เมนู

อรรถกถาสัมปยุตตวาระ


พึงทราบวินิจฉัยใน สัมปยุตตวาระ ต่อไป:-
คำว่า กุสลํ ธมฺม สมฺปยุตฺโต ประกอบกับกุศลธรรม ความว่า
ทำกุศลธรรมให้เป็นสัมปยุตตปัจจัย. คำที่เหลือในวรรณนานี้ พึงทราบ
ตามนัยที่กล่าวไว้ในสังสัฏฐวาระ. ส่วนในที่สุดของสัมปยุตตวาระนี้ คำว่า
อรรถว่า สังสัฏฐะ เจือ มีความหมายเท่ากับ สัมปยุตตะ ประกอบ
อรรถว่า สัมปยุตตะ ประกอบ มีความหมายเท่ากับ สังสัฏฐะ เจือ ดังนี้
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้เพื่อแสดงความไม่ต่างกัน โดยใจความแห่งวาระ
ทั้งสองนี้. จริงอยู่ เมื่อว่าโดยใจความ วาระทั้งสองนี้ ไม่มีข้อแตกต่าง
กัน เหมือน ปฏิจจะ ศัพท์ กับ สหชาตะ และ ปัจจยะ กับ นิสสยะ
ศัพท์ฉะนั้น ถึงอย่างนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ เพื่อกำหนดความของ
กันและกัน. จริงอยู่ ในคำมีอาทิว่า ม้าทั้งหลายอันเขาเอาเข้าคู่กันเทียมเข้า
ด้วยกัน ดังนี้. แม้สิ่งที่ไม่ได้ประกอบกัน ท่านก็เรียกว่า สังสัฏฐะได้.
ในคำว่า วิมังสานั้นใด สหรคตแล้วด้วยโกสัชชะ สัมปยุตแล้วด้วย
โกสัชชะ ดังนี้เป็นต้น. แม้สิ่งที่ระคนปนกันก็มาเป็นสัมปยุตได้.
วาระทั้งสองนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้เพื่อให้เน้นหนักถึงภาวะที่สัมป-
ยุตตปัจจัย ซึ่งมีลักษณะเกิดในคราวเดียวกันเป็นต้น เป็นสังสัฏฐวาระ
และเพื่อให้เน้นหนักถึงสังสัฏฐธรรม ซึ่งมีการเกิดในคราวเดียวกันเป็นต้น
เป็นลักษณะ เป็นสัมปยุตตปัจจัย โดยสัมปยุตตวาระ. อีกอย่างหนึ่ง

วาระทั้งสองนี้ บัณฑิตพึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้โดยเป็น
เทศนาวิลาสะ ตามอำนาจอัธยาศัยของเหล่าสัตว์ผู้จะตรัสรู้โดยประการนั้น
และด้วยอำนาจพระปรีชาอันแตกฉานในนิรุตติปฏิสัมภิทา.
อรรถกถาสัมปยุตตวาระ จบ

7. ปัญหาวาระ


อนุโลมนัย


1. เหตุปัจจัย


[484] 1. กุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรม ด้วยอำนาจของ
เหตุปัจจัย

คือ เหตุทั้งหลายที่เป็นกุศล เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย
ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย.
2. กุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรม ด้วยอำนาจ
ของเหตุปัจจัย

คือ เหตุทั้งหลายที่เป็นกุศล เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูป ด้วย
อำนาของเหตุปัจจัย.
3. กุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรมและอัพยากตธรรม
ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย

คือ เหตุทั้งหลายที่เป็นกุศล เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และจิตต-
สมุฏฐานรูป ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย.
[485] อกุศลธรรม เป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรม ด้วยอำนาจของ
เหตุปัจจัย

คือ เหตุทั้งหลายที่เป็นอกุศล เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย
ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย.