เมนู

มี 1 วาระ ในนัตถิปัจจัย มี 1 วาระ ในวิคตปัจจัย มี 1 วาระ ใน
อวิคตปัจจัย มี 1 วาระ.
[282] เพราะอาหารปัจจัย... เพราะอินทริยปัจจัย... เพราะฌาน-
ปัจจัย... เพราะมัคคปัจจัย... เพราะสัมปยุตตปัจจัย... เพราะวิปป-
ยุตตปัจจัย... เพราะอัตถิปัจจัย... เพราะนัตถิปัจจัย... เพราะวิคต-
ปัจจัย... เพราะอวิคตปัจจัย
ในเหตุปัจจัย มี 17 วาระ... ในอารัมมณ-
ปัจจัย มี 7 วาระ ในวิคตปัจจัย มี 7 วาระ.
ปัจจยานุโลมนัย จบ

อรรถกถาปัจจยวาระ


อรรถกถาปัจจยานุโลมนัย


พึงทราบวินิจฉัยใน ปัจจยวาระ ต่อไป:-
คำว่า กุสลํ เอกํ ขนฺธํ ปจฺจยา คือ เป็นสภาพตั้งอยู่ในกุศลธรรม
อธิบายว่า ทำกุศลธรรมให้เป็นปัจจัย เพราะอรรถว่า เป็นที่อิงอาศัย.
คำว่า กุสลํ เอกํ ขนฺธํ ปจฺจยา มีคำอธิบายว่า ขันธ์ 3 ทำกุศลขันธ์ 1
ให้เป็นที่อิงอาศัยเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย. ในทุก ๆ บท บัณฑิตพึงทราบ
ใจความโดยอุบายนี้เหมือนกัน. คำนี้ว่า ขันธ์ที่เป็นวิปากาพยากตะและ
กิริยาพยากตะ เกิดขึ้นเพราะอิงอาศัยวัตถุ. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสด้วย
อำนาจปวัตติกาลในปัญจโวการภพ. จริงอยู่ ในปวัตติกาลในปัญจโว-
การภพ วัตถุที่เป็นปุเรชาตะเป็นนิสสยปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลาย แต่เพราะ

ปฏิจฺจ ศัพท์ ที่มีความหมายเท่ากับสหชาตะ ใน ปฏิจจวาระ จึงไม่ได้นัย
เช่นนี้ เพราะฉะนั้น พระองค์จึงตรัสว่า วตฺถุํ ปฏิจฺจ ขนฺธา ขันธ์
ทั้งหลายเกิดขึ้นเพราะอาศัยวัตถุ ดังนี้ หมายเอาวัตถุที่ เป็นสหชาตะเท่านั้น
ในปฏิสนธิกาล. แม้ในคำว่า ขันธ์ 3 เกิดขึ้นเพราะอิงอาศัยกุศลขันธ์ 1
และวัตถุรูปเป็นต้น บัณฑิตพึงทราบความหมายโดยนัยนี้เหมือนกัน. คำว่า
กุศลและอัพยากตะ เกิดขึ้นเพราะอาศัยอัพยากตธรรม ท่านกล่าวหมาย
เอาการเกิดพร้อมกันแห่งกุศลและอัพยากตะ ด้วยอำนาจเหตุปัจจัย. จริงอยู่
ในขณะกุศลจิตเกิดขึ้น กุศลขันธ์ทั้งหลายอาศัยวัตถุรูปเกิด และอุปาทาย-
รูปซึ่งมีจิตเป็นสมุฏฐาน อาศัยมหาภูตรูปซึ่งมีจิตเป็นสมุฏฐาน เกิดขึ้น
พร้อมกันด้วยอำนาจเหตุปัจจัย. ถึงเมื่ออัพยากธรรมที่เป็นปัจจัยจะแตก
ต่างกัน บัณฑิตพึงทราบว่า คำนี้ท่านกล่าวหมายถึงการเกิดพร้อมกัน
แห่งปัจจยุบบัน ด้วยอำนาจเหตุปัจจัย ในฐานอื่นที่เป็นอย่างนี้ก็นัยนี้
เหมือนกัน.
ใน เหตุปัจจัยนี้ ท่านวิสัชนาปัญหา 17 ข้อ เพราะทำสหชาตะ
และปุเรชาตะให้เป็นปัจจัย โดยอรรถว่า เป็นที่อิงอาศัยด้วยประการฉะนี้.
ในข้อนั้นท่านถือเอาขันธ์ทั้งหลายและมหาภูตรูป ด้วยอำนาจสหชาตปัจจัย
ถือเอาวัตถุรูปด้วยอำนาจสหชาตปัจจัยและปุเรชาตปัจจัย. ส่วนในปฏิจจ-
วาระย่อมได้ปัจจัยด้วยอำนาจสหชาตะ เพราะฉะนั้น ในที่นั้นท่านจึงวิสัชนา
ปัญหาไว้ 9 ข้อเท่านั้น.
ก็ในปัจจัยวาระนั้น ธรรมเหล่าใดมีปัญหา 17 ข้อ อันพระผู้มี-
พระภาคเจ้าทรงวิสัชนาแล้วในธรรมเหล่านั้นมีกุศลเป็นต้น ในการวิสัชนา
ที่มีบทต้นบทเดียว บทอวสานก็บทเดียว ได้ปัจจยุบบันเป็นอย่างเดียวจาก

ปัจจัยเดียวกัน. ในการวิสัชนาที่มีบทต้นบทเดียว อวสานบท 2 บท ได้
ปัจจยุบบันต่างกันทั้งที่เป็นปัจจัยเดียวกัน. ในการวิสัชนาที่มีบทต้น 2 บท
อวสานบทบทเดียว ได้ปัจจยุบบันเป็นอย่างเดียวกัน ทั้งที่จากปัจจัยต่าง
กัน. ในการวิสัชนาที่มีบทต้น 2 บท บทอวสาน 2 บท ได้ปัจจยุบบัน
ต่างกันจากปัจจัยที่ต่างกัน (แยกกัน). แม้ในอารัมมณปัจจัยเป็นต้น พึง
ทราบการจำแนกปัญหา และวิสัชนา โดยอุบายนี้เทียว.
ก็คำใดที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ ใน อารัมมณปัจจัย ว่า ขันธ์
ทั้งหลายย่อมเกิดขึ้นเพราะอาศัยวัตถุ
คำนั้นท่านหมายเอาเฉพาะวิบาก-
ขันธ์ ในปฏิสนธิกาลเท่านั้น, จักขุวิญญาณเป็นต้น ท่านกล่าวไว้เพื่อ
แสดงประเภทแห่งธรรมทั้งหลายที่อาศัยอัพยากตะเกิดขึ้น เพราะอารัมมณ-
ปัจจัย. คำว่า วตฺถุํ ปจฺจยา อาศัยวัตถุ พระองค์ตรัสไว้อีกก็เพื่อแสดง
การเกิดขึ้นแห่งวิปากาพยากตะ และกิริยาพยากตะในปวัตติกาล. (ว่า
อาศัยวัตถุ) คำที่เหลือพึงทราบโดยนัยก่อนนั่นแล.
ใน อารัมมณปัจจัย นี้ ท่านวิสัชนาไว้ 7 ปัญหา เพราะยก
สหชาตปัจจัย และปุเรชาตปัจจัยขึ้นเป็นปัจจัย ด้วยประการฉะนี้ ในปัญหา
เหล่านั้น ขันธ์ทั้งหลายท่านถือเอาด้วยอำนาจสหชาตะ วัตถุถือเอาด้วย
อำนาจสหชาตะ ปุเรชาตะ จักขวายตนะเป็นต้นถือเอาด้วยอำนาจปุเรชาตะ
ส่วนในปฏิจจวาระย่อมได้ปัจจัยด้วยอำนาจสหชาตะเท่านั้น เพราะฉะนั้น
ในวาระนั้น จึงวิสัชนาไว้ 3 ปัญหาเท่านั้น.
ใน อธิปติปัจจัย พึงทราบว่าได้แก่วิปากาพยากตะที่เป็นโลกุตตระ
เท่านั้น. อนันตรปัจจัย และ สมนันตรปัจจัย เหมือนกับอารัมมณปัจจัย

เพราะไม่มีรูป. แม้ใน อาเสวนปัจจัย นัตถิปัจจัย และ วิคตปัจจัย ข้าง
หน้าก็นัยนี้เหมือนกัน.
ใน สหชาตปัจจัย สองบทว่า กฏตฺตารูปํ อุปาทารูปํ ได้แก่
กฏัตตารูป กล่าวคืออุปาทารูป. คำนี้ท่านหมายเอารูปแห่งอสัญญสัตว์
พวกเดียว. จักขายตนะเป็นต้น กล่าวด้วยอำนาจปัญจโวการภพ.
ก็ใน อัญญมัญญปัจจัย ท่านกล่าวหมายเอาปัญหาที่มีวิสัชนาเท่ากัน
ว่า เหมือนธรรมที่เกิดเพราะอารัมมณปัจจัย. แต่ในปัจจยุบบันธรรมมี
ความแตกต่างกัน.
บทว่า อารมฺมณปจฺจยสทิสํ ในอุปนิสสยปัจจัย ท่านกล่าวไว้
เพราะมีวิสัชนาเท่ากันโดยความไม่มีรูปบ้าง. คำว่า วตฺถุํ ปุเรชาตปจฺจยา
เป็นต้น พึงถือเอาเนื้อความตามนัยที่กล่าวในปฏิจจวาระ.
ใน กัมมปัจจัย บทว่า ตีณิ บัณฑิตพึงทราบวิสัชนา 3 ข้ออย่างนี้
คือ กุศลเกิดเพราะอาศัยกุศล 1 อัพยากตะเกิดเพราะอาศัยกุศล 1 กุศล
และอัพยากตะเกิดเพราะอาศัยกุศล 1. แม้ในอกุศลเป็นต้นก็มีนัยนี้เหมือน
กัน.
ใน วิปปยุตตปัจจัย สองบทว่า ขนฺเธ วิปฺปยุตตฺตปจฺจยา ความว่า
ธรรมทั้งหลายอาศัยขันธ์ทั้งหลายเกิดขึ้นเพราะวิปปยุตตปัจจัย. คำว่า
ขนฺธา วตฺถุํ วิปฺปยุตฺตปจฺจยา ความว่า ขันธ์ทั้งหลายอาศัยวัตถุเกิดขึ้น
เพราะวิปยุตตปัจจัย. คำที่เหลือพึงทราบความตามนัยที่กล่าวแล้วในหน
หลัง
บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เหตุยา สตฺตรส ในเหตุปัจจัย
มี 17 วาระ เป็นต้น เพื่อแสงวิสัชนาตามที่หาได้ด้วยอำนาจการคำนวณ.


บรรดาบทเหล่านั้น สองบทว่า เหตุยา สตฺตรส ความว่า พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าตรัสวิสัชนาไว้ 3 ข้อ คือ บทต้น 1 บท กับบทอวสาน 1 บท มี
2 วาระ, บทต้น 2 บทกับบทอวสาน 1 บท มี 1 วาระ ด้วยอำนาจกุศล
อย่างนี้ คือ กุศลกับกุศล อัพยากตะกับกุศล กุศลและอัพยากตะกับกุศล.
วิสัชนาด้วยอำนาจของอกุศล ก็เหมือนกันกับกุศล. อัพยากตะกับอัพยากตะ,
อกุศลอัพยากตะกับอัพยากตะ, กุศลกับกุศลอัพยากตะ อัพยากตะกับกุศล-
อัพยากตะ, กุศลอัพยากตะกับกุศลอัพยากตะ, อกุศลกับอกุศลอัพยากตะ,
อัพยากตะกับอกุศลอัพยากตะ, อกุศลอัพยากตะกับอกุศลอัพยากตะ, บัณฑิต
พึงทราบว่าในเหตุปัจจัย มี 17 วาระอย่างนี้.
ในคำว่า อารฺมเณ สตฺต ในอารัมมณปัจจัย มี 7 วาระ ความว่า
มีวิสัชนา 7 วาระ อย่างนี้ คือ กุศลกับกุศล อกุศลกับอกุศล อัพยากตะกับ
อัพยากตะ กุศลกับอัพยากตะ อกุศลกับอัพยากตะ กุศลกับกุศลอัพยากตะ
อกุศลกับอกุศลอัพยากตะ. บทว่า เอกํ ใน วิปากปัจจัย คืออัพยากตะ
กับอัพยากตะนั้นเอง. การกำหนดวารระ 3 ประการคือ 17 วาระ 7 วาระ
1 วาระ ในอนุโลมนัย ปัจจยาวาระย่อมมีด้วยประการฉะนี้. ในบรรดา
วาระเหล่านั้น บัณฑิตกำหนดวาระเหล่านั้นทั้งหมด คือ หมวด 17 วาระ
มี 12 ปัจจัย หมวด 7 วาระ มี 10 ปัจจัย หมวด 1 วาระ มี 1
ปัจจัยให้ดี แล้วพึงทราบจำนวนด้วยอำนาจจำนวนที่น้อยกว่าในการเทียบ
เคียงปัจจัย ด้วยอำนาจทุกัตติกะปัฏฐานเป็นต้น ข้างหน้า. จริงอยู่ ด้วย
วิธีคำนวณนี้ บัณฑิตอาจทราบการกำหนดวาระในนัยทั้งหลาย มีทุกมูลกะ
นัยเป็นต้นได้ เพราะฉะนั้น เพื่อจะแสดงการกำหนดวาระด้วยอำนาจ

จากการคำนวณเท่านั้น ไม่เท้าความไปถึงวิสัชนาว่า กุศลธรรมเกิดขึ้น
เพราะอิงอาศัยกุศลธรรมอีก
พระองค์จึงทรงเริ่มคำว่า เหตุปจฺจยา
อารมฺมเณ สตฺต
เพราะเหตุปัจจัย ในอารัมมณปัจจัย มี 7 วาระ
เป็นต้น. ในคำนั้นมีอธิบายว่า กุศลธรรมย่อมเกิดเพราะอิงอาศัยกุศล-
ธรรมในเพราะเหตุปัจจัย อารัมมณปัจจัย. บัณฑิตพึงอธิบายวิสัชนาที่ได้
ในอารัมมณปัจจัยให้พิสดารออกไป โดยนัยนี้ว่า ขันธ์ 3 อิงอาศัยกุศล-
ขันธ์ 1 เกิดขึ้น นัยในอนุโลมนัยเท่านั้น.
ปัจจยานุโลมนัย จบ

ปัจจยปัจจนียนัย


[283] 1. อกุศลธรรม อาศัยอกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะเหตุ-
ปัจจัย

คือ โมหะที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา ที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ อาศัยขันธ์
ทั้งหลาย ที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา ที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ เกิดขึ้น.
2. อัพยากตธรรม อาศัยอัพยากตธรรมเกิดขึ้น เพราะ
นเหตุปัจจัย

คือ ขันธ์ 3 และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ 1 ที่เป็นอัพยากต-
วิบาก อัพยากตกิริยา ซึ่งเป็นอเหตุกะเกิดขึ้น ฯ ลฯ1 ขันธ์ 2 และ
จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ 2 เกิดขึ้น.
1. ตามนัยแห่งข้อ 87.