เมนู

อรรถกถาอธิปติปัจจัย


ใน อารัมมณาธิปตินิทเทส พระองค์ทรงแสดงกุศลที่นับเนื่อง
ในภูมิ 5 ด้วยอำนาจพระเสขะและปุถุชน. ใน สหชาตาธิปตินิทเทส
ก็เหมือนกัน. พระอรหันต์ย่อมไม่มีการทำให้หนักในโลกิยกุศลทั้งหลาย
เพราะได้บรรลุธรรมชั้นสูงสุดแล้ว เพราะฉะนั้น จึงทรงแสดงไว้เฉพาะ
อรหัตมรรคเท่านั้น.
อรรถกถาอธิปติปัจจัย จบ

4. อนันตรปัจจัย


[505] 1. กุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรม ด้วยอำนาจของ
อนันตรปัจจัย

คือ 1. กุศลขันธ์ทั้งหลายเกิดขึ้นก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่กุศลขันธ์
ทั้งหลายที่เกิดหลัง ๆ ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย.
2. อนุโลม เป็นปัจจัยแก่โคตรภู.
3. อนุโลม เป็นปัจจัยแก่โวทาน.
4. โคตรภู เป็นปัจจัยแก่มรรค.
5. โวทาน เป็นปัจจัยแก่มรรค ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย.
[506] 2. กุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม ด้วยอำนาจ
ของอนันตรปัจจัย

คือ 1. กุศลเป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะ.
2. มรรค เป็นปัจจัยแก่ผล.
3. อนุโลมของพระเสขะ เป็นปัจจัยแก่ผลสมาบัติ.
4. เนวสัญญานาสัญญายตนกุศล ของพระอริยบุคคลผู้ออก
จากนิโรธ เป็นปัจจัยแก่ผลสมบัติ ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย.
[507] 3. อกุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรม ด้วยอำนาจของ
อนันตรปัจจัย

คือ 1. อกุศลขันธ์ทั้งหลายที่เกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่อกุศลขันธ์
ทั้งหลายที่เกิดหลัง ๆ ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย.
[508] 4. อกุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม ด้วยอำนาจ
ของอนันตรปัจจัย

คือ 1. อกุศล เป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะ ด้วยอำนาจของอนันตร-
ปัจจัย.
[509] 5. อัพยากตธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม ด้วยอำนาจ
ของอนันตรปัจจัย

คือ 1. ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอัพยากตวิบากและอัพยากตกิริยา ที่เกิด
ก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอัพยากตวิบากและอัพยากตกิริยา
ที่เกิดหลัง ๆ.

2. ภวังคจิต เป็นปัจจัยแก่อาวัชชนะ.
3. กิริยา เป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะ.
4. อนุโลมของพระอรหันต์ เป็นปัจจัยแก่ผลสมาบัติ.
5. เนวสัญญานาสัญญายตนกิริยา ของพระอรหันต์ผู้ออกจาก
นิโรธ เป็นปัจจัยแก่ผลสมาบัติ ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย.
[510] 6. อัพยากตธรรม เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรม ด้วยอำนาจ
ของอนันตรปัจจัย

คือ 1. อัพยากตธรรม เป็นปัจจัยแก่กุศลขันธ์ทั้งหลาย ด้วยอำนาจ
ของอนันตรปัจจัย.
[511] 7. อัพยากตธรรม เป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรม ด้วยอำนราจ
ของอนันตรปัจจัย

คือ 1. อาวัชชนะ เป็นปัจจัยแก่อกุศลขันธ์ทั้งหลาย ด้วยอำนาจ
ของอนันตรปัจจัย.

อรรถกถาอนันตรปัจจัย


ใน อนันตรปัจจัย สองบทว่า ปุริมา ปุริมา พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสรวมกุศลที่เกิดในภูมิเดียวกัน และต่างภูมิกัน . คำว่า อนุโลมเป็น
ปัจจัยแก่โคตรภู อนุโลนเป็นปัจจัยแก่โวทาน
ตรัสด้วยอำนาจอารมณ์
ที่แตกต่างกัน. คำว่า โคตรภูเป็นปัจจัยแก่มรรค โวทานเป็นปัจจัยแก่