เมนู

อย่างตั้งอยู่ทั้งโดยเป็นอนุโลมและเป็นปัจจนิกไม่แน่นอนทั้งสองฝ่าย. ก็ใน
บรรดาปกิณกะเหล่านั้น ปัญหาที่ 1 พึงทราบด้วยอำนาจปัจฉาชาตปัจจัย
ปัญหาที่ 2 พึงทราบด้วยอำนาจจตุกกะปัฏฐาน ปัญหาที่ 3 พึงทราบ
ด้วยอำนาจปัจจัยที่เหลือที่เหมาะสมกัน.

อรรถกถาเหตุปัจจัย


พึงทราบวินิจฉัยใน ปัญหาวาระ ต่อไป. คำว่า กุศลธรรมเป็น
ปัจจัยแก่กุศลธรรม
ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย ดังนี้เป็นต้น พระผู้มี-
พระภาคเจ้าตรัสไว้ เพื่อแสดงวิสัชนาปุจฉาที่พึงยกขึ้นในกุศลติกะ ด้วย
อำนาจปัจจัยที่ได้มีอยู่ มีอาทิว่า "กุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรม
ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัยพึงมีหรือ"
ดังนี้ อันธรรมดากุศลธรรมนี้
เมื่อเกิดขึ้นเอง ย่อมเกิดขึ้นเพราะปัจจัย 22 ที่เหลือ เว้นปัจฉาชาตปัจจัย
และวิปากปัจจัย. กุศลธรรมเมื่อจะเป็นปัจจัยแก่กุศล ก็ย่อมเป็นปัจจัยโดย
ปัจจัย 20 ที่เหลือเว้นปุเรชาตปัจจัย ปัจฉาชาตปัจจัย วิปากปัจจัย และ
วิปปยุตตปัจจัย เพราะฉะนั้น กุศลธรรมย่อมเป็นปัจจัยแก่กุศลธรรมด้วย
ปัจจัยเหล่าใด เพื่อจะแสดงปัจจัยเหล่านั้นตามลำดับ พระผู้มีพระภาคเจ้า
จึงทรงเริ่มคำว่า เหตุปจฺจเยน เป็นต้น.
พึงทราบอธิบายในคำนั้นต่อไป เทศนานี้อันใดที่พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าไม่ตรัสว่า เหตุเป็นปัจจัยแก่ธรรมทั้งหลายที่สัมปยุต เหมือนใน
ปัจจยวิภังควาระ (แต่) ตรัสว่าเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่สัมปยุตตดังนี้
ในการที่พระพุทธองค์ตรัสเทศนาอย่างนั้น มีประโยชน์ในการที่ทรงกระทำ
อย่างนั้น. จริงอยู่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ธมฺมานํ ดังนี้ เพื่อจะแสดง