เมนู

[235] เพราะโนวิคตปัจจัย นเหตุปัจจัย ฯลฯ นกัมมปัจจัย
นวิปากปัจจัย นอาหารปัจจัย นอินทริยปัจจัย นฌานปัจจัย นมัคค-
ปัจจัย นสัมปยุตตปัจจัย นวิปปยุตตปัจจัย โนนัตถิปัจจัย
ในสหชาต-
ปัจจัย มี 1 วาระ... ในนิสสยปัจจัย มี 1 วาระ ในอัตถิปัจจัย มี 1
วาระ ในอวิคตปัจจัย มี 1 วาระ.
ปัจจยปัจจนียานุโลมนัย จบ
ปฏิจจวาระ จบ

อรรถกถาปัจจยปัจจนียานุโลมนัย


บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเริ่มคำว่า นเหตุปจฺจยา อารมฺมเณ
เทฺว
เพราะนเหตุปัจจัย ในอารัมมณปัจจัย มี 2 วาระ เป็นต้น เพื่อแสดง
การนับใน ปัจจนียานุโลม. ในปัจจนียานุโลมนั้น ปัจจัยที่เหลือเว้น
อธิปติปัจจัย ย่อมได้โดยอนุโลมในเหตุปัจจัยที่ตั้งอยู่โดยความเป็นปัจจนิก.
ส่วนปัจฉาชาตปัจจัย ย่อมไม่ได้โดยอนุโลมในปัจจัยทั้งหมดนั่นเทียว. ปัจจัย
9 เหล่าใดที่ท่านกล่าวไว้ว่า อรูปานญฺเญว ปัจจัยที่ตั้งอยู่ในฐานแห่งนาม
ที่เหลือย่อมไม่ได้โดยอนุโลมในปัจจัย 7 ที่เหลือ เว้นปุเรชาตปัจจัย และ
อาเสวนปัจจัย ซึ่งตั้งอยู่โดยเป็นปัจจนิก. จริงอยู่ ธรรมที่ไม่เกิดจาก
อารัมมณปัจจัยเป็นต้น ย่อมไม่ได้อนันตรปัจจัย เป็นต้น.
ก็ปฏิสนธิวิบาก และวิบากทั้งหมดจากปุเรชาตปัจจัย แม้จะไม่เกิด
จากอาเสวนะกับกิริยามโนธาตุ ก็ย่อมได้อนันตรปัจจัยเป็นต้น. เพราะฉะนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ปุเรชาตญฺจ อาเสวนญฺจ ฐเปตฺวา ดังนี้
ปัจจัยที่เหลือเว้นอวิคตปัจจัย ย่อมได้โดยอนุโลมในปุเรชาปัจจัย ปัจฉา-
ชาตปัจจัย อาเสวนปัจจัย วิปากปัจจัย วิปปยุตตปัจจัย ที่ตั้งอยู่โดยเป็น
ปัจจนิก. เว้นวิปากปัจจัยเสีย ที่เหลือย่อมได้โดยอนุโลมในกัมมปัจจัย
ที่ตั้งอยู่โดยปัจจนิก. เว้นปัจจัยที่อุปการะในที่ทั้งปวง และอัญญมัญญ-
ปัจจัย กัมมปัจจัย อาหารปัจจัย และอินทริยปัจจัย ที่เหลือย่อมไม่ได้
โดยอนุโลมในอาหารปัจจัยและอินทริยปัจจัย ซึ่งตั้งอยู่โดยเป็นปัจจนิก.
ปัจจัยนอกนี้ย่อมได้ด้วยอำนาจที่เหมาะสม เหตุปัจจัย อธิปติปัจจัย อาเสวน-
ปัจจัย และมัคคปัจจัย ย่อมไม่ได้โดยอนุโลมในฌานปัจจัยที่ตั้งอยู่โดยเป็น
ปัจจนิก. ในมัคคปัจจัย ที่ตั้งอยู่โดยเป็นปัจจนิก ย่อมไม่ได้เหตุปัจจัย และ
อธิปติปัจจัยโดยเป็นอนุโลม. ในวิปปยุตปัจจัยที่ตั้งอยู่โดยเป็นปัจจนิก
เว้นปุเรชาตปัจจัยย่อมได้ปัจจัยที่เหลือโดยอนุโลม บัณฑิตครั้นทราบปัจจัย
ที่ไม่ได้โดยเป็นอนุโลม ในบรรดาปัจจัยที่ตั้งอยู่โดยเป็นปัจจนิกอย่างนี้แล้ว
พึงทราบด้วยการนับด้วยอำนาจปัจจัยที่นับได้น้อยกว่า ในการเปรียบเทียบ
กับปัจจัยนั้น.
ในนาติกาทั้งหลายมีทุกะมาติกาเป็นต้นใด ๆ อันท่านแสดงเริ่มแต่
ปัจจัยใด ๆ ในนัยทั้งหลายมีทุมลูกนัยเป็นต้น ทุกะมาติกานั้น ๆ ท่าน
แสดงไว้แล้วโดยวิธีใด ๆ ด้วยอำนาจปัจจัยที่หาได้และหาไม่ได้ บัณฑิต
พึงกำหนดทุกะมาติกาเป็นต้นนั้นให้ดี โดยวิธีนั้น ๆ. พึงทราบวินิจฉัย
ในคำนั้น อันพระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะแสดงนัยมีทุมลูกนัยเป็นต้น ด้วย
อำนาจเหตุปัจจัยตรัสว่า นเหตุปจฺจยา นารมฺมณปจฺจยา ฯ เป ฯ
นาเสวนปจฺจยา
ดังนี้ แล้วตรัสคำใดไว้ คำอธิบายทั้งหมดเช่นเดียวกัน

จนถึงอาเสวนปัจจัย พึงทราบความเหมือนกันของคำนั้น กับคำว่า
นอญฺญมญฺญปจฺจยา สหชาเต เอกฺ เพราะนอัญญมัญญปัจจัย ในสหชาต-
ปัจจัย มี 1 วาระ ใด ที่ท่านเขียนไว้ในภาษาสิงหลว่า พระอาจารย์ย่อม
รวมเอาซึ่งปัจจัย 5 ใน นกัมมปัจจัย ที่คำนวณแล้ว พึงทราบใจความ
แห่งคำนั้นดังนี้ ปัจจัย 5 เริ่มต้นแต่ นเหตุปัจจัย อันท่านแสดงไว้อย่าง
นี้ว่า บัณฑิตย่อมได้วิสัชนาข้อหนึ่งในสหชาตปัจจัย ที่ต่อกับนกัมมปัจจัย
อย่างนี้ว่า นกมฺมปจฺจยา ดังนี้ ย่อมได้โดยอนุโลม ปัจจัยอื่นไม่ได้ ใน
ฐานอื่นที่เป็นแบบนี้ บัณฑิตไม่ควรถือเอาพยัญชนะ ควรถือเอาเฉพาะเนื้อ
ความที่ประสงค์เท่านั้น. จริงอยู่ พยัญชนะเช่นนั้นพระโบราณาจารย์เขียน
ไว้เป็นภาษาสันสกฤต เพื่อร้อยกรองตามความทรงจำของตน.
อีกอย่างหนึ่ง แม้ในบรรดาปัจจยุบบันธรรมในปัจจนียานุโลมนี้
อัตถิธรรม (อัตถิปัจจัย) ย่อมได้กัมมปัจจัย แต่ไม่ได้อินทริยปัจจัย. อัตถิ-
ธรรมนั้นพึงทราบด้วยอำนาจ รูปชีวิตินทรีย์ในอสัญญสัตว์ และใน
ปวัตติกาลในปัญจโวการภพ อัตถิธรรมที่ได้มัคคปัจจัยแต่ไม่ได้เหตุปัจจัย
อัตถิธรรมนั้น พึงทราบด้วยอำนาจโมหะที่สหรคตด้วยวิจิกิจและอุทธัจจ-
สัมปยุตตจิต อัตถิธรรมที่ได้ฌานปัจจัยแต่ไม่ได้มัคคปัจจัย อัตถิธรรมนั้น
พึงทราบด้วยอำนาจมโนธาตุและอเหตุกมโนวิญญาณธาตุ. บรรดาความใน
อัตถิปัจจัยนั้น
กัมมชรูปย่อมได้กัมมปัจจัย ด้วยอำนาจนานักขณิกกัมมปัจจัย
เท่านั้น. ในปัจจัยเหล่านั้น รูปธรรมย่อมไม่ได้เหตุปัจจัย อธิปติปัจจัย
วิปากปัจจัย อินทริยปัจจัย ฌานปัจจัย และมัคคปัจจัย. ปัจจัยที่เข้าได้ทุกที่
ไม่มีปัจจนียะ ในอเหตุกจิตไม่มีอธิปติปัจจัยแล. ในอธิการนี้ บัณฑิตพึง
ทราบวาระแห่งการคำนวณด้วยอำนาจปกิณกะ แม้เหล่านี้โดยไม่งมงาย.

ในข้อนั้นมีนัยดังต่อไปนี้ อเหตุกโมหะ และอเหตุกวิบาก และกิริยา
เท่านั้น เป็นปัจจยุบบันธรรมในพระบาลีนี้ว่า นเหตุปจฺจยา อารมฺมเณ เทฺว
เพราะนเหตุปัจจัย ในอารัมมณปัจจัย มี 2 วาระ คำว่า มี 2 วาระ
ในอธิการนี้ท่านจึงหมายเอา อกุศลกับอกุศล อัพยากตะกับอัพยากตะ.
แม้ในคำที่เหลือก็นัยนี้เหมือนกัน. ส่วนในอาเสวนปัจจัยย่อมไม่ได้วิบาก
และกิริยามโนธาตุ เพราะฉะนั้นในที่นี้ คำว่า อพฺยากเตนาพฺพากตํ บัณฑิต
พึงทราบด้วยอำนาจอเหตุกมโนวิญญาณธาตุฝ่ายกิริยา. สองบทว่า วิปาเก
เอกํ
ในวิปากปัจจัย มี 1 วาระ คืออัพยากตะกับอัพยากตะนั่นเอง. คำว่า
มคฺเค เอกํ คืออกุศลกับอกุศล. คำว่า เหตุยา ปญฺจ ในเหตุปัจจัย มี 5
วาระ ในอารัมมณมูลกนัย ท่านกล่าวหมายเอารูปเท่านั้น. จริงอยู่ รูปนั้น
ย่อมเกิดเพราะอาศัยส่วน 5 คือ กุศล อกุศล อัพยากตะ กุศลกับอัพยากตะ
และอกุศลกับอัพยากตะ. แม้ในปัญจกะทั้งปวงก็นัยนี้เหมือนกัน. สองบทว่า
อญฺญมญฺเญ เอกํ ในอัญญมัญญปัจจัย มี 1 วาระ ท่านกล่าวหมายเอา
มหาภูตรูปและวัตถุรูป. จริงอยู่ รูปเหล่านั้นย่อมเกิดเพราะนอารัมมณ-
ปัจจัย เพราะอัญญมัญญปัจจัย. แม้ใน ติมูลกนัย ก็มีนัยอย่างนี้
เหมือนกัน.
คำว่า เหตุยา นว ในเหตุปัจจัย มี 9 วาระ ในนาธิปติมูลกนัย
ท่านกล่าวไว้แล้วในเหตุปัจจัยตอนุโลมนัย. แม้คำว่า ตีณิ=3 เป็นต้น
ก็เช่นเดียวกับคำที่กล่าวแล้วในอนุโลมนัยในหนหลัง. ใน ติมูลกนัย คำว่า
เทฺว=2 วาระ เหมือนกับที่กล่าวไว้แล้ว ใน นเหตุปัจจัยมูละ อารัมมณ-
ปัจจยมูลี
ในหนหลัง. ใน นปุเรชาตมูลกนัย คำว่า เหตุยา สตฺต
ในเหตุปัจจัย มี 7 วาระ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงไว้ในนปุเรชาต-

ปัจจัยในหนหลัง โดยนัยมีอาทิว่า อารุปฺเป กุสลํ เอกํ ขนฺธํ ปฏิจฺจ
(ขันธ์ 3 อาศัยกุศลขันธ์ 1 ในอรูปภูมิ). แม้ในสัตตกะทั้งปวงก็นัยนี้. ใน
นกัมมมูลกนัย คำว่า เหตุยา ตีณิ ในเหตุปัจจัย มี 3 วาระ เป็นต้น
เจตนาเท่านั้นเป็นปัจจยุบบัน เพราะฉะนั้น คำว่า 3 วาระ ท่านจึงกล่าว
หมายเอาการเกิดขึ้นเพราะอาศัย กุศล อกุศล แลอัพยากตะ. โดยนัยนี้
บัณฑิตพึงทราบการนับจำนวนวาระในอาคตสถาน (ที่มา) ว่า 1, 2, 3,
5, 7, 9 ส่วนการนับจำนวนอีก 3 ว่า 4, 6, 8 เหล่านี้ ไม่มีเลย.
อรรถกาถาปัจจยปัจจนียานุโลมนัย จบ
วรรณนาเนื้อความแห่งปฏิจจวาระ จบ

2. สหชาตวาระ


ปัจจยานุโลมนัย


[236] 1. กุศลธรรมเกิดร่วมกับกุศลธรรม เกิดขึ้นเพราะเหตุ-
ปัจจัย

คือ ขันธ์ 3 เกิดร่วมกับขันธ์ 1 ที่เป็นกุศล, ขันธ์ 1 เกิดร่วมกับ
ขันธ์ 3. ขันธ์ 2 เกิดร่วมกับขันธ์ 2.
2. อัพยากตธรรมเกิดร่วมกับกุศลธรรม เกิดขึ้นเพราะ
เหตุปัจจัย

คือ จิตตสมุฏฐานรูป เกิดร่วมกับขันธ์ทั้งหลาย ที่เป็นกุศล.
3. กุศลธรรมและอัพยากตธรรม เกิดร่วมกับกุศลธรรม
เกเดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย

คือ ขันธ์ 3 และจิตตสมุฏฐานรูป เกิดร่วมกับขันธ์ 1 ที่เป็นกุศล,
ขันธ์ 1 และจิตตสมุฏฐานรูป เกิดร่วมกับขันธ์ 3, ขันธ์ 2 และจิตต-
สมุฏฐานรูป เกิดร่วมกับขันธ์ 2.
[237] 4. อกุศลธรรม เกิดร่วมกับอกุศลธรรม เกิดขึ้นเพราะ
เหตุปัจจัย

คือ ขันธ์ 3 เกิดร่วมกับขันธ์ 1 ที่เป็นอกุศล, ขันธ์ 1 เกิดร่วม
กับขันธ์ 3, ขันธ์ 2 เกิดร่วมกับขันธ์ 2.
5. อัพยากตธรรม เกิดร่วมกับอกุศลธรรม เกิดขึ้นเพราะ
เหตุปัจจัย