เมนู

ปัฏฐานปกรณ์นั้น ขอท่านสาธุชนทั้งหลาย จงตั้งใจ
สดับการพรรณนานั้นเถิด.


วรรณนาอุทเทส

1

วาระ


ดำเนินความว่า ใน อนุโลมปัฏฐาน พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรง
อาศัยติกะ 22 ติกะ แสดงชื่อ ติกปัฏฐาน. ทรงอาศัยทุกะ 100 ทุกะ
แสดงชื่อ ทุกปัฏฐาน. ต่อจากนั้น ทรงรวมติกะ 22 ติกะเข้าในทุกะ
100 ทุกะ แล้วทรงแสดงชื่อ ทุกติกปัฏฐาน. ต่อจากนั้น ทรงรวมทุกะ
100 ทุกะเข้าในติกะ 22 ติกะ แล้วทรงแสดงชื่อ ติกทุกปัฏฐาน. อนึ่ง
ทรงผนวกติกะเข้าในติกะเท่านั้น แล้วทรงแสดงชื่อ ติกติกปัฏฐาน. ทรง
ผนวกทุกะเข้าในทุกะเท่านั้น แล้วทรงแสดงชื่อ ทุกทุกปัฏฐาน. พระผู้มี-
พระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้ว่า
"ใน อนุโลมปัฏฐาน มีนัยอันลึกซึ้งยิ่ง 6 นัย
คือ ติกปัฏฐานอันประเสริฐ ทุกปัฏฐานอันสูงสุด
ทุกติกปัฏฐาน ติกทุกปัฏฐาน ติกติกปัฏฐาน และ
ทุกทุกปัฏฐาน"
ดังนี้.
แม้ใน ปัจจนียปัฏฐาน ก็ทรงแสดงปัฏฐานด้วยนัย 6 นัย แม้ใน
ปัจจนียะอย่างนี้ คือ ทรงอาศัยติกะ 22 ติกะ แสดงชื่อติกปัฏฐาน ทรง
อาศัยทุกะ 100 ทุกะ แสดงชื่อทุกปัฏฐาน ทรงผนวกติกะ 22 เข้าใน
ทุกะ 100 ทุกะ แล้วทรงแสดงชื่อทุกติกปัฏฐาน ทรงผนวกทุกะ 100
ทุกะเข้าในติกะ 22 ติกะ แล้วทรงแสดงชื่อติกทุกปัฏฐาน ทรงผนวก
1. อธิบายมาติกา.

ติกะเข้าในติกะเท่านั้น แล้วทรงแสดงชื่อติกติกปัฏฐาน ทรงผนวกทุกะ
เข้าในทุกะเท่านั้น แล้วทรงแสดงชื่อทุกทุกปัฏฐาน. เพราะเหตุนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสไว้ว่า
" ในปัจจนียปัฏฐาน มีนัยอันลึกซึ้งยิ่ง 6 นัย
คือ ติกปัฏฐานอันประเสริฐ ทุกปัฏฐานอันสูงสุด
ทุกติกปัฏฐาน ติกทุกปัฏฐาน ติกติกปัฏฐาน และ
ทุกทุกปัฏฐาน "
ดังนี้.
แม้ใน อนุโลมปัจจนียปัฏฐาน ต่อจากนั้นไป ก็ทรงแสดงนัย 6
นัย โดยอุบายนี้เหมือนกัน. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึง
ตรัสว่า
" ในอนุโลมปัจจนียปัฏฐาน มีนัยอันลึกซึ้งยิ่ง 6
นัย คือ ติกปัฏฐานอันประเสริฐ ทุกปัฏฐานอันสูงสุด
ทุกติกปัฏฐาน ติกทุกปัฏฐาน ติกติกปัฏฐาน และ
ทุกทุกปัฏฐาน"
ดังนี้.
ต่อจากนั้น ใน ปัจจนียานุโลมปัฏฐาน ก็ทรงแสดงนัย 6 เหล่านี้
เหมือนกัน. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
" ใน ปัจจนียานุโลมปัฏฐาน มีนัยอันลึกซึ้ง 6
นัย คือ ติกปัฏฐานอันประเสริฐ ทุกปัฏฐานอันสูงสุด
ทุกติกปัฏฐาน ติกทุกปัฏฐาน ติกติกปัฏฐาน และ
ทุกทุกปัฏฐาน "
ดังนี้.
จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้อย่างนี้ว่า ปัฏฐาน คือ ใน
อนุโลมนัยมีปัฏฐาน 6 ในปัจจนียนัยมีปัฏฐาน 6 ในอนุโลมปัจจนียนัย

มีปัฏฐาน 6 ในปัจจนียานุโลมนัยมีปัฏฐาน 6 ดังกล่าวมาแล้ว ชื่อว่า
ปัฏฐานมหาปกรณ์ อันเป็นที่ประชุมแห่งสมันตปัฏฐาน 24. ในปัฏฐาน
นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ปกรณ์เป็นที่รวมแห่งสมันตปัฏฐาน 24
นี้ ชื่อว่าปัฏฐานมหาปกรณ์ ด้วยอำนาจแห่งการเป็นที่รวมแห่งสมันต-
ปัฏฐาน 24 เหล่าใด ดังนี้ ผู้ศึกษาพึงทราบอรรถแห่งชื่อ แห่งปัฏฐาน
เหล่านั้น และแห่งปกรณ์นี้อย่างนี้ก่อน.
ถามว่า ชื่อว่าปัฏฐาน เพราะอรรถว่า กระไร ?
ตอบว่า เพราะอรรถว่า เป็นปัจจัยมีประการต่าง ๆ. จริงอยู่
อักษร ย่อมแสดงอรรถว่า มีประการต่าง ๆ.
ฐาน ศัพท์ ย่อมแสดงอรรถว่า เป็นปัจจัย.
จริงอยู่ ปัจจัยท่านเรียกว่า ฐานะ ในคำทั้งหลายมีอาทิว่า ความ
เป็นผู้ฉลาดในฐานะและมิใช่ฐานะ บรรดาปัฏฐาน 2 เหล่านั้น แต่ละข้อ
ชื่อว่า ปัฏฐาน เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงไว้ด้วยอำนาจแห่ง
ปัจจัยมีประการต่าง ๆ ด้วยประการฉะนี้. ก็ปกรณ์นั้นทั้งหมด ผู้ศึกษา
พึงทราบว่า ปัฏฐาน เพราะเป็นที่รวมแห่งปัฏฐานเหล่านั้น.
อีกนัยหนึ่ง ถามว่า ชื่อว่า ปัฏฐาน เพราะอรรถว่า อะไร ?
ตอบว่า เพราะอรรถว่า จำแนก. จริงอยู่ ปัฏฐานปรากฏโดย
อรรถว่า จำแนกในที่มาว่า การบัญญัติ การแต่งตั้ง การเปิดเผย การ
จำแนก การทำให้กระจ่าง. บรรดาปัฏฐาน 24 เหล่านี้ แต่ละอย่างชื่อว่า
ปัฏฐาน เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงจำแนกธรรมทั้งหลาย มีกุศล
เป็นต้น ด้วยอำนาจแห่งปัจจัย มีเหตุปัจจัยเป็นต้น ด้วยประการฉะนี้.

ปกรณ์นี้ทั้งหมดผู้ศึกษาพึงทราบว่า ชื่อว่า ปัฏฐาน เพราะเป็นที่ประชุม
แห่งปัฏฐานเหล่านี้.
อีกนัยหนึ่ง ถามว่า ชื่อว่า ปัฏฐาน เพราะอรรถว่า อะไร ?
ตอบว่า เพราะอรรถว่า ตั้งอยู่ทั่วไป (แผ่ไป). อธิบายว่า ด้วย
อรรถว่า ดำเนินไป. จริงอยู่ ในอาคตสถานว่า โคฏฐา ปฏฺฐิตคาโว
โคดำเนินไปจากที่อยู่ของโค ดังนี้ ศัพท์ว่า ปฏฺฐิตคาโว โคดำเนินไป
พระอาจารย์กล่าวโดยปัฏฐานใด ปัฏฐานนั้นโดยอรรถ ได้แก่การดำเนิน
ไป. บรรดาปัฏฐาน 24 เหล่านี้ และข้อชื่อว่า ปัฏฐาน เพราะมีการ
ดำเนินอันเป็นไปด้วยอำนาจความเกี่ยวข้องกัน เพราะได้นัยอันมีความ
พิสดารในธรรมทั้งหลาย มีกุศลเป็นต้น ซึ่งจำแนกออกเป็นประเภทมีเหตุ
ปัจจัยเป็นต้น แห่งพระสัพพัญญุตญาณ อันมีการดำเนินไปไม่ขัดกัน ใน
ปกรณ์ทั้งหลาย มีธัมมสังคณีปกรณ์เป็นต้น ซึ่งมีนัยอันไม่พิสดารนัก
ดังพรรณนามาฉะนี้. ก็ปกรณ์นี้ทั้งหมดพึงทราบว่า ชื่อว่า ปัฏฐาน เพราะ
เป็นที่ประชุมแห่งปัฏฐานเหล่านี้.

บรรดาปัฏฐาน 6 เหล่านั้น ปัฏฐานที่หนึ่ง ในอนุโลมปัฏฐานก่อน
ชื่อว่า ติกปัฏฐาน เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงด้วยอำนาจติก-
มาติกา. พึงทราบการแยกบทติกปัฏฐานนั้น (วิเคราะห์) ดังนี้ ปัฏฐานแห่ง-
ติกะทั้งหลายมีอยู่ในปกรณ์นี้ เพราะเหตุนั้น ปกรณ์นี้ชื่อว่า ติกปัฏฐาน.
อธิบายว่า ปัจจัยมีประการต่าง ๆ แห่งติกะทั้งหลาย มีอยู่แก่เทศนานี้
เหตุนั้น เทศนานี้ชื่อว่า ติกปัฏฐาน. ในวิกัปที่สอง ความว่า ปัฏฐานแห่ง
ติกะทั้งหลายนั้นแหละ ชื่อว่า ติกปัฏฐาน อธิบายว่า การจำแนกติกะ
ทั้งหลาย ด้วยอำนาจแห่งปัจจัยมีเหตุเป็นต้น. ในวิกัปที่สาม ความว่า

ปัฏฐาน คือติกะทั้งหลายที่ได้ความพิสดาร เพราะจำแนกออกไปโดย
ประเภทแห่งเหตุปัจจัยเป็นต้น ชื่อว่า ติกปัฏฐาน อธิบายว่า ภูมิเป็นที่
ดำเนินไปโดยความเกี่ยวข้องกันแห่งพระสัพพัญญูญาณ. แม้ในทุกปัฏฐาน
เป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน. ผู้ศึกษาครั้นทราบปัฏฐาน 6 ในอนุโลมอย่างนี้
แล้ว พึงทราบแม้ในปัจจนียะเป็นต้น โดยอุบายนี้. ก็เพราะปัฏฐานเหล่านี้
โดยครบถ้วน คือในอนุโลม ในปัจจนียะ. ในอนุโลมปัจจนียะ ใน
ปัจจนียานุโลม มีนัยละ 6 จึงรวมเป็น 24 ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า
จึงตรัสเรียกว่า สมันตปัฏฐาน 24.
ปกรณ์เป็นที่รวมแห่งสมันตปัฏฐาน 24 นั่น ชื่อว่า ปัฏฐาน-
มหาปกรณ์
ด้วยอำนาจเป็นที่ประชุมแห่งสมันตปัฏฐาน กล่าวคือ
ติกติกปัฏฐาน 24 เหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้.

ก็ปัฏฐานนี้นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกว่า ติกปัฏฐาน ฯลฯ
ติกติกปัฏฐาน ทุกทุกปัฏฐาน เพราะพระองค์ทรงแสดงโดยอาศัยติกะ
เป็นต้นเหล่าใด เพื่อจะแสดงปัจจัยที่เป็นเหตุให้พระองค์ทรงจำแนกติกะ
เป็นต้นเหล่านั้น โดยไม่เกี่ยวข้องกับติกะเป็นต้นเหล่านั้น จึงตรัสวาระ
ชื่อว่ามาติกานิกเขปวาระแห่งปัฏฐานนั้นก่อนตั้งแต่ต้น.

อรรถกถาปัจจัยวิภังควาระ


คำว่า ปัจจัยวิภังควาระ เป็นชื่อแห่งมาติกานิกเขปวาระนั่นเอง.
ปัจจัยวิภังควาระนั้นมี 2 คือ โดยอุทเทสและนิทเทส. วาระนี้คือ
เหตุปจฺจโย ฯเปฯ อวิคตปจฺจโย เป็นอุทเทสแห่งปัจจัยวิภังควาระนั้น.