เมนู

นสมนันตรปัจจัย มี 5 วาระ ในนอัญญมัญญปัจจัย มี 5 ใน
นอุปนิสสยปัจจัย มี 5 วาระ ในนปุเรชาตปัจจัย มี 7 วาระ ใน
นปัจฉาชาตปัจจัย มี 17 วาระ ในนอาเสวนปัจจัย มี 17 วาระ ใน
นกัมมปัจจัย มี 7 วาระ ในนวิปากปัจจัย มี 17 วาระ ในนสัมปยุตต-
ปัจจัย มี 5 วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี 3 วาระ ในโนนัตถิปัจจัย
มี 5 วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี 5 วาระ.
อนุโลมปัจจนียนัย ในนิสสยวาระ จบ

ปัจจนียานะโลมนัย


การนับวาระในปัจจนียานุโลมแห่งนิสสยวาระ


[387] เพราะนเหตุปัจจัย

ในอารัมมณปัจจัย มี 4 วาระ... ใน
อนันตรปัจจัย มี 4 วาระ ในสมนันตรปัจจัย มี 4 วาระ ในสหชาต-
ปัจจัย มี 4 วาระ ในอัญญมัญญปัจจัย มี 4 วาระ ในนิสสยปัจจัย มี
4 วาระ ในอุปนิสสยปัจจัย มี 4 วาระ ในปุเรชาตปัจจัย มี 4 วาระ
ในอาเสวนปัจจัย มี 4 วาระ ในกัมมปัจจัย มี 4 วาระ ในวิปากปัจจัย
มี 1 วาระ ในอาหารปัจจัย มี 4 วาระ ในอินทริยปัจจัย มี 4 วาระ
ในฌานปัจจัย มี 4 วาระ ในมัคคปัจจัย มี 3 วาระ ในสัมปยุตตปัจจัย
มี 4 วาระ ในวิปปยุตตปัจจัย มี 4 วาระ ในอัตถิปัจจัย มี 4 วาระ
ในนัตถิปัจจัย มี 4 วาระ ในวิคตปัจจัย มี 4 วาระ ในอวิคตปัจจัย
มี 4 วาระ.
ปัจจนียานุโลมนัย ในนิสสยวาระ จบ

ข้อความในนิสสยวาระ เหมือนข้อความในปัจจยวาระ.
ข้อความในปัจจยวาระ เหมือนข้อความในนิสสยวาระ.
นิสสยวาระ จบ

อรรถกถานิสสยวาระ


พึงทราบวินิจฉัย ในนิสสยวาระ ต่อไป. คำว่า กุสลํ ธมฺมํ
นิสฺสาย
อาศัยกุศลธรรม อธิบายว่า เพราะทำกุศลธรรมให้เป็นที่อิง
อาศัย โดยอรรถว่าเป็นปัจจัย. คำที่เหลือในนิสสยวาระนี้ ผู้ศึกษาพึงทราบ
ตามนัยที่กล่าวแล้วในปัจจยวาระนั่นแล. ก็ในอวสานแห่งปัจจัยนี้ คำนี้ว่า
อันอรรถว่าปัจจยะมีความหมายเท่ากับนิสสยะ อันอรรถว่านิสสยะมีความ
หมายเท่ากับปัจจยะ ดังนี้ ท่านกล่าวไว้ เพื่อแสดงความไม่ต่างกันโดย
ใจความแห่งวาระทั้ง 2 เหล่านี้. จริงอยู่ โดยใจความวาระทั้ง 2 นี้ ไม่มี
อะไรแตกต่างกัน เหมือนปฏิจจวาระกับสหชาตวาระฉะนั้น. แม้เมื่อเป็น
อย่างนี้ท่านก็กล่าวไว้เพื่อเน้นเนื้อความของกันและกัน. จริงอยู่ ในคำมี
อาทิว่า อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา สังขารเกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ปัจจัยทั้งหลายแม้ไม่ต้องอาศัยนานักขณิกกัมม-
ปัจจัย ที่กำลังเป็นไปอยู่ก็เกิดขึ้นได้. ก็บรรดาไม้ที่ตั้งพิงกันไว้เป็นต้น
ไม้อัน หนึ่งหาได้เป็นนิสสยปัจจัยแก่ไม้อันหนึ่งไม่ เช่นเดียวกับอุปาทารูป
ก็ไม่เป็นนิสสยปัจจัยแก่มหาภูตรูปฉะนั้น. แม้วาระทั้ง 2 นี้ พระผู้มี
พระภาคเจ้าตรัสไว้เพื่อกำหนดความเป็นนิสสยปัจจัยโดยปัจจยวาระ และ