เมนู

ปัจจย1วิภังควาระ


[2]

เหตุปัจจัย

ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นเหตุ
กล่าวคือ
เหตุเป็นปัจจัย แก่ธรรมที่ประกอบกับเหตุ และแก่รูปทั้งหลายที่
เหตุและธรรมที่ประกอบกับเหตุนั้น เป็นสมุฏฐาน ด้วยอำนาจของ
เหตุปัจจัย.


วรรณนานิทเทสแห่งเหตุปัจจัย


บัดนี้ เพื่อจะแสดงขยายความปัจจัยเหล่านี้ทั้งหมด ตามลำดับปัจจัยที่
ได้ยกขึ้นแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสคำมีอาทิว่า ชื่อว่า เหตุปัจจัย
ได้แก่ ธาตุ เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่สัมปยุตด้วยเหตุ และแก่รูปที่มีเหตุและ
ธรรมที่สัมปยุตกับเหตุนั้นเป็นสมุฏฐาน ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย. บรรดา
ปัจจัย 24 เหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยกเหตุปัจจัยนี้ขึ้นแสดงก่อน
กว่าปัจจัยทั้งหมด แล้วก็ทรงจำแนกไปตามลำดับที่ทรงตั้งไว้. แม้ใน
ปัจจัยที่เหลือ ผู้ศึกษาพึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยกบทที่ควร
จำแนกขึ้นก่อน และทำการวิสัชนาโดยนัยนี้เหมือนกัน. ส่วนสัมพันธ์บท
(บทที่เกี่ยวข้องกัน) ในอธิการนี้ ปัจจัยใดที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยกขึ้น
ในอุทเทสแห่งปัจจัยว่า "เหตุปจฺจโย" ปัจจัยนั้น ผู้ศึกษาพึงทราบ โดย
นิทเทส อย่างนี้ว่า เหตุ เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่สัมปยุตด้วยเหตุ และแก่
รูปที่มีเหตุนั้นเป็นสมุฏฐาน ด้วยอำนาจเหตุปัจจัย. ผู้ศึกษาพึงทราบ
สัมพันธ์กับการวิสัชนาบทที่ควรจำแนกด้วยปัจจัยทั้งหมด โดยอุบายนี้.
1. เรียกว่า ปัจจัยนิทเทส ก็ได้.

บัดนี้ มีคำถามว่า ในคำว่า เหตุ เหตุสมฺปยุตฺตกานํ นี้ พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าไม่ตรัสว่า เหตุสมฺปยุตฺตกานํ แต่ตรัสว่า เหตุ เหตุ-
สมฺปยุติกานํ
ดังนี้ เพราะเหตุไร ? ตอบว่า เพราะเป็นการกำหนด
ปัจจัย และปัจจยุบบัน. จริงอยู่ เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เหตุ-
สมฺปยุตฺตกานํ
การกำหนดปัจจัยว่า ธรรมชื่อโน้นเป็นปัจจัยแก่ธรรม
ทั้งหลายที่สัมปยุตด้วยเหตุ ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย ดังนี้ ใคร ๆ ก็ทราบ
ไม่ได้. อีกอย่างหนึ่ง เพราะไม่ถือเอาเนื้อความว่า ธรรมทั้งหลายที่สัมปยุต
ด้วยเหตุ ชื่อว่า เหตุสัมปยุตตกานํ ใจความพึงมีว่า เหตุเป็นปัจจัยแก่ธรรม
เหล่าใดเหล่าหนึ่งที่สัมปยุตกัน ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย. เมื่อเป็นเช่นนั้น
แม้จักขุวิญญาณจิต เป็นต้น ที่ไม่ประกอบด้วยเหตุ ก็ชื่อว่า สมฺปยุตฺตกา
(ประกอบกัน) เหมือนกัน ทั้งธรรมมีกุศลเป็นต้น ที่ประกอบด้วยเหตุ
ก็ชื่อว่า สมฺปยุตฺตกา ด้วย. บรรดาปัจจยุบบันเหล่านั้น เมื่อพระผู้มี
พระภาคเจ้าตรัสว่า เหตุนี้ เป็นปัจจัยแก่ธรรมชื่อโน้นซึ่งสัมปยุตกัน การ
กำหนดธรรมที่เป็นปัจจยุบบันใคร ๆ ก็รู้ไม่ได้ เพราะฉะนั้น พระผู้มี-
พระภาคเจ้า เมื่อจะทรงกำหนดทั้งปัจจัยและปัจจยุบบัน จึงตรัสว่า เหตุ
เหตุสมฺปยุตฺตกานํ
(เหตุเป็นปัจจัยแก่ธรรมที่สัมปยุตด้วยเหตุ).
ข้อนั้นมีอธิบายว่า เหตุที่สัมปยุต เป็นปัจจัยแก่ธรรมทั้งหลาย
มีกุศลเป็นต้นที่สัมปยุตด้วยเหตุ ด้วยอำนาจเหตุปัจจัย. แม้ในคำนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ไม่ตรัสว่า ปจฺจโย อย่างเดียวตรัสว่า เหตุปจฺเยน
ด้วย เพื่อปฏิเสธความที่เหตุเป็นปัจจัยโดยประการอื่น. จริงอยู่ เหตุนี้เป็น
ปัจจัยด้วยอำนาจของเหตุปัจจัยก็ได้ ด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัยเป็นต้น

ก็ได้. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคำว่า เหตุปจฺจเยน ไว้ในอธิการนั้น ก็เพื่อ
ปฏิเสธความที่เหตุนี้เป็นปัจจัยโดยประการอื่น มีสหชาตปัจจัยเป็นต้น.
ถามว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่
ตรัสว่า ตํสมฺปยุตฺตกานํ มาตรัสว่า เหตุสมฺปยุตฺตกานํ.
ตอบว่า เพราะปัจจัยที่จะอธิบายยังไม่ปรากฏ.
จริงอยู่ เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ตํสมฺยุตฺตกานํ ธรรม
ทั้งหลายเหล่านั้น จะชื่อว่า ตํสมฺปยุตฺตถา ด้วยธรรมที่เป็นเหตุอันใด
ธรรมที่เป็นเหตุอันนั้นซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าก็พึงทรงชี้แจงว่า ธรรม
ชื่อนี้ ยังไม่ปรากฏ เพราะข้อที่ธรรมนั้นยังไม่ปรากฏ บัณฑิตจะเรียกธรรม
ที่สัมปยุตด้วยเหตุอันใดนั้นว่า ตํสมฺปยุตฺตกานํ ดังนี้ เพื่อจะแสดงเหตุ
อันนั้น โดยย่อ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เหตุสมฺปยุตฺตกานํ.
ส่วนในคำว่า ตํสมุฏฺฐานานํ นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงใช้ศัพท์ว่า
ตํ นั้น เพราะปัจจัยที่ควรอธิบายปรากฏแล้ว. จริงอยู่ ในอธิการนี้
มีเนื้อความดังนี้ว่า เหตุเหล่านั้นด้วย ธรรมที่สัมปยุตด้วยเหตุด้วย เป็น
สมุฏฐานแห่งรูปเหล่านั้น เพราะฉะนั้น รูปเหล่านั้นจึงชื่อว่า มีเหตุและ
ธรรมที่สัมปยุตด้วยเหตุเป็นสมุฏฐาน เหตุเป็นปัจจัยแก่รูปเหล่านั้น อันมี
เหตุและธรรมอันสัมปยุตด้วยเหตุนั้นเป็นสมุฏฐาน อธิบายว่า แก่รูปอัน
เกิดจากเหตุและธรรมที่สัมปยุตด้วยเหตุ. ทรงถือเอารูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน
ด้วยคำนี้. ถามว่า ก็รูปนั้นย่อมเกิดขึ้น แม้ด้วยธรรมอื่นจากจิตก็ได้หรือ
ตอบว่า เกิดขึ้นได้. จริงอยู่ จิตและเจตสิกแม้ทั้งหมดเกิดพร้อมกันแล้ว จึง
ให้รูปเกิดขึ้นได้ (เว้นจากจิต คือเจตสิก) แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสโดย
โลกียธรรมเทศนาว่า รูปอันมีจิตเป็นสมุฏฐานตามวิธีนั้น เพราะความที่จิต

เป็นใหญ่. เพราะเหตุนั้นเองพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ธรรมคือจิตและ
เจตสิก เป็นปัจจัยแก่รูปซึ่งมีจิตเป็นสมุฏฐานด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย
ถามว่า ถ้าอย่างนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในอธิการนี้ว่า ตํสมุฏฺฐานานํ
ไม่ตรัสว่า จิตฺตสมุฏฐานานํ ดังนี้ เพราะเหตุไร. ตอบว่า เพราะสงเคราะห์
รูปที่ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐานเข้ามาด้วย. จริงอยู่ ในปัญหาวาระมีอาคตสถาน
ว่า เหตุที่เป็นวิปากาพยากตะเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่สัมปยุตด้วยเหตุ และ
แก่กัมมชรูปในขณะปฏิสนธิ ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัยพระผู้มีพระภาคเจ้า
ไม่ตรัสว่า จิตฺตสมุฏฺฐานานํ แต่ตรัสว่า ตํสมุฏฺฐานานํ ไว้ในอธิการนี้
ก็เพื่อจะสงเคราะห์กัมมชรูปนั้นไว้ด้วย.
บทนั้นมีใจความว่า เหตุเหล่านั้นและธรรมที่สัมปยุตด้วยเหตุ แม้จะ
ไม่ได้ยังจิตตชรูปให้เกิดได้ แต่ก็จัดเป็นสมุฏฐานแห่งรูปเหล่านั้น ด้วย
อำนาจสหชาตปัจจัยเป็นต้น เพราะเหตุนั้น รูปเหล่านั้นจึงชื่อว่า มีเหตุ
และธรรมที่สัมปยุตด้วยเหตุนั้นเป็นสมุฏฐาน. เหตุเป็นปัจจัยแก่กัมมชรูป
เหล่านั้น ซึ่งมีเหตุและธรรมที่สัมปยุตด้วยเหตุนั้นเป็นสมุฏฐาน. เหตุเป็น
ปัจจัยแก่จิตตชรูปในปวัตติกาล และแก่กัมมชรูปในปฏิสนธิกาลด้วยอำนาจ
ของเหตุปัจจัย. แม้อรรถในอาคตสถานว่า ตํสมุฏฺฐานานํ ในบทอื่น ๆ
ผู้ศึกษาก็พึงทราบอธิบายโดยอุบายนี้.
ถามว่า ก็เพราะเหตุไร เหตุนี้จึงเป็นเหตุปัจจัยแก่กัมมชรูปใน
ปฏิสนธิกาลอย่างเดียว ไม่เป็นเหตุปัจจัยในปวัตติกาลด้วย.
ตอบว่า เพราะว่ากัมมชรูปมีความเป็นไปเกี่ยวเนื่องกับจิตใน
ปฏิสนธิกาล. จริงอยู่ ในปฏิสนธิกาล กัมมชรูปมีความ เป็นไปเกี่ยว
เนื่องกับจิต คือย่อมเกิดขึ้นและตั้งอยู่ได้ด้วยอำนาจของจิต. เพราะ

ว่าในขณะนั้นจิตไม่สามารถจะยังจิตตชรูปให้เกิดขึ้นได้. รูปแม้เหล่า
นั้นเว้นจิตเสีย ย่อมไม่สามารถจะเกิดขึ้น และตั้งอยู่ได้. เพราะเหตุไร
นั้นเอง พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า นามและรูปย่อมเกิดเพราะ
วิญญาณเป็นปัจจัย เมื่อวิญญาณนั้นยังดำรงอยู่ นามและรูปจึงเกิด
ขึ้นได้.

แต่ในปวัตติกาล กัมมชรูปเหล่านั้น แม้จิตจะยังมีอยู่ ก็มีความ
เป็นไปเกี่ยวเนื่องด้วยกรรมเท่านั้น หาเกี่ยวเนื่องด้วยจิตไม่. อนึ่ง
สำหรับบุคคลผู้เข้านิโรธ แม้ไม่มีจิตเกิด กัมมชรูปก็ยังเกิดได้
.
ถามว่า เพราะเหตุไร ในปฏิสนธิขณะ จิตจึงไม่สามารถให้
จิตตชรูปเกิดขึ้นได้

ตอบว่า เพราะมีกำลังอ่อน ด้วยถูกกำลังกรรมซัดไป และยัง
ไม่มีที่อาศัยอันมั่นคง. จริงอยู่ในปฏิสนธิกาล จิตนั้นถูกกำลังกรรม
ซัดไป และชื่อว่ายังไม่มีที่อาศัยอันมั่นคง เพราะยังไม่มีวัตถุรูปที่เป็น
ปุเรชาตปัจจัย เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า มีกำลังอ่อน.

เพราะฉะนั้น ปฏิสนธิจิตจึงไม่สามารถให้รูปเกิดขึ้นได้ เหมือน
คนที่พอตกลงไปในเหวไม่สามารถจะแสดงศิลปใด ๆ ได้. ก็กัมมชรูปเท่า
นั้นตั้งอยู่ในฐานแห่งรูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐานสำหรับบุคคลนั้น. และจิตนั้น
ก็ตั้งอยู่ในฐานะเป็นพืชแห่งกัมมชรูปเท่านั้น. ส่วนกรรมเปรียบเหมือน
ที่นา กิเลสเปรียบเหมือนน้ำ สำหรับกัมมชรูปนั้น เพราะฉะนั้น ใน
ขณะปฏิสนธิ รูปกายย่อมเกิดขึ้นได้ด้วยอานุภาพของจิต เปรียบเหมือนเมื่อ
มีที่นาและน้ำ ต้นไม้ย่อมเกิดขึ้นได้ด้วยอานุภาพแห่งเมล็ดพืชในคราวเกิด
ขึ้นเป็นครั้งแรก. แม้เว้นจากจิต กัมมชรูปก็ย่อมเป็นไปได้เพราะกรรม

เปรียบเหมือนเมล็ดพืชหมดแล้ว ต้นไม้ก็เจริญเติบโตขึ้นได้ด้วยอานุภาพ
แห่งดินและน้ำนั่นเอง. สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า กรรม
เปรียบเหมือนที่นา วิญญาณเปรียบเหมือนพืช ตัณหาเปรียบเหมือนยาง.
ก็แลเนื้อความนี้ผู้ศึกษาพึงถือเอาด้วยอำนาจแห่งโอกาส (ภูมิ) เท่า
นั้น จริงอยู่ โอกาสมี 3 คือโอกาสแห่งนาม โอกาสแห่งรูป โอกาส
แห่งนามและรูป.
บรรดาโอกาสทั้ง 3 นั้น อรูปภพ ชื่อว่า โอกาสแห่งนาม. เพราะ
ชื่อว่าในอรูปภพนั้น อรูปธรรมเท่านั้นย่อมเกิดขึ้นโดยเว้นซึ่งรูปเป็นปัจจัย
แม้เพียงหทัยวัตถุ.
อสัญญภพ ชื่อว่า โอกาสแห่งรูป เพราะว่าในสัญญภพนั้น รูป-
ธรรมย่อมเกิดขึ้นโดยเว้นซึ่งนามเป็นปัจจัย แม้เพียงปฏิสนธิจิต.
ปัญจโวการภพ ชื่อว่า โอกาสแห่งนามและรูป เพราะว่าใน
ปัญจโวการภพนั้น ในปฏิสนธิกาลเว้นแม้เพียงวัตถุรูป นามธรรมย่อม
เกิดขึ้นไม่ได้ และเว้นปฏิสนธิจิตเสีย รูปธรรมที่เกิดจากกรรมย่อมเกิด
ขึ้นไม่ได้เหมือนกัน ทั้งรูปธรรมและนามธรรมย่อมเกิดขึ้นคู่กัน.
เหมือนอย่างว่า ในเรือนหลวงที่มีเจ้าหน้าที่ มีคนเฝ้าประตูเว้นคำสั่ง
ของพระราชาเสีย ใครจะเข้าไปก่อนไม่ได้ แต่ภายหลังจากได้รับอนุญาต
แม้จะเว้นคำสั่งก็เข้าไปได้ ด้วยอานุภาพและคำสั่งคราวก่อน ฉันใด
ในปัญจโวการภพ เว้นปฏิสนธิวิญญาณ อันมีสหชาตปัจจัยเป็นต้น เป็น
ปัจจัย รูปที่จะเกิดครั้งแรก ด้วยสามารถปฏิสนธิไม่มี แต่ภายหลัง
ปฏิสนธิกาล แม้จะเว้นปฏิสนธิวิญญาณ ซึ่งมีอานุภาพแห่งสหชาตปัจจัย
เป็นต้นเป็นปัจจัย รูปที่เกิดด้วยอำนาจกรรมในก่อน ย่อมเป็นไปได้

เพราะกรรมนั่นแล ฉันนั้น. ส่วนอสัญญภพย่อมไม่เป็นโอกาสแห่งอรูป
เพราะฉะนั้น ในอสัญญภพนั้น เว้นนามที่เป็นปัจจัยเสีย รูปก็ย่อมเป็น
ไปได้ เพราะเป็นภูมิ (ที่เกิด) ของสัตว์ที่ไม่มีสัญญา เปรียบเหมือนใน
เรือนว่างที่ไม่มีเจ้าของ หรือในเรือนของตน ตนย่อมเข้าไปได้ฉะนั้น.
แม้อรูปภพ ย่อมไม่เป็นโอกาสแห่งรูป เพราะฉะนั้น ในอรูปภพนั้นเว้น
รูปที่เป็นปัจจัยเสีย นามธรรมย่อมเป็นไปได้ เพราะเป็นภูมิของสัตว์ผู้
รู้แจ้ง. ก็ปัญจโวการภพเป็นโอกาสแห่งรูปและนาม เพราะฉะนั้น ใน
ปฏิสนธิกาลในปัญจโวการภพนี้ เว้นนามที่เป็นปัจจัยแล้ว รูปจะเกิดขึ้น
ได้ย่อมไม่มีแล. เหตุนี้ปฏิสนธิจิตจึงเป็นปัจจัยแก่กัมมชรูปในปฏิสนธิกาล
เท่านั้น หาเป็นในปวัตติกาลไม่ ดังพรรณนามาแล้ว แล.
ถามว่า ก็เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เหตุเป็นปัจจัยแก่ธรรม
ที่เกิดขึ้นพร้อมกับเหตุ ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย เนื้อความนี้ทั้งหมด
ทรงถือเอาแล้วมิใช่หรือ เมื่อเป็นอย่างนั้น คำนี้ว่า เหตุเป็นปัจจัยแก่ธรรม
ที่สัมปยุตด้วยเหตุ และแก่รูปที่มีเหตุนั้นเป็นสมุฏฐานดังนี้ พระองค์ทรง
ถือเอาอีกเพราะเหตุไร. ตอบว่า เพราะทรงปฏิเสธความเป็นปัจจัยแก่
กัมมชรูปเป็นต้น ในปวัตติกาล. จริงอยู่ เมื่อเป็นเช่นนั้น กัมมชรูป
และรูปที่มีอุตุและอาหารเป็นสมุฏฐานเหล่าใด เกิดขึ้นในขณะเดียวกับ
เหตุในปวัตติกาล เหตุต้องเป็นเหตุปัจจัยแก่รูปเหล่านั้นได้ แต่ว่าเหตุหา
ได้เป็นปัจจัยแก่รูปเหล่านั้นไม่ เพราะฉะนั้น ผู้ศึกษาพึงทราบว่า พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าทรงถือเอาคำนั้นด้วย ก็เพื่อจะปฏิเสธความที่เหตุเป็นปัจจัย
แก่กัมมชรูปเป็นต้นนั้น (ในปวัตติกาล).

บัดนี้ ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัยในเหตุปัจจัยนี้ ด้วยอำนาจแห่งบท
เหล่านี้ว่า นานปฺปการเภทโต (โดยการจำแนกโดยประการต่าง ๆ)
ปจฺจยุปฺปนฺนโจ (โดยปัจจยุบบัน)
ต่อไป.
บทว่า นานปฺปการเภทโต มีอธิบายว่า ชื่อว่าเหตุนี้โดยชาติ
มี 4 อย่าง คือกุศลชาติ อกุศลชาติ วิปากชาติ และกิริยาชาติ. บรรดา
ชาติ 4 อย่างนั้น กุศลเหตุ ว่าโดยลำดับแห่งภูมิมี 4 โดยแจกเป็นกามา-
วจรภูมิเป็นต้น. อกุศลเหตุ เป็นกามาวจรอย่างเดียว. วิปากเหตุมี 4 อย่าง
โดยจำแนกเป็นกามาวจรเป็นต้น. กิริยาเหตุมี 3 คือกามาวจร รูปาวจร
และอรูปาวจร. บรรดาเหตุเหล่านั้น กามาวจรกุศลเหตุ ว่าโดยชื่อมี 3
ด้วยอำนาจอโลภเหตุเป็นต้น. แม้ในรูปาวจรกุศลเหตุเป็นต้น ก็นัยนี้
เหมือนกัน. อกุศลเหตุมี 3 ด้วยอำนาจโลภเหตุเป็นต้น. ส่วนวิปากเหตุ
กิริยาเหตุ มีอย่างละ 3 ด้วยอำนาจอโลภเหตุเป็นต้น. ส่วนการจำแนก
เหตุนั้น ๆ โดยประการต่าง ๆ ย่อมมีด้วยอำนาจการประกอบกับจิต
นั้น ๆ นั่นแหละ. ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัยโดยประการต่าง ๆ ในเหตุนี้
เท่านี้ก่อน.
บทว่า ปจฺจยุปฺปนฺนโต มีเนื้อความว่า ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัย
อย่างนี้ว่า ธรรมเหล่านี้ย่อมเกิดขึ้นเพราะปัจจัยนี้ เหตุนี้ ปัจจัยนี้จึงชื่อว่า
เป็นปัจจัยแก่นามธรรมเหล่านี้. บรรดาปัจจัยเหล่านั้นพึงทราบวินิจฉัยใน
เหตุปัจจัยนี้ก่อน.
กามาวจรกุศลเหตุ เป็นเหตุปัจจัยแก่ธรรมที่สัมปยุตกับตน และ
รูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐานในกามภพ และรูปภพทั้งหลาย. ในอรูปภพเป็น
ปัจจัยแก่ธรรมที่สัมปยุตเท่านั้น.

รูปาวจรกุศลเหตุ เป็นเหตุปัจจัย แก่ธรรมที่สัมปยุต และรูปที่มีจิต
เป็นสมุฏฐานในกามภพ และรูปภพเท่านั้น.
อรูปาวจรกุศลเหตุ เหมือนกับกามาวจรกุศลเหตุนั่นเอง.
โลกุตตรกุศลเหตุ และอกุศลเหตุก็เหมือนกัน.
ส่วนกามาวจรวิบากเหตุ เป็นเหตุปัจจัยแก่ธรรมที่สัมปยุตกับตน
เฉพาะในกามภพเท่านั้น เป็นเหตุปัจจัยแก่กัมมชรูปในปฏิสนธิกาล และ
เป็นปัจจัยแก่รูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐานในปวัตติกาล.
รูปาวจรวิบากเหตุ เป็นเหตุปัจจัยแก่ธรรมมีประการดังกล่าวแล้ว
ในรูปภพนั้นเอง. อรูปารจรวิบากเหตุ เป็นเหตุปัจจัยแก่ธรรมที่สัมปยุต
เท่านั้น ในอรูปภพ. โลกุตตรวิบากเหตุ เป็นเหตุปัจจัยแก่ธรรมที่สัมปยุต
และแก่รูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน ในกามภพและรูปภพ เป็นเหตุปัจจัยแก่
อรูปธรรมเท่านั้นในอรูปภพ. ส่วนใน กิริยาเหตุ มีนัยแห่งการเป็น
ปัจจัยเหมือนกับกุศลเหตุในภูมิทั้ง 3 ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัย แม้โดย
ธรรมที่เป็นปัจจยุบบันในเหตุปัจจัยนี้ ดังพรรณนามาฉะนี้ แล.
วรรณนานิทเทสแห่งเหตุปัจจัย จบ

[3]

อารัมมณปัจจัย

ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็น
อารมณ์ กล่าวคือ

1. รูปายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณธาตุ และแก่
ธรรมทั้งหลาย ที่ประกอบกับจักขุวิญญาณธาตุนั้น ด้วยอำนาจของ
อารัมมณปัจจัย.