เมนู

วาระ ในอาหารปัจจัย มี 1 วาระ ในอินทริยปัจจัย มี 1 วาระ ใน
ฌานปัจจัย มี 1 วาระ ในมัคคปัจจัย มี 1 วาระ ในสัมปยุตตปัจจัย
มี 1 วาระ ในวิปปยุตตปัจจัย มี 1 วาระ ในอัตถิปัจจัย มี 1 วาระ
ในนัตถิปัจจัย มี 1 วาระ ในวิคตปัจจัย มี 1 วาระ ในอวิคตปัจจัย มี
1 วาระ.
อนุโลมนัย ในสังสัฏฐวาระ จบ

อรรถกถาสังสัฏฐวาระ


อรรถกถาอนุโลมนัย


พึงทราบวินิจฉัยใน สังสัฏฐวาระ ต่อไป. คำว่า กุสลํ ธมฺมํ
สํสฏฺโฐ
เจือกับกุศลธรรม อธิบายว่า เพราะกระทำกุศลธรรมให้เป็น
ปัจจัย โดยอรรถว่าประกอบพร้อมด้วยลักษณะ ซึ่งมีการเกิดขึ้นพร้อมกัน
เป็นต้น. คำว่า กุสลํ เอกํ ขนฺธํ สํสฏฺโฐ มีคำอธิบายว่า ขันธ์ 3
ทำกุศลขันธ์หนึ่งให้เป็นสัมปยุตตปัจจัย เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย. ในทุกๆ
บทพึงทราบใจความโดยอุบายนี้. ก็แลในเหตุปัจจัยนี้ ท่านจัดปัจจัยแล้ว
วิสัชนาปัญหาไว้ 3 วาระ เพราะอรูปธรรมเท่านั้นที่จะมีอรรถว่าสัมปโยคะ
ได้ 1 ก็ในเหตุปัจจัย ฉันใด แม้ในอารัมมณปัจจัยเป็นต้น ก็ฉันนั้น. ใน
วิปากปัจจัยมีวิสัชนา 1 วาระเท่านั้น.
บัดนี้ เพื่อแสดงวิสัชนาตามที่ได้ด้วยอำนาจจำนวน พระผู้มี-
พระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เหตุยา ตีณิ ในเหตุปัจจัย 3 วาระ เป็นต้น.
ในวิสัชนาเหล่านั้นท่านจำกัด (กำหนด) ไว้ในติกะทั้งปวงดังนี้คือ กุศล

กับกุศล อกุศลกับอกุศล อัพยากตะกับอัพยากตะ. ก็ในติกะหนึ่ง ๆ ย่อม
ได้อัพยากกับอัพยากตะเท่านั้น. ในวาระนี้มีการกำหนด 2 อย่าง คือ
ในปัจจัย 22 มีวิสัชนา 3 วาระ ในวิปากปัจจัยมีวิสัชนา 1 วาร ด้วย
ประการฉะนี้. วิสัชนาที่เป็นอนุโลมย่อมไม่มีในปัจฉาชาตปัจจัย เพราะ-
ฉะนั้น ในการเทียบเคียงในทุกัตติกะเป็นต้น ด้วยอำนาจแห่ง
วิสัชนาเหล่านี้ว่า วิสัชนา 3 และ 1 ดังนี้ วิปากปัจจัยในทุกัตติกะได้
ทุกติกะนั้นมีวิสัชนา 1. พึงทราบการคำนวณอย่างนี้ว่า ตีณิ 3 ในปัจจัย
ที่เหลือ (พึงทราบการคำนวณอย่างนี้ว่าในปัจจัยที่เหลือมีวิสัชนา 3 วาระ).
คำที่เหลือในอนุโลมนัยในสังฏฐวาระนี้มีใจความง่ายทั้งนั้น.
จบอรรถกถาอนุโลมนัย

ปัจจนียนัย


[401] 1. อกุศลธรรม เจือกับอกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะนเหตุ-
ปัจจัย

คือ โมหะ ที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา สหรคตด้วยอุทธัจจะ เจือกับขันธ์
ทั้งหลาย ที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา สหรคตด้วยอุทธัจจะเกิดขึ้น.
2. อัพยากตธรรม เจือกับอัพยากตธรรมเกิดขึ้น เพราะ
นเหตุปัจจัย

คือ ขันธ์ 3 เจือกันขันธ์ที่เป็นอัพยากตวิบาก และอัพยากต-