เมนู

ปัจจัย มี 5 วาระ ในนวิปปยุตตปัจจัย มี 3 วาระ ในโนนัตถิปัจจัย
มี 5 วาระ ในโนวิคตปัจจัย มี 5 วาระ.
ปัจจยานุโลมปัจจนียนัย จบ

ปัจจัยปัจจนียานุโลมนัย


การนับวาระในปัจจนียานุโลมแห่งสหชาตวาระ


[245] เพราะนเหตุปัจจัย

ในอารัมมณปัจจัย มี 2 วาระ... ใน
อนันตรปัจจัย มี 2 วาระ ในสมนันตรปัจจัย มี 2 วาระ ในสหชาต-
ปัจจัย มี 2 วาระ ในอัญญมัญญปัจจัย มี 2 วาระ ในนิสสยปัจจัย
มี 2 วาระ ในอุปนิสสยปัจจัย มี 2 วาระ ในปุเรชาตปัจจัย มี 2 วาระ
ในอาเสวนปัจจัย มี 2 วาระ ในกัมมปัจจัย มี 2 วาระ ในวิปากปัจจัย
มี 1 วาระ ในอาหารปัจจัย มี 2 วาระ ในอินทริยปัจจัย มี 2 วาระ
ในฌานปัจจัย มี 2 วาระ ในมัคคปัจจัย มี 1 วาระ ในสัมปยุตต-
ปัจจัย มี 2วาระ ในวิปปยุตตปัจจัย มี 2 วาระ ในอัตถิปัจจัย มี 2
วาระ ในนัตถิปัจจัย มี 2 วาระ ในวิคตปัจจัยมี 2 วาระ ในอวิคต-
ปัจจัย มี 2 วาระ.
ปัจจัยปัจจนียานุโลมนัย จบ
สหชาตวาระ จบ
ข้อความในสหชาตวาระ เหมือนข้อความในปฏิจจวาระ.
ข้อความในปฏิจจวาระ เหมือนข้อความในสหชาตวาระ
.

อรรถกถาสหชาตวาระ


พึงทราบวินิจฉัย ใน สหชาตวาระ ต่อไป:-
คำว่า กุสลํ ธมฺมํ สหชาโต เกิดร่วมกับกุศลธรรม คือ เพราะ
อาศัยกุศลธรรม จึงเกิดร่วมกันกับกุศลธรรมนั้น คำที่เหลือในสหชาต-
วาระนี้ พึงทราบตามนัยที่กล่าวไว้แล้วในปฏิจจวาระ. ก็ในอวสานแห่ง
ปฏิจจวาระท่านกล่าวคำนี้ไว้ว่า อรรถแห่ง สหชาต ศัพท์ ชื่อว่าเป็น
อรรถแห่ง ปฏิจฺจ ศัพท์ อรรถแห่ง ปฏิจฺจ ศัพท์ ชื่อว่าเป็นอรรถแห่ง
สหชาต ศัพท์ ดังนี้ เพื่อแสดงว่าวาระทั้งสองนี้ ว่าโดยเนื้อความแล้ว
ไม่มีข้อแตกต่างกัน. จริงอยู่ โดยใจความแล้ว วาระทั้งสองนี้ไม่มีข้อ
แตกต่างกันเลย ถึงอย่างนั้นท่านก็กล่าวไว้เพื่อกำหนดความหมายของกัน
และกัน จริงอยู่ ในคำว่า จกฺขุญฺจ ปฏิจฺจ รูเป จ อาศัยจักขุและรูป
เป็นต้น ท่านกล่าวไว้ว่า ปัจจยุบบันธรรมย่อมเกิดเพราะอาศัยจักขุและรูป
(จักขุปสาท กับรูปปารมณ์) แม้ที่ไม่ได้เกิดพร้อมกัน. ก็อุปาทายรูป แม้
ที่เกิดพร้อมกันก็หาเป็นปัจจัยแก่มหาภูตรูปได้ไม่ วาระทั้งสองนี้ ท่าน
กล่าวไว้เพื่อกำหนดความเป็นสหชาตโดยปฏิจจวาระ และภาวะที่ปัจจัย
ซึ่งท่านกล่าวว่า ปฏิจฺจ เป็นสหชาตะ โดยสหชาตวาระ.
อีกอย่างหนึ่ง วาระทั้งสองนี้ ท่านกล่าวไว้ด้วยอำนาจเทศนาวิลาสะ
ตามอัธยาศัยของเหล่าสัตว์ผู้จะหยั่งรู้โดยประการนั้น และด้วยอำนาจความ
รู้แตกฉานในนิรุตติปฏิสัมภิทา.
จบอรรถกถาสหชาตวาระ