสมนัส
เป็นอนันตรปัจจัยแก่จิต 12 ดวง คือ มโนวิญญาณธาตุฝ่ายวิบาก 10 ดวง
ที่ทำหน้าที่เป็นภวังค์ แก่ตนเองที่เกิดภายหลังตนในเวลาเป็นตทารัมมณะ
และแก่โวฏฐัพพนกิริยา.
ส่วน อเหตุกมโนวิยญาณธาตุที่สหรคตด้วยอุเบกขา เป็นอนันตร-
ปัจจัยแก่จิต 12 ดวง เหมือนกัน คือ แก่อาวัชชนมโนธาตุ อาวัชชน-
มโนวิญญาณธาตุที่มีฐาน 2 และวิบากมโนวิญญาณธาตุ 10.
มหาวิบากที่เป็นติเหตุกะ เป็นปัจจัยแก่จิต 21 ดวง คือ แก่
มโนวิญญาณธาตุฝ่ายวิบากที่เป็นกามาวจร 10. เว้นโสมนัสสันตีรณะ
รูปาวจรวิบาก อรุปาวจรวิบาก และอาวัชชนจิตทั้งสอง.

ทุเหตุวิบาก เป็นอนันตรปัจจัยแก่จิต 12 ดวง ที่เหลือเว้น
มหัคคตวิบาก.
รูปาวจรวิบาก 5 เป็นอนันตรปัจจัยแก่จิต 19 ดวง คือ แก่
สาเหตุกกุศลวิบากปฏิสนธิจิต อันเป็นไปในภูมิทั้งสาม 17 ดวง และ
อาวัชชนจิต 2.
ใน บรรดาอรูปาวจรวิบาก อรูปาวจรวิบากจิตดวงที่ 1 เป็น
อนันตรปัจจัยแก่จิต 9 ดวง คือ ติเหตุกปฏิสนธิฝ่ายกุศลวิบากชั้นกามา-
วจร 4 อรูปาวจรวิบาก 4 และมโนทวาราวัชชนจิต 1.
อรูปวจรวิบากจิตดวงที่ 2 เป็นอนันตรปัจจัย 8 ดวง เว้น
วิบากชั้นต่ำกว่าเสียหนึ่งดวง.
อรูปวจรวิบากจิตดวงที่ 3 เป็นอนันตรปัจจัยยแก่จิต 7 ดวง เว้น
วิบากที่ต่ำกว่า 2 ดวง.
อรูปาวจรวิบากจิตดวงที่ 4 เป็นปัจจัยแก่จิต 6 ดวง เว้นวิบาก
เบื้องต่ำ 3 ดวง.
โลกุตตรวิบาก 4 ดวง เป็นอนันตรปัจจัยแก่จิต 14 ดวง คือ
ติเหตุกวิบาก 13 ดวง และแก่ตนเองที่เกิดภายหลัง 1. ปัญจวิญญาณฝ่าย
อกุศลวิบาก เป็นอนันตรปัจจัยแก่อกุศลวิบากมโนธาตุ. มโนธาตุเป็น
อนันตรปัจจัยแก่อเหตุกมโนวิญญาณธาตุฝ่ายอกุศลวิบาก. อเหตุกมโน-
วิญญาณธาตุฝ่ายอกุศลวิบากนั้น เป็นอนันตรปัจจัยแก่จิต 12 ดวง คือ
แก่ตนเองที่เกิดภายหลัง ในเวลาเป็นตทารัมมณะ กามาวจรวิบาก 9
ที่เป็นไปด้วยอำนาจปฏิสนธิและภวังค์ในจุติกาล และกามาวจรกิริยา 2
ดวง ที่สหรคตด้วยอุเบกขา.

กิริยามโนธาตุ เป็นปัจจัยแก่ทวิปัญจวิญญาณจิต 10.ิ
หสิตุปปาทกิริยา เป็นอนันตรปัจจัยแก่จิต 13 ดวง โดยไม่นับที่
ซ้ำ คือ แก่ติเหตุกวิบาก 9 ที่เป็นไปด้วยอำนาจภวังค์ในปัญจโวการภพ
และแก่วิบากที่สหรคตด้วยโสมนัส 5 ที่เป็นไปด้วยอำนาจตทารัมมณะ และ
แก่ตนเองที่เกิดภายหลัง.
โวฏฐัพพนกิริยา เป็นปัจจัยแก่จิต 45 ดวง คือ กามาวจรกิริยา
10 เว้นกิริยามโนธาตุ กามาวจรกุศล 8 อกุศล 12 และวิบากจิต 15
ที่เป็นไปด้วยอำนาจภวังค์ในปัญจโวการภพ.
กามาวจรติเหตุกิริยา ที่สหรคตด้วยโสมนัส 2 ดวง เป็น
อนันตรปัจจัยแก่จิต 25 ดวง ที่นับแล้วไม่นับซ้ำอีก คือ แก่ติเหตุก-
วิบาก 13 ที่เป็นไปด้วยอำนาจภวังค์ โสมนัสสหรคตวิบาก 5 ด้วยอำนาจ
ตทารัมมณะ รูปาวจรกิริยา 4 ที่เป็นไปด้วยอำนาจบริกรรม อรหัตตผล-
สมาบัติที่สหรคตด้วยโสมนัส 4 ด้วยอำนาจแห่งอรหัตตผลสมาบัติ และ
แก่คนเองที่เกิดภายหลัง 1.
ทุเหตุกโสมนัสสหรคตกิริยา 2 ดวง เป็นอนันตรปัจจัยแก่จิต 17
ดวง โดยไม่นับที่ซ้ำกัน คือ แก่ภวังคจิต 13 ตามที่กล่าวแล้ว ตทา-
รัมมณะ 5 และแก่ตนเองที่เกิดภายหลัง 1.
กามาวจรติเหตุอุเบกขาสหรคตกิริยา 2 ดวง เป็นอนันตรปัจจัย
แก่จิต 24 ดวง โดยไม่นับที่ซ้ำกัน คือ แก่ภังคจิต 13 ดวง เหล่านั้น
นั้นแหละ อุเบกขาสหรคตวิบาก 6 ที่เป็นไปด้วยอำนาจตทารัมมณะ
รูปาวจรกิริยา 1 ที่เป็นไปด้วยอำนาจบริกรรม อรูปาวจรกิริยา 4 อรหัตต-
ผลสมาบัติ 1 และแก่ตนเองที่เกิดภายหลัง 1.







ทุเหตุกอุเบกขาสหรคตกิริยา 2 เป็นอนันตรปัจจัยแก่จิต 18 ดวง
โดยไม่นับที่ซ้ำ คือ แก่ภวังคจิต 13 เหล่านั้นด้วย แก่ตทารัมมณจิต 6
และแก่ตนเองที่เกิดภายหลัง 1.
บรรดา รูปวจรกิริยาดวงหนึ่ง ๆ เป็นอนันตรปัจจัยแก่จิต 10
ดวง คือ ติเหตุกภวังค์ในปัญจโวการภพ 9 ดวง และแก่ตนเองที่เกิด
ภายหลัง 1 ดวง.
บรรดา อรูปาวจรกิริยาจิตทั้งหลาย
อรูปาวจรกิริยาจิตดวงที่ 1 เป็นอนันตรปัจจัยแก่จิต 11 ดวง คือ
ภวังค์จิต 9 ดวงในปัญจโวการภพ อีก 1 ดวงในจตุโวการภพ และแก่
ตนเองที่เกิดภายหลัง 1 ดวง.
อรูปาวจรกิริยาจิตดวงที่ 2 ย่อมได้ภวังคจิต 2 ดวง ในจตุโว-
การภพ.
อรูปาวจรกิริยาจิตดวงที่ 3 ได้ 3 ดวง.
อรูปาวจรกิริยาจิตดวงที่ 4 ย่อมได้ภวังคจิต 4 ดวง และผล-
สมาบัติอีก 1 ดวง. บรรดาอรูปาวจรกิริยาเหล่านั้น ดวงหนึ่ง ๆ เป็น
อนันตรปัจจัยแก่จิต 11-12-13 และ 15 ดวง ตามลำดับดังนี้แล.
อนันตรปัจจัยย่อมได้นิทเทสแม้หลายอย่างด้วยประการฉะนี้ . เพราะเหตุนั้น
ท่านจึงกล่าวว่า บัณฑิตควรกำหนดนิทเทส 10-17-60 และแม้มาก
หลาย (ของอนันตรปัจจัย) ให้ดี.
สมนันตรปัจจัย เป็นต้น มีเนื้อความกระจ่างแล้ว.
อรรถกถาอนันตรปัจจัย จบ

5. สมนันตรปัจจัย


[512] 1. กุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรม ด้วยอำนาจของ
สมนันตรปัจจัย

คือ 1. กุศลขันธ์ทั้งหลายที่เกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่กุศลขันธ์
ทั้งหลายที่เกิดหลัง ๆ ด้วยอำนาจของสมนันตรปัจจัย.
2. อนุโลม เป็นปัจจัยแก่โคตรภู ด้วยอำนาจของสมนันตร-
ปัจจัย.
3. อนุโลม เป็นปัจจัยแก่โวทาน ด้วยอำนาจของสมนันตร-
ปัจจัย
4. โคตรภู เป็นปัจจัยแก่มรรค ด้วยอำนาจของสมนันตร-
ปัจจัย
5. โวทาน เป็นปัจจัยแก่มรรค ด้วยอำนาจของสมนันตร-
ปัจจัย
[513] 2. กุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม ด้วยอำนาจ
ของสมนันตรปัจจัย

คือ 1. กุศล เป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะ ด้วยอำนาจของสมนันตร
ปัจจัย
2. มรรค เป็นปัจจัย แก่ผลด้วยอำนาจของสมนันตรปัจจัย.
3. อนุโลมของพระเสขะทั้งหลาย เป็นปัจจัยแก่ผลสมาบัติ
ด้วยอำนาจของสมนันตรปัจจัย.