เมนู

ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอัพยากตวิบาก และอัพยากตกิริยา โดยความเป็นของ
ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา.
4. พระอรหันต์เห็นรูปด้วยทิพยจักษุ ฟังเสียงด้วยทิพโสตธาตุ
รู้จิตของท่านผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยจิต ที่เป็นอัพยากตวิบากและอัพยา-
กตกิริยา ด้วยเจโตปริยญาณ.
5. ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอัพยากตะ เป็นปัจจัยแก่อิทธิวิธญาณ
เจโตปริยญาณ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ และอนาคตังสญาณ ด้วยอำนาจ
ของอารัมมณปัจจัย.
[495] 7. อัพยากตธรรม เป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรม ด้วยอำนาจ
ของอารัมมณปัจจัย

คือ 1. บุคคลย่อมยินดีเพลิดเพลินซึ่งจักษุ เพราะปรารภจักษุนั้น
ราคะ ทิฏฐิ วิจิกิจฉา อุทธัจจะ โทมนัส ย่อมเกิดขึ้น.
2. บุคคลยินดีเพลิดเพลินซึ่งโสตะ ฆานะ ชิวหา กายะ รูป
เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ หทยวัตถุ และขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอัพยากต-
วิบากและอัพยากตกิริยา เพราะปรารภสิ่งนั้น ราคะ ทิฏฐิ วิจิกิจฉา อุท-
ธัจจะ โทมนัส ย่อมเกิดขึ้น.

อรรถกถาอารัมมณปัจจัย


สองบทว่า ทานํ ทตฺวา คือ สละของที่ควรให้ อีกอย่างหนึ่งได้แก่
เจตนาเป็นเหตุให้ บทว่า ทตฺวา คือ ชำระเจตนาให้ผ่องแผ้ว คือให้
หมดจด.

สองบทว่า สีลํ สมาพยิตฺวา คือ สมาทานนิจศีล ด้วยอำนาจศีล
มีองค์ 5 หรือองค์ 10 เป็นต้น สมาทานวิรัติทรงแสดงแล้วด้วยคำนี้
ส่วนสัมปัตตวิรัติและสมุจเฉทวิรัติไม่ได้ตรัสไว้ เพราะไม่ได้ปรากฏว่าเป็น
ศีลในโลก ถึงไม่ได้ตรัสไว้ก็จริง แต่ก็เป็นอารัมมณปัจจัยได้เหมือนกัน
บรรดาวิรัติทั้งสองนั้น สมุจเฉทวิรัติเป็นอารมณ์แห่งกุศลของพระเสขะ
จำพวกเดียว หาเป็นแก่บุคคลอื่นไม่.
สองบทว่า อุโปสถกมฺมํ กตฺวา คือ ทำอุโบสถกิริยา ซึ่งมีองค์
แปดในวันอุโบสถ อันท่านกล่าวไว้อย่างนี้ว่า ไม่พึงฆ่าสัตว์ และไม่พึง
ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้เป็นต้น.
สองบทว่า ตํ ปจฺจเวกฺขิติ ความว่า พระเสขะหรือปุถุชนก็ตาม
ย่อมพิจารณากุศลนั้น อีกอย่างหนึ่ง แม้พระอรหันต์ก็ย่อมพิจารณา. จริงอยู่
สำหรับพระอรหันต์กุศลที่ทำไว้ก่อนก็ชื่อว่าเป็นกุศล ก็ท่านย่อมพิจารณา
ด้วยจิตใด จิตนั้นชื่อว่ากิริยาจิต เพราะฉะนั้น กิริยาจิตนั้น จึงไม่ได้ใน
อธิการนี้ว่า กุสโล ธมฺโม กุสลสฺส ธมฺมสฺส ดังนี้. จริงอยู่ กรรมที่ทำ
ใกล้ ๆ กัน ตรัสไว้ว่า ให้แล้ว สมาทานแล้ว กระทำแล้ว ในคำว่า
ปุพฺเพ สุจิณฺณานิ ดังนี้. กรรมเหล่านี้พึงทราบว่า ไม่ได้ทำใกล้ ๆ กัน.
อีกอย่างหนึ่ง คำนี้ตรัสไว้ว่า เพื่อแสดงกามาวจรกุศลที่เกลือด้วยบุญกิริยา
มีทานเป็นต้น.
คำว่า ฌานํ วุฏฐหิตฺวา แปลว่า ออกแล้วจากฌาน อีกอย่างหนึ่ง
นี้แหละเป็นบาลี. คำว่า เสกฺขา โคตฺรภุํ ตรัสหมายถึงพระโสดาบัน
จริงอยู่ พระโสดาบันนั้นย่อมพิจารณาโคตรภู ส่วนคำว่า โวทานํ นี้
ตรัสหมายถึง พระสกทาคามี และพระอนาคามี เพราะว่าจิตของท่าน

เหล่านั้นชื่อว่าเป็นธรรมชาติผ่องแผ้ว. บทว่า เสกฺขา คือ พระโสดาบัน
พระสกทาคามี และพระอนาคามี.
สองบทว่า มคฺคา วุฏฺฐหิตฺวา คือ ออกจากมรรคที่ตนได้แล้วด้วย
อำนาจการก้าวล่วงภวังค์แห่งมรรคและผล ส่วนการออกจากมรรคล้วน ๆ
นั้นแล้วพิจารณา ย่อมไม่มี. การเข้าถึงวิปัสสนา เป็นกุศลที่เป็นไปในภูมิ 3
เท่านั้น. ผู้ศึกษาพึงทราบ ในคำนี้ว่า กุสลํ อนิจฺจโต. ก็กุศลขั้นวิปัสสนา
เป็นกามาวจรอย่างเดียว. พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรงแสดงรูปาวจรกุศล
ด้วยคำนี้ว่า เจโตปริยญาเณน. แสดงเฉพาะอรูปาวจรกุศลที่กำลังเกิดขึ้น
ด้วยอำนาจเป็นอารมณ์แห่งอรูปาวจรกุศล ด้วยคำมีอาทิว่า อากาสานญฺ-
จายตนํ.
ทรงแสดงด้วยอำนาจธรรมเท่านั้น ไม่เกี่ยวถึงบุคคล ด้วยคำว่า
กุสลา ขนฺธา อิทฺธิวิธญาณสฺส เป็นต้น เพราะเหตุนั้นเอง เจโตปริยาย-
ญาณ แม้ท่านจะถือเอาในหนหลังแล้ว ก็ยังตรัสซ้ำไว้ในอธิการนี้อีก.
บทว่า อสฺสาเทติ คือ เสวยและยินดีด้วยจิตอันสัมปยุตด้วยโลภะ
ซึ่งสหรคตด้วยโสมนัส. บทว่า อภินนฺทติ ได้แก่ ยินดี คือเป็นผู้หรรษา
ร่าเริง ด้วยอำนาจตัณหามีปีติ หรือว่าย่อมยินดียิ่งด้วยอำนาจความเพลินใจ
ในธรรมที่ทนเห็นแล้ว.
สองบทว่า ราโค อุปฺปชฺชติ ความว่า ราคะย่อมเกิดขึ้นแก่บุคคล
ผู้ยินดีอยู่ คำนี้ตรัสหมายถึงจิตที่สหรคตด้วยโลภะทั้ง 8 ดวง.
สองบทว่า ทิฏฺฐิ อุปฺปชฺชติ ความว่า ทิฏฐิที่สัมปยุตด้วยจิต 4
ดวง ด้วยอำนาจความเห็นผิดเป็นต้น ว่าตนเป็นของมีในคนดังนี้ ย่อม
เกิดแก่บุคคลผู้ยินดียิ่ง. ก็ในกรณีนี้วิจิกิจฉาย่อมเกิดแก่บุคคลผู้ไม่มีการ

ตัดสินใจ (สงสัย). อุทธัจจะย่อมเกิดแก่ผู้มีจิตฟุ้งซ่าน โทสะย่อมเกิดแก่
ผู้เดือดร้อนอยู่ว่า กรรมดี เรายังไม่ได้ทำเลยเป็นต้น.
สองบทว่า ตํ อารพฺภ ความว่า ทำกรรมเหล่านั้นซึ่งตนสั่งสมไว้
แล้วในกาลก่อนให้เป็นอารมณ์. จริงอยู่ ศัพท์นี้อาเทสพหูพจน์เป็นเอก
พจน์ อีกอย่างหนึ่ง คำนี้เป็นเอกพจน์ด้วยอำนาจชาติ.
คำว่า อรหา มคฺคา วุฏฺฐหิตฺวา ความว่า ออกแล้วด้วยอำนาจการ
ก้าวล่วงภวังค์ ในลำดับแห่งผลในมัคควิถี ก็ปัจจเวกขณะจิตเป็นกิริยา-
พยากตะของพระอรหันต์นั้น. พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดงอารัมมณ-
ปัจจัยแห่งกิริยาพยากตะอย่างนี้แล้ว เมื่อจะแสดงอารัมมณปัจจัยแห่ง
วิปากาพยากตะอีก จึงตรัส คำว่า เสกฺขา วา เป็นอาทิ. สองบทว่า กุสเล
นิรุทฺเธ
คือ เมื่อวิปัสสนาชวนวิถีขาดไป. บทว่า วิปาโก ได้แก่
กามาวจรวิบาก. บทว่า ตทารมฺมณตา คือ โดยเป็นตทารัมมณะ อธิบายว่า
จิตนั้น (ตทารมัมณจิต ) ทำกุศลที่เห็นแจ้งแล้วซึ่งเป็นอารมณ์แห่งกุศล-
ชวนะให้เป็นอารมณ์เกิดขึ้น. ก็แลจะเกิดด้วยอำนาจตทารัมมณะอย่างเดียว
เท่านั้นก็หาไม่ ยังเกิดด้วยอำนาจปฏิสนธิภวังค์และจุติด้วย. จริงอยู่ วิบาก
ย่อมมีกุศลเป็นอารมณ์ได้เหมือนกัน สำหรับบุคคลผู้ทำกรรมให้เป็นอารมณ์
แล้วถือปฏิสนธิ. แต่วิบากนั้นไม่ได้แสดงไว้ในที่นี้เพราะเข้าใจยาก. คำว่า
กุสลํ อสฺสาเทติ เป็นต้น ตรัสไว้เพื่อแสดงวิบากที่มีกุศลเป็นอารมณ์
ในที่สุดแห่งอกุศลชวนะ.
คำนี้ว่า วิญฺญาณญฺจายตนวิปากสฺส ถึงจะเป็นธรรมที่เข้าใจยาก
พระองค์ก็ตรัสไว้ด้วยอำนาจวิบากที่มีได้ เพรามหัคคตวิบากไม่เกิดโดย
ความเป็นตทารัมมณะ. บทว่า กิริยสฺส คือ อากาสานัญจาตนกุศล

เป็นปัจจัยโดยอารัมมณปัจจัย แก่กิริยาจิต ของบุคคลผู้บรรลุพระอรหัต
แล้วเข้าสมาบัติโดยปฏิโลม หรือโดยมีฌานหนึ่งคั่น ในอารมณ์ที่เป็น
อากาสานัญจายตนะ ที่ยังไม่เคยเข้า.
บทว่า เจโตปริยญาณสฺส เป็นต้น พึงเชื่อมกับอาวัชชนะข้างหน้า
ก็ในข้อนี้ มีอธิบายดังนี้ว่า ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นกุศล เป็นปัจจัยแก่อาวัชชนะ
แห่งจิตเหล่านั้น (อภิญญาจิต) โดยอารัมมณปัจจัย. บทว่า ราคํ คือ
ราคะของตนหรือของคนอื่น แค่ในอธิการนี้วรรณนาปรากฏแล้ว ด้วย
อำนาจแห่งราคะของตน. คำว่า อสฺสาเทติ เป็นต้น มีอรรถดังกล่าวไว้
แล้ว แต่ในธรรมมีวิจิกิจฉาเป็นต้น ไม่ตรัสว่า อสฺสาเทติ (ย่อมยินดี)
เพราะไม่มีภาวะที่จะน่ายินดี ก็ทิฏฐิย่อมเกิดขึ้นในฐานะนี้. ทิฏฐิพระผู้มี-
พระภาคเจ้าไม่ตรัสไว้ก่อนตามลำดับที่มาถึง เพราะบทว่า อสฺสาเทติ ตก
ไป ทิฏฐินั้นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสธรรมนั้น ๆ ในบรรดาธรรมมี
วิจิกิจฉาเป็นต้น ซึ่งเป็นสภาคกันก่อนแล้วตรัสไว้ในลำดับแห่งธรรม
นั้น ๆ. ก็บรรดาธรรมมีราคะเป็นต้นเหล่านี้ พึงทราบการเกิดขึ้นแห่ง
โทมนัส ด้วยอำนาจความอดกลั้นไม่ได้ว่า บาปธรรมเหล่านี้เกิดขึ้นทำไม
หรือด้วยอำนาจวิปฏิสารมีอาทิว่า เราทำความชั่วไว้ เราทำกรรมหยาบช้า
ไว้.
สองบทว่า จกฺขุํ อนิจฺจโต ความว่า รูป 11 คือ โอฬาริกายตนะ
10 และวัตถุรูป 1 ท่านถือเอาแล้ว เพราะปรากฏตามลำดับวิปัสสนา.
รูปายตนะเป็นต้น ท่านก็ถือเอาอีก เพราะเป็นอารมณ์แห่งจักขุวิญญาณ
เป็นต้น. ก็เพราะเทศนานี้ตรัสด้วยอำนาจแห่งวิญญาณ ไม่ได้ตรัสด้วย
อำนาจธาตุ ฉะนั้นจึงไม่ถือเอามโนธาตุด้วย. พึงทราบอารมณ์ที่ถือเอา

แล้ว และยังไม่ได้ถือเอาในที่ทั้งปวงอย่างนี้. คำว่า ย่อมพิจารณาผล
ย่อมพิจารณานิพพาน
ตรัสไว้เพื่อแสดงอารมณ์แห่งกุศลที่เป็นตัว
พิจารณา.
อรรถกถาอารัมมณปัจจัย จบ

3. อธิปติปัจจัย


[496] 1. กุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรม ด้วยอำนาจของ
อธิปติปัจจัย

มี 2 อย่าง คือ

ที่เป็น อารัมมณาธิปติ และ สหชาติธิปติ
ที่เป็น อารัมมณาธิปติ ได้แก่
1. บุคคลให้ทาน สมาทานศีล กระทำอุโบสถกรรม แล้วกระทำ
กุศลนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น แล้วพิจารณา.
2. บุคคลกระทำกุศลทั้งหลายที่สั่งสมไว้แล้วในกาลก่อน ให้เป็น
อารมณ์อย่างหนักแน่น แล้วพิจารณา.
3. บุคคลออกจากฌานแล้ว การทำฌานให้เป็นอารมณ์อย่าง
หนักแน่น แล้วพิจารณา.
4. พระเสขบุคคลทั้งหลาย การทำโคตรภูให้เป็นอารมณ์อย่าง
หนักแน่น แล้วพิจารณา การทำโวทานให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น
แล้วพิจารณา.
5. พระเสขบุคคลทั้งหลาย ออกจากมรรคแล้ว กระทำมรรคให้
เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น แล้วพิจารณา.