เมนู

อย่างตั้งอยู่ทั้งโดยเป็นอนุโลมและเป็นปัจจนิกไม่แน่นอนทั้งสองฝ่าย. ก็ใน
บรรดาปกิณกะเหล่านั้น ปัญหาที่ 1 พึงทราบด้วยอำนาจปัจฉาชาตปัจจัย
ปัญหาที่ 2 พึงทราบด้วยอำนาจจตุกกะปัฏฐาน ปัญหาที่ 3 พึงทราบ
ด้วยอำนาจปัจจัยที่เหลือที่เหมาะสมกัน.

อรรถกถาเหตุปัจจัย


พึงทราบวินิจฉัยใน ปัญหาวาระ ต่อไป. คำว่า กุศลธรรมเป็น
ปัจจัยแก่กุศลธรรม
ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย ดังนี้เป็นต้น พระผู้มี-
พระภาคเจ้าตรัสไว้ เพื่อแสดงวิสัชนาปุจฉาที่พึงยกขึ้นในกุศลติกะ ด้วย
อำนาจปัจจัยที่ได้มีอยู่ มีอาทิว่า "กุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรม
ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัยพึงมีหรือ"
ดังนี้ อันธรรมดากุศลธรรมนี้
เมื่อเกิดขึ้นเอง ย่อมเกิดขึ้นเพราะปัจจัย 22 ที่เหลือ เว้นปัจฉาชาตปัจจัย
และวิปากปัจจัย. กุศลธรรมเมื่อจะเป็นปัจจัยแก่กุศล ก็ย่อมเป็นปัจจัยโดย
ปัจจัย 20 ที่เหลือเว้นปุเรชาตปัจจัย ปัจฉาชาตปัจจัย วิปากปัจจัย และ
วิปปยุตตปัจจัย เพราะฉะนั้น กุศลธรรมย่อมเป็นปัจจัยแก่กุศลธรรมด้วย
ปัจจัยเหล่าใด เพื่อจะแสดงปัจจัยเหล่านั้นตามลำดับ พระผู้มีพระภาคเจ้า
จึงทรงเริ่มคำว่า เหตุปจฺจเยน เป็นต้น.
พึงทราบอธิบายในคำนั้นต่อไป เทศนานี้อันใดที่พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าไม่ตรัสว่า เหตุเป็นปัจจัยแก่ธรรมทั้งหลายที่สัมปยุต เหมือนใน
ปัจจยวิภังควาระ (แต่) ตรัสว่าเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่สัมปยุตตดังนี้
ในการที่พระพุทธองค์ตรัสเทศนาอย่างนั้น มีประโยชน์ในการที่ทรงกระทำ
อย่างนั้น. จริงอยู่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ธมฺมานํ ดังนี้ เพื่อจะแสดง

อรรถว่า ว่างเปล่าในปัจจยวิภังควาระนั้น ธรรมทั้งหลายเมื่อจะเกิดแต่ปัจจัย
ย่อมเกิดโดยเป็นกองธรรม หาเกิดขึ้นโดยเป็นสภาพโดดเดี่ยวไม่ เพราะ-
ฉะนั้น เพื่อแสดงอรรถว่า เป็นกองในปัญหาวารวิภังค์นี้ พระองค์จึงตรัสว่า
ขนฺธานํ. อีกประการหนึ่ง การแสดงปัจจยุบบัน พระองค์ทรงยกขึ้นแล้ว
ด้วยอำนาจแห่งขันธ์ในปฏิจจวาระเป็นต้น เพราะฉะนั้นจึงทรงยกขึ้นแสดง
แม้ในปัญหาวารวิภังค์นี้อีก โดยลำดับนั้นทีเดียว. ถามว่า ก็เพราะเหตุไรใน
วาระเหล่านี้ จึงทรงยกขึ้นเพื่อแสดงอย่างนั้น. แก้ว่า เพื่อแสดงการจำแนก
โดยไม่ปะปนกัน จริงอยู่ เมื่อพระองค์ตรัสโดยนัยเป็นต้นว่า ธรรมที่เหลือ
เกิดขึ้นเพราะอาศัยธรรมอันหนึ่ง ดังนี้ ผู้ศึกษาก็ไม่สามารถจะทราบปัจจัย
และปัจจยุบบันโดยไม่ปะปนกันได้ว่า ธรรมโน้นเกิดขึ้นเพราะอาศัยธรรม
ชื่อโน้น เมื่อเป็นอย่างนั้น อุทเทสกับนิทเทสก็จะไม่มีข้อแปลกกัน เพราะ-
ฉะนั้น ผู้ศึกษาพึงทราบว่า พระพุทธองค์ทรงแยกเทศนาขึ้นอย่างนี้ ก็เพื่อ
แสดงวิภาคโดยไม่ปะปนกัน.
คำว่า จิตฺตสมุฏฺฐานํ นี้ ตรัสเพื่อแสดงกุศลว่าเป็นปัจจัยแก่
อัพยากตะโดยเหตุปัจจัย. แต่ในปัจจัยวิภังค์ พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรง
ทำวิภาคด้วยอำนาจกุศลเป็นต้น ไม่ตรัสว่ามีจิตเป็นสมุฏฐาน แต่ตรัสว่ามี
เหตุนั้น เป็นสมุฏฐาน เพื่อแสดงรูปที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจแห่งเหตุทั้งหมด
โดยสามัญ เพราะฉะนั้น รูปที่มีอัพยากตเหตุเป็นสมุฏฐาน ในปัจจัย-
วิภังค์นั้นจึงรวมไปถึงกัมมชรูปในปฏิสนธิด้วย. ผู้ศึกษาพึงทราบใจความ
ในวิสัชนาที่เหลือซึ่งเป็นแบบเดียวกันนี้.
อรรถกถาเหตุปัจจัย จบ

2. อารัมมณปัจจัย


[487] 1. กุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรม ด้วยอำนาจ
ของอารัมมณปัจจัย

คือ 1. บุคคลให้ทาน สมาทานศีล การทำอุโบสถกรรม แล้ว
พิจารณา ทาน, ศีล, อุโบสถกรรมนั้น.
2. บุคคลพิจารณากุศลทั้งหลาย ที่สั่งสมไว้ดีแล้วในกาลก่อน.
3. บุคคลออกจากฌาน แล้วพิจารณาฌาน.
4. พระเสขบุคคล พิจารณาโคตรภู พิจารณาโวทาน.
5. พระเสขบุคคล ออกจากมรรค พิจารณามรรค.
6. พระเสขบุคคล หรือปุถุชนก็ตาม พิจารณาเห็นแจ้งซึ่ง
กุศล โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา.
7. บุคคลรู้จิตของท่านผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยกุศลจิต ด้วย
เจโตปริยญาณ.
8. อากาสาณัญจายตนกุศล เป็นปัจจัยแก่วิญญาณัญจายตน-
กุศล ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย
9. อากาสณัญจายตนกุศล เป็นปัจจัยแก่เนวสัญญานาสัญญาย-
ตนกุศล ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย.
10. กุศลขันธ์ทั้งหลาย เป็นปัจจัยแก่อิทธิวิธญาณ เจโตปริย-
ญาณ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ยถากัมมูปคญาณ และอนาคตังสญาณ
ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย.